มาตรา
72 ผู้ใด
“บันดาลโทสะ” โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น
ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
-
สรุป หลักเกณฑ์ (อ
เกียรติขจร คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ครั้งที่ 8 พ.ศ.2546
น 458)
1.
ผู้กระทำผิดถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
และการข่มเหงนั้นร้ายแรง (โดยเทียบกับความรู้สึกของบุคคลทั่วไปในภาวะเช่นนั้น)
-
การกระทำอันเป็นการละเมิดกฎหมาย
โดยทั่วไปถือเป็นการข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม (แต่ร้ายแรงหรือไม่
เป็นอีกประเด็นหนึ่ง)
-
ผู้ก่อเหตุ ถูกตอบโต้ จะอ้างว่าการตอบโต้นั้น
เป็นการข่มเหงไม่ได้
-
ผู้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ ทำร้ายกัน
จะอ้างว่าถูกข่มเหงไม่ได้
-
การใช้อำนาจตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการข่มเหง
-
ตำรวจจับโดยชอบ
แม้ผู้ถูกจับไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ก็ไม่ถือเป็นการข่มเหง
-
ผู้กระทำป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
แล้วพลาดไปถูกบุคคลที่สาม ไม่ถือเป็นการข่มเหง บุคคลที่สามอ้างบันดาลโทสะ
ต่อผู้กระทำเพื่อป้องกันไม่ได้ แต่บุคคลที่สามกระทำต่อผู้ก่อเหตุให้ต้องป้องกัน
อาจอ้างบันดาลโทสะต่อผู้ก่อเหตุได้
2.
การข่มเหงนั้น ทำให้ผู้กระทำผิด บันดาลโทสะ
-
การพิจารณาว่าผู้กระทำบันดาลโทสะหรือไม่ พิจารณาจากจิตใจของผู้กระทำผิดนั้นเอง
ไม่ใช่บุคคลทั่วไปในภาวะเช่นนั้น
-
การบันดาลโทสะอาจเกิดจากความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงก็ได้
3.
ผู้กระทำผิด ได้กระทำต่อผู้ข่มเหง
-
ผู้บันดาลโทสะฯ
แล้วการกระทำพลาดไปถูกบุคคลที่สาม ใช้หลักเจตนาโอน อ้างเหตุบรรเทาโทษเพราะบันดาลโทสะ
ต่อบุคคลผู้ได้รับผลร้ายจากการกระทำได้
-
หากกระทำต่อผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ
อ้างบันดาลโทสะไม่ได้ เช่นกระทำทำต่อญาติของผู้ข่มเหง
-
การกระทำต่อทรัพย์สินของผู้ข่มเหง
อ้างเหตุบรรเทาโทษเพราะบันดาลโทสะได้
4.
และได้กระทำในขณะบันดาลโทสะ
-
การบันดาลโทสะ
อาจเกิดขึ้นหลังจากการข่มเหงผ่านไปนานแล้วได้ เช่น เพิ่งทราบเหตุข่มเหงในภายหลัง
-
หากขณะทราบเหตุข่มเหง ยังไม่บันดาลโทสะ
เมื่อพ้นจากภาวะนั้นแล้ว จะกระทำผิดต่อผู้ข่มเหง โดยอ้างบันดาลโทสะในภายหลังไม่ได้
-
ขณะกระทำผิด ผู้อ้างบันดาลโทสะ
ยังมีโทสะอยู่หรือไม่ ต้องพิจารณาจากบุคคลทั่วไปในภาวะเช่นนั้น
ว่าระยะเวลาที่ข่มเหง จนถึงระยะเวลากระทำผิด ผู้อ้างบันดาลโทสะ
ยังมีโทสะอยู่หรือไม่
-
“อัตตะวิสัย” ดูว่าคนนั้นรู้สึกอย่างไร ,
“ภาวะวิสัย” ดูว่าคนทั่วไปในสถานะเช่นนั้นรู้สึกอย่างไร
บันดาลโทสะใช้ประกอบกัน
-
สมัครใจวิวาท อ้าง ม 68,72
ไม่ได้ รังแกภรรยา สามีอ้าง ม 72 ได้
เพื่อนสามีอ้างไม่ได้ (ดู ม 67-8 ด้วย)
(เน 47/15/29)
-
ขณะเกิดเหตุไม่โทสะ มาเกิดโทสะทีหลัง
อ้างไม่ได้
-
ทำต่อทรัพย์ของผู้ข่มเหงก็อ้าง มาตรา 72
ได้
-
ต้องกระทำต่อผู้ข่มเหง
ทำต่อญาติผู้ข่มเหงไม่ได้ แต่อาจเป็นพลาด
-
วิธีตอบ ยิงคนข่มเหงแล้วพลาด ม 60
เกิดจากถูกข่มเหง ม 288+80+72 ตอบถึงดุลพินิจในการลงโทษด้วย
-
มาตรา 72 การข่มเหงอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1818/2499 การที่ผู้ตายถือมีดพร้าขึ้นไปบนเรือน
แสดงกริยาจะทำร้ายเขาโดยไม่มีเหตุสมควรเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการข่มเหงเขาอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรมตาม
ม.55 / ในคดีอาญาเมื่อข้อเท็จจริงหรือข้อ ก.ม. ปรากฎในท้องสำนวนแล้ว
ถึงแม้จะไม่มีประเด็นในข้อเหล่านี้ขึ้นมาศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยในทางที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้เพราะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 866/2502 ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 72 เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่า กฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา 55 Ø จำเลยที่
2 เป็นผู้ก่อเหตุก่อน คือ เมาสุราเข้าไปในวงหมากรุกที่จำเลยที่
1 กำลังเล่นอยู่ แล้วใช้เท้าปัดหรือกวาดตัวหมากรุกในกระดานต่อหน้าประชาชนคนที่ล้อมดูอยู่เป็นอันมาก
การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามข่มเหงน้ำใจจำเลยที่
1 “ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม” เพราะมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกันอยู่
Ø การกระทำโดยบันดาลโทสะที่จะได้รับความปราณีลดโทษตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 จะต้องปรากฏว่า ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำของจำเลยที่
2 ดังกล่าวข้างต้น เกิดในบริเวณวัดซึ่งกำลังมีงานเผาศพต่อหน้าประชาชนจำนวนไม่น้อย
จำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้สึกอับอายขายหน้าและแค้นเคืองเป็นอย่างมาก
ย่อมถือได้ว่าเป็นการข่มเหงน้ำใจ “อย่างร้ายแรง” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 แล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 689/2508
ผู้ตายพูดก้าวร้าวจำเลย ว่าได้เตะพ่อจำเลยแล้ว พูดยั่วจำเลยต่อไปว่า
"กูแก่แล้ว ใครเตะพ่อกูละก็ต้องเคืองกัน" นายเที่ยงพูดห้ามผู้ตาย ๆ
ด่านายเที่ยง และยิงปืนเข้าไปในระหว่างจำเลยกับนายเที่ยง แต่ไม่ถูกผู้ใด
ผู้ตายใช้ปืนตีนายเที่ยง
จำเลยร้องห้าม ผู้ตายหันมาหาจำเลยและใช้ปืนตีจำเลย
จำเลยยิงปืนไป 1 นัด ไม่ถูกใคร ผู้ตายหันหลังเดินผละออกมาได้ 1 วา
จำเลยก็ยิงผู้ตาย แสดงว่าจำเลยได้ยิงผู้ตาย เพราะบันดาลโทสะ
โดยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ตาม มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1083/2508 ผู้ตายเป็นลูกเขย ได้เอาปืนของจำเลยซึ่งเป็นพ่อตามายิงเล่นจำเลยต่อว่า
ผู้ตายโต้เถียง แล้วยิงปืนมาจากในเรือน 2 นัด
นัดหลังไปโดนเสาไม้ซึ่งจำเลยนั่งแอบอยู่ สะเก็ดไม้กระเด็นไปถูกคิ้วจำเลยแตก จำเลยเข้าไปหยิบปืนในครัวมายิงผู้ตาย
ขณะผู้ตายหันหลังลงบันไดเรือน นับได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เป็นเหตุให้จำเลยบันดาลโทสะและการกระทำของจำเลยต่อเนื่องมาจากการที่จำเลยถูกยั่วโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1713/2511
จำเลยมีครรภ์กับผู้เสียหาย แล้วไปขอให้ผู้เสียหายสู่ขอผู้เสียหายกลับพูดว่า "มึงยอมให้กูเล่นมึงทำไม"
จำเลยจึงทำร้ายผู้เสียหาย
ดังนี้ถ้าว่าจำเลยทำไปโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม ตาม มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 846/2512
จำเลยเป็นหญิง มีภาระต้องเลี้ยงตัวเอง
เลี้ยงน้องให้ได้รับการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยและส่งเงินเลี้ยงบิดามารดาจำเลยรักใคร่ได้เสียกับผู้ตายจนจำเลยตั้งครรภ์
ผู้ตายก็ตีตนออกห่างไม่ยอมพบ จำเลยโทรศัพท์ไปหลายครั้งก็ไม่ยอมพูดด้วย
วันเกิดเหตุจำเลยได้ไปคอยพบผู้ตายและพูดเรื่องที่จำเลยมีครรภ์
ผู้ตายว่าบอกให้เอาออกก็ไม่เอาออก ผู้ตายไม่ยอมรับว่าเป็นพ่อเด็ก
ทั้งยังว่าจำเลยว่าอยากหน้าด้านไปหาผู้ตายเอง และว่าพ่อแม่จำเลยไม่สั่งสอนให้ดี
อันเป็นการดูถูกเหยียดหยามกดขี่ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายในขณะนั้น เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1883/2512 จำเลยมาพบเห็นผู้ตายกำลังกอดจูบภริยาตน
จึงบันดาลโทสะเข้าแทงผู้ตายขณะนั้นทันที กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยบันดาลโทสะ
กระทำไปโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 373/2513
จำเลยเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการแจกยา ผู้ตายเมาสุรากล่าวถ้อยคำหยาบคายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการนั้น
จำเลยเข้าห้าม ก็ชกต่อยเอา จำเลยจึงต่อยตอบและใช้ปืนยิง ถือว่าจำเลยถูกยั่วโทสะ
ตาม มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 98/2514 ผู้ตายตบหน้าจำเลยก่อน
ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยได้ใช้มีดแทงทำร้ายผู้ตายไปในขณะนั้น จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 249/2515
จำเลยเห็นผู้ตายกำลังชำเราภริยาจำเลยในห้องนอน
แม้ภริยาจำเลยจะมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็อยู่กินกันมา 13 ปี
และเกิดบุตรด้วยกัน 6 คน จำเลยย่อมมีความรักและหวงแหน การที่จำเลยใช้มีดพับเล็กที่หามาได้ในทันทีทันใด
แทงผู้ตาย 2 ที และแทงภริยา 1 ที ถือว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1556/2519 ส. ไม่รู้จักกับจำเลย
มาซื้อสุราที่ร้านจำเลยดื่ม แล้วแย่งตะไกรซึ่งภริยาจำเลยกำลังตัดผมจำเลยอยู่
จะมาตัดให้เอง และขอเงินจำเลย กับอ้างว่าจำเลยไม่จ่ายเงินที่ ส.
ถูกรางวัลสลากกินรวบที่ซื้อจากจำเลย ส. จับแขนภริยาจำเลย ล้วงกระเป๋าเสื้อ
ขอเงินภริยาจำเลย จำเลยยิง ส. ตาย เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลไม่ริบปืนของกลาง
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2521
พ่อตาด่าบุตรเขยถึงตระกูล บุตรเขยห้ามก็ไม่ฟัง ด่าแล้วด่าอีก
บุตรเขยฟันพ่อตาตายในขณะนั้น เป็นบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3315/2522 ผู้ตายเมาสุรา
เอาเท้าพาดหัวจำเลยลูบเล่น จำเลยจึงทำร้ายผู้ตาย เป็นความผิดตาม ม.290
และบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2394/2526
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยามา 11 ปี มีบุตรด้วยกันผู้ตายไปทำเหมืองพลอย วันเกิดเหตุจำเลยไปหาผู้ตายที่เหมือง
แอบดูเห็นผู้ตายกับผู้หญิงนอนเปลือยกายอยู่ในห้อง เมื่อเคาะประตู ผู้หญิงตะโกนว่า
เคาะทำไม ย่อมก่อให้กระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก เมื่อผู้ตายเปิดประตูห้อง
จำเลยใช้อาวุธปืนที่ติดตัวไปยิงผู้ตายในขณะนั้น เป็นการกระทำลงด้วยอารมณ์หึงหวง
และโกรธแค้นควบคุมสติไม่ได้
และได้กระทำไปในขณะที่ยังไม่สามารถควบคุมสติและระงับอารมณ์โกรธได้
ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงทางด้านจิตใจด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว
จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ.ม.72
-
คำพิพากษาฎีกาที่
586/2527 การที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยถึงโคตรพ่อโคตรแม่
ทั้งๆ ที่จำเลยเป็นผู้ให้ความอุปการะช่วยเหลือผู้ตายตลอดมา จนจำเลยระงับอารมณ์ไว้ไม่ได้
และใช้อาวุธปืนที่ติดตัวยิง 1 นัด
ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ม.
72 / จำเลยยิงผู้ตายขณะที่ผู้ตายนั่งอยู่ในรถยนต์ที่จำเลยขับขี่
แล้วจำเลยขับรถยนต์นำศพจากที่เกิดเหตุ และจากรถยนต์เข้าไปในโบสถ์ นำศพไปใส่ไว้ในกล่องกระดาษในลักษณะให้ศพนั่งคุดคู้อยู่ในกล่องนำกล่อง
ไปเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ แม้มิได้ใช้วัสดุอื่นปิดบังกล่อง
เมื่อเปิดประตูห้องเก็บหนังสือก็สามารถเห็นกล่องได้ ก็เป็นการกระทำเพื่อที่จะปิดบังเหตุแห่งการตายของผู้ตาย
จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. ม.199
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2280/2527
จำเลยกับผู้ตายมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ผู้ตายเป็นคนโมโหร้าย จำเลยจะกลับไปเยี่ยมมารดา
แต่ผู้ตายไม่ให้ไป และกล่าวหาจำเลยว่าจะไปมีชู้ ด่าว่าจำเลยพร้อมทั้งตบตี จำเลยใช้ปืนของผู้ตาย
ยิงผู้ตายเพียงนัดเดียว เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ทั้งยิงผู้ตายในขณะนั้น
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3235/2527
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน
ที่เกิดเหตุมืดสลัว ผู้เสียหายเตะจำเลยก่อน จำเลยจึงฟันผู้เสียหายไป 1 ที
แล้วมิได้ฟันซ้ำอีก ซึ่งลักษณะของขวานของกลางเป็นอาวุธที่หนักและมีคม
ถ้าจำเลยเจตนาฆ่า ย่อมจะฟันแรง บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับ จึงไม่ฉกรรจ์
ประกอบกับผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีเรื่องหมางใจกันมาก่อน
ดังนี้จำเลยมีเจตนาทำร้ายไม่มีเจตนาฆ่า Ø การที่ผู้เสียหายเตะจำเลยก่อน
ถูกอัณฑะโดยไม่มีเหตุผลใด ๆ เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยฟันผู้เสียหายไปในทันที ดังนี้
เป็นการกระทำเพราะบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1905/2528
จำเลยเป็นอาจารย์ใหญ่ส่วนผู้เสียหายเป็นครูอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ผู้เสียหายขอไปดื่มสุราที่บ้านจำเลยเพื่อจะเรียกร้องขอเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
ขณะที่ผู้เสียหายไปถึงบ้านจำเลยนั้นมีอาการเมาสุรามากแล้ว ครั้นจำเลยปฏิเสธการขอเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
ผู้เสียหายก็แสดงอาการไม่พอใจทุบแก้วและขวดสุรา
อันเป็นการก้าวร้าวจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เมื่อจำเลยวิ่งหนี
ผู้เสียหายก็วิ่งตามโดยถือคอขวดที่ทุบแตกซึ่งสามารถใช้เป็นอาวุธได้ในสภาพเช่นนั้น และยังเข้าโยกราวบันไดอันเป็นการพยายามทำให้เสียทรัพย์
แล้วกล่าวแก่จำเลยว่า
"มึงจะหนีไปไหน"ซึ่งเป็นกิริยาที่พออนุมานได้ว่าผู้เสียหายจะประทุษร้ายจำเลย
โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พูดหรือแสดงกิริยาอะไรที่เป็นการโต้ตอบที่จะเข้าวิวาทกับผู้เสียหาย
ดังนี้ เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยคว้าอาวุธปืนมายิงผู้เสียหายในขณะนั้น
จึงเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. ม.72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3318/2528
ผู้ตายมาร้องเรียกให้จำเลยออกมา จำเลยเดินออกมาที่ชานบ้าน
ผู้ตายเดินมาถึงหน้าบันไดพูดว่า จะจัดการกับจำเลย จำเลยพูดว่า
จะจัดการอะไรไม่เคยทำอะไรผิด ผู้ตายพูดว่ากูต้องเอามึงแน่ จำเลยยกมือไหว้
พูดว่าไม่สู้พี่หรอก ผู้ตายก็วิ่งขึ้นบันไดตรงเข้าชกต่อยจำเลย จำเลยจึงล้วงมีดพกปลายแหลมจากกระเป๋ากางเกงแทงผู้ตาย
1 ที ถูกที่ลำคอ ผู้ตายเดินเซลงบันไดไป จำเลยวิ่งตามไปแทงอีก 2 - 3 ครั้ง
จำเลยกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. ม.72 มีความผิดตาม ม.288, 72 (น่าจะอ้างป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็นต้องป้องกันได้
)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4408/2530 ส.อายุ 19
ปี ยังอยู่ในความปกครองของจำเลย และอยู่ร่วมบ้านเดียวกับจำเลยผู้เป็นบิดา
ผู้ตายมีโจทก์เป็นภริยาอยู่แล้ว มารักใคร่ชอบพอถึงขั้นได้เสียกับ ส. จน ส.
ตั้งครรภ์ต้องไปทำแท้ง ต่อมามีเรื่องทะเลาะวิวาทระหว่างโจทก์กับ ส.
จนจำเลยห้ามผู้ตายไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับ ส.อีก
แต่ผู้ตายไม่เชื่อฟังกลับลักลอบมาหลับนอนกับ ส. ขณะที่จำเลยไม่อยู่บ้าน
เป็นการกระทำที่หยาบเหยียดปราศจากความยำเกรงจำเลยผู้เป็นบิดา ผู้ใช้อำนาจปกครอง
การที่ในคืนเกิดเหตุ ผู้ตายได้ขึ้นไปหลับนอนกับ ส.บนบ้านจำเลย ย่อมเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ที่จำเลยยิงผู้ตายไปในขณะนั้นย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำผิดเพราะบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5189/2531
ผู้ตายกับภรรยาซึ่งเป็นบุตรสาวจำเลยทะเลาะกันอยู่ในห้องนอนและมีเสียงร้องดัง
จำเลยจึงเปิดประตูห้องเข้าไปดูเพื่อระงับเหตุ เห็นผู้ตายกำลังนั่งคร่อมทับ
เอามือจับที่คอภรรยาอยู่ จำเลยเดินเข้าไปกระชากไหล่ผู้ตายออกจากภรรยา
ผู้ตายลุกขึ้นชกจำเลย 1 ทีแต่จำเลยหลบทัน แล้วจำเลยคว้าอาวุธปืนลูกซองยาว
ซึ่งอยู่ในห้องนอนนั้นยิงผู้ตายไป 1 นัดถึงแก่ความตาย ดังนี้
การที่จำเลยเข้าไประงับเหตุ ระหว่างผู้ตายกับภรรยา
แต่กลับถูกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรเขยชกทำร้ายเอานั้น
นับได้ว่าผู้ตายได้กระทำการอันไม่สมควรและโดยปราศจากความเคารพยำเกรงต่อจำเลย
ผู้เป็นพ่อตาซึ่งมีอายุมากแล้ว เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรง และด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย
ในขณะนั้นจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6671/2531
ผู้ตายและจำเลยเป็นสามีภรรยากัน ก่อนเกิดเหตุผู้ตายด่าโคตรพ่อโคตรแม่จำเลย
ว่าจำเลยเป็นกะหรี่ บุคคลผู้ต่ำต้อยยากจน ไล่จำเลยออกจากบ้าน และใช้ไม้ขว้างจำเลย
การที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยในลักษณะดูถูกเหยียดหยาม ทั้งด่าไปถึงบุพการีของจำเลย
และใช้ไม้ขว้างแสดงกิริยาคุกคามทำร้ายจำเลยเช่นนั้น
ย่อมทำให้จำเลยรู้สึกแค้นเคืองเป็นอย่างมาก
เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1231/2533
การที่ผู้ตายเมาสุราและได้บังคับขู่เข็ญโดยใช้มือผลักอกจำเลยหลายครั้ง
เพื่อให้จำเลยไปดื่มสุราด้วย
และท้าทายให้ยิงกัน พร้อมกับทำท่าล้วงอาวุธปืน เมื่อจำเลยวิ่งหนี
ผู้ตายยังวิ่งไล่ตามไปอีก จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงทันที
ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม มาตรา
72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4758/2533
ผู้เสียหายและจำเลยกับพวกนั่งดื่มสุรากันที่บ้านพักจำเลย ต่อมาผู้เสียหายเรียกจำเลยให้ลงไปพูดกัน
จำเลยไม่ลง ผู้เสียหายดึงมือจำเลยหลายครั้ง จนจำเลยตกจากที่นั่ง แล้วจำเลยเดินหนีเข้าไปในห้องนอนของจำเลย
ผู้เสียหายเดินตามจำเลยเข้าไปในห้องกระชากมือจำเลยออกมา เช่นนี้
ผู้เสียหายเป็นผู้ก่อเหตุ กรณีถือได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยใช้เหล็กตะไบสามเหลี่ยม
แทงผู้เสียหายที่บริเวณหน้าท้อง 2 ครั้ง ขณะที่ผู้เสียหายเข้าไปกระชากมือหรือจับบ่าของจำเลยดึงออกมานอกห้อง
จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5495/2534
ผู้ตายเมาสุรา กล่าววาจาล่วงเกินจำเลย และด่าแม่จำเลย
ผู้ตายพูดจาถากถางซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง จำเลยจะกลับ ก็ไม่ยอมให้กลับ
พฤติการณ์เหล่านี้ เห็นได้ว่าผู้ตายกล่าววาจา
และกระทำการอันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม
เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม จนจำเลยบันดาลโทสะ
จึงไปหยิบค้อนมาตีผู้ตายในขณะนั้น เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 455/2537
เมื่อผู้ตายยกอาวุธปืนเล็งมายังจำเลย จำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนจากผู้ตาย
ทำให้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ผู้ตายจึงได้หักลำกล้องปืนและบรรจุกระสุนใหม่
จำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนอีก เป็นเหตุให้ปืนลั่นอีก 1 นัด
และอาวุธปืนได้หลุดจากมือผู้ตาย ถือว่าภยันตรายที่จำเลยต้องป้องกันได้ผ่านพ้นไป
ไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจะต้องป้องกันอีก
การที่จำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้ตายในขณะนั้น จึงไม่อาจเป็นการกระทำโดยป้องกันได้
แต่การกระทำของผู้ตายถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยฟันผู้ตาย จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2958/2540
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเคยเป็นสามีภริยากันแต่ก็ได้หย่าขาดกันแล้ว ผู้ตายไม่มีความชอบธรรมที่พาพวกมารื้อบ้านจำเลย
ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุเมื่อจำเลยห้ามปรามกลับถูกผู้ตายด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย
ทั้งสภาพบ้านของจำเลยที่ถูกผู้ตายกับพวกรื้อเอาไม้กระดานและฝาบ้านออกจากตัวบ้าน จนไม่อยู่ในสภาพจะใช้อยู่อาศัยได้
การกระทำของผู้ตายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เหลือวิสัยที่จำเลยจะอดกลั้นโทสะไว้ได้ จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันที
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6558/2540
ผู้เสียหายอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยมาก่อนแล้ว
ต่อมาได้หญิงอื่นเป็นภริยาและไปอยู่กับหญิงนั้น จำเลยขอให้ไปพบ ผู้เสียหายไม่ยอมไป
ในวันเกิดเหตุจำเลยพบผู้เสียหายอยู่กับหญิงอื่น
โดยนุ่งผ้าขนหนูเพียงผืนเดียวออกมาบอกว่าจะเลิกกับจำเลย และไล่ให้กลับบ้าน
ทั้งยังตบหน้าอีก ย่อมเป็นการข่มเหงน้ำใจจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยยิงผู้เสียหายไปในทันทีในระยะเวลาต่อเนื่องที่ยังมีโทสะอยู่
ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยมีเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ.มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6980/2540
จำเลยรักใคร่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่ผู้เสียหาย
ในฐานะที่จำเลยเป็นมารดาอย่างดี จนสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี ระหว่างศึกษา
ผู้เสียหายมีท้องไม่มีพ่อ เมื่อคลอดบุตรแล้วก็นำมาให้จำเลยเลี้ยง เมื่อผู้เสียหายสำเร็จการศึกษา
และเข้ารับราชการครู ได้สมรสกับ ถ. แต่อยู่กินกันได้เพียง 1 เดือนก็ถูก ถ.ฟ้องหย่า
ต่อมาผู้เสียหายลักลอบได้เสียกับโจทก์ร่วม และจะนำโจทก์ร่วมเข้ามาอยู่ในบ้าน
จำเลยไม่ยอม ผู้เสียหายได้ขโมยไม้บางส่วน ซึ่งเก็บไว้ที่บ้านจำเลยไปสร้างบ้านด้วย
จำเลยบอกให้รื้อถอนออกไป ผู้เสียหายกลับโต้แย้งสิทธิว่ายกให้ โดยไม่เป็นความจริง
เห็นได้ว่าผู้เสียหายได้สร้างความชอกช้ำระกำใจอับอายขายหน้าให้จำเลยผู้เป็นมารดามาโดยตลอด
ประกอบกับผู้เสียหายบุกรุกเข้ามาสร้างบ้านในที่ดินของจำเลย
แล้วโต้เถียงสิทธิไม่ยอมออกไป ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยวางเพลิงเผาโรงเรือนดังกล่าวของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม
จึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6988/2542
จำเลยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน
แต่ผู้ตายคงประพฤติตนเป็นคนเจ้าชู้ มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นอีกหลายคน
และกำลังจะเข้าพิธีแต่งงานกับ ท.ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกับผู้ตาย
โดยจะออกบัตรเชิญแขกไปร่วมพิธีแต่งงานด้วย โรงงานที่ผู้ตายและ ท.
ทำงานอยู่ห่างจากที่พักของจำเลยประมาณ 500 เมตร คนงานในโรงงานย่อมทราบดี
ว่าจำเลยเป็นภริยาของผู้ตาย
การกระทำดังกล่าวของผู้ตายย่อมทำให้จำเลยได้รับความอับอายมาก
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายไม่กลับบ้านหลายวัน เพราะไปอยู่กับ ท.
จำเลยตามผู้ตายให้กลับบ้าน ผู้ตายยอมกลับบ้าน แต่เมื่อจำเลยขอร้องผู้ตาย
ว่าผู้ตายจะมีความสัมพันธ์กับ ท. ต่อไป จำเลยไม่ว่า
แต่ขอร้องไม่ให้ผู้ตายแต่งงานกับ ท. ผู้ตายปฏิเสธการกระทำดังกล่าวของผู้ตาย
จึงเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยา
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันทีเพียง 1 นัด
จึงเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะต่อผู้ตายซึ่งเป็นผู้ข่มเหงจำเลยในขณะที่ถูกข่มเหงตาม
ป.อ.มาตรา 72
-
มาตรา 72 กรณีไม่ถึงขั้นเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงฯ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 425/2512
เพื่อนของผู้ตายกับเพื่อนของจำเลยจะต่อยกัน จำเลยเข้าไปถีบเพื่อนผู้ตาย
เพื่อช่วยเหลือเพื่อนของจำเลย ผู้ตายจึงเตะจำเลย เพื่อช่วยเหลือเพื่อนของผู้ตาย
ดังนี้ จะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจากผู้ตายไม่ได้
เพราะจำเลยทำร้ายเพื่อนผู้ตายก่อน ความผิดของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการกระทำ
โดยบันดาลโทสะตาม มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 478/2529 จำเลยเข้าไปรับประทานอาหารและดื่มสุรา
ในบาร์ที่ผู้เสียหายเป็นรองผู้จัดการและเกิดโต้เถียงกับผู้เสียหาย
โดยผู้เสียหายท้าทายว่านักข่าวก็ตายได้เหมือนกัน นักข่าวกระจอก นักข่าวกิ๊กก๊อก
ดังนี้ ยังไม่ได้ถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย จึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ.ม.72
จึงมีความผิดตาม ม.288,80
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3874/2529 จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากัน
มีบุตรด้วยกันมีปากเสียงทะเลาะกันเสมอ การที่ผู้ตายบ่นว่าจำเลย กล่าวหาว่าจำเลยพาชายชู้มานอนที่เตียงนอน
และไล่ออกจากบ้าน ทั้งขู่ว่าหากไม่ไปจะฆ่านั้นเป็นเรื่องสามีภรรยา
เป็นปากเสียงทะเลาะกันตามปกติที่เคยเป็นมา
จะถือว่าจำเลยถูกกดขี่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้ไม่
จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย จึงไม่ใช่เพราะเหตุบันดาลโทสะ
แต่เพราะเหตุโกรธเคืองที่ผู้ตายด่า
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1720/2530
ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพราะจำเลยทิ้งหน้าที่ จำเลยไม่พอใจพูดต่อว่า
และท้าทายผู้ตายให้ตั้งกรรมการสอบสวนผู้ตายตอบว่าตั้งก็ตั้ง
แล้วหยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมา จำเลยไม่พอใจ ชักปืนยิงผู้ตาย
ผู้ตายมิได้แสดงกิริยาหรือกระทำการใด ๆ ในลักษณะข่มเหงจำเลย ที่ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบ
และโทษที่ลงก็เป็นสถานเบาที่สุดแล้ว จำเลยจะอ้างว่าการกระทำโดยบันดาลโทสะ
โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 6535/2531 จำเลยที่ 1
ด่าโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าเป็นไพร่ เอาเรื่องไม่จริงมาพูด โจทก์ร่วมที่ 2
ตอบว่าไม่ได้พูด และกล่าวว่าจำเลยที่ 1 ใส่ร้ายจำเลยที่ 1 จึงตบหน้าโจทก์ร่วมที่ 2
ดังนี้ การที่โจทก์ร่วมที่ 2 กล่าวถ้อยคำดังกล่าว
เป็นเพียงการปฏิเสธเรื่องที่จำเลยที่ 1 สอบถามเท่านั้น แม้โจทก์ร่วมที่ 2
จะใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมแก่จำเลยที่ 1 อยู่บ้าง ก็เพราะจำเลยที่ 1
ได้ด่าว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1
ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่
3759/2532 จำเลยที่ 1 โกรธที่ ก.ภริยาไม่ยอมกลับบ้านและจำเลยที่ 2 น้องของ ก.
ห้ามปรามกีดกัน จึงก่อเหตุร้องท้าทายและเป็นฝ่ายยิงปืนเข้าไปในบริเวณบ้านจำเลยที่
2 ซึ่ง ก. กับจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ก่อน กระสุนปืนถูกจำเลยที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ
จำเลยที่ 2 จึงวิ่งเข้าไปในบ้านเอาปืนมายิงต่อสู้ การกระทำของจำเลยที่ 1
จึงไม่เป็นการป้องกันตัว และไม่ใช่การกระทำความผิดเพราะเหตุบันดาลโทสะ เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่
1 ถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3442/2535
จำเลยใช้จอบซึ่งมีใบจอบยาว 8 นิ้ว กว้างฝ่ามือเศษ ด้ามยาว 1 เมตรเศษ
ซึ่งเป็นอาวุธอันตรายฟันผู้เสียหายอย่างแรง จนเป็นเหตุให้แขนซ้ายหักเป็นอันตรายแก่รายสาหัส
ไม่มีเหตุที่ควรรอการลงโทษ ผู้เสียหายได้ชี้หน้าด่าจำเลยว่า "ไอ้สัตว์
ไอ้หน้าหัวควย มึงมาเดินบนถนนกูทำไม กูบอกหลายครั้งแล้ว"
ทั้งภรรยาผู้เสียหายก็ด่าจำเลยว่า "หน้ามึงหน้าด้าน หน้าเหมือนส้นตีน"
คำด่าว่าของผู้เสียหายและภรรยาดังกล่าวนี้เป็นคำหยาบคายเท่านั้น
ไม่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
จำเลยโกรธแค้นจึงทำร้ายผู้เสียหาย ไม่ใช่การบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 795/2542 เหตุเกิดเพียงเพราะ
จ. กล่าวหา ส. ว่าไปร่วมหลับนอนกับผู้เสียหาย แต่บุคคลทั้งสองก็ปฏิเสธ
แม้อาจทำให้จำเลยซึ่งเป็นสามี ส. โกรธเคืองบ้างจึงได้ทำร้าย ส.
แต่ก็ไม่พอจะถือว่าถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ขณะจะเข้าไปห้ามมิให้จำเลยทำร้าย ส.
จึงไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ แต่จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3887/2542 พฤติการณ์ที่จำเลยมาทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง
แล้วถูกผัดชำระอยู่หลายครั้ง
โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก เพียงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จำเลยจะอ้างเหตุบันดาลโทสะเป็นประโยชน์แก่คดีของตนหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 4586/2543
ผู้ตายโกรธจำเลยและด่าจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคาย
แม้จะทำให้จำเลยมีความอับอายต่อหน้าบุคคลอื่นที่อยู่ในร้านอาหารที่เกิดเหตุขณะนั้นได้
แต่ก็เป็นเพียงถ้อยคำที่หยาบคายตามปกติ ที่ไม่สมควรจะกล่าวออกมาเท่านั้น
เมื่อผู้ตายด่าว่าจำเลยแล้ว ก็ลุกออกเดินจะไปที่รถยนต์
โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้กระทำใด ๆ อันเป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยในร่างกาย
หรือทรัพย์สินของจำเลยอีก
ถือไม่ได้ว่าได้กระทำการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนเล็กกล
ยิงผู้ตาย เป็นการกระทำไปด้วยความโกรธขาดสติ
ไม่อาจอ้างได้ว่าฆ่าผู้ตายโดยเหตุบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288, 33 ริบของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า
จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 จำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม
ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน
ริบของกลาง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากับนางภูวรรณ นางภูวรรณทำงานที่บริษัทที่เกิดเหตุซึ่งนายทักษิณ
ผู้ตายทำงานอยู่และสนิทสนมกับผู้ตายในทำนองชู้สาว จำเลยจึงไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร
ต่อมาจำเลยทราบว่านางภูวรรณได้ไปอยู่กินกับผู้ตาย จำเลยจึงไปขอคืนดีกับนางภูวรรณ แต่นางภูวรรณไม่ยอม
จากนั้นในเวลาประมาณ 12 นาฬิกา จำเลยได้ไปหาผู้ตายที่บริษัทที่เกิดเหตุโดยพกพามีดปลายแหลมติดตัวไปด้วย
เมื่อจำเลยเข้าไปในบริเวณบริษัทดังกล่าวพบผู้ตาย จำเลยจึงถามผู้ตายว่า
"มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม" ผู้ตายตอบว่า
"มึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น" ทำให้จำเลยโมโหจึงชักมีดออกมาเกิดต่อสู้กันและจำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายได้พูดถ้อยคำดังกล่าวจริง แต่จำเลยเป็นฝ่ายไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตายและจำเลยเป็นฝ่ายถามผู้ตายถึงเรื่องชู้สาวดังกล่าวขึ้นก่อนมิใช่ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุ
ที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่นนั้น ก็เป็นการที่ผู้ตายพูดตอบจำเลย แม้จะพูดในทำนองยั่วยุ
แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น
จึงไม่น่าทำให้จำเลยเกิดโทสะถึงกับต้องฆ่าผู้ตาย ตามรูปการณ์มูลเหตุที่จูงใจให้จำเลยกระทำความผิดน่าจะเกิดจากความเจ็บแค้นใจที่มีอยู่เดิม
เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ
-
มาตรา 72 ประเด็นเปรียบเทียบ
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
-
ฎ 241/2478 ทำร้ายบุตร
ถือว่าข่มเหงบิดา
-
ฎ 739/2482 ทำร้ายน้า
ถือว่าข่มเหงหลาน
-
ฎ 1577/2497 ทำร้ายพี่
ถือว่าข่มเหงน้อง
-
ฎ 1446/2498 ทำร้ายพ่อตา
ถือว่าข่มเหงบุตรเขย
-
ฎ 518/2500 ทำร้ายบิดา
ถือว่าข่มเหงบุตร
-
ฎ 863/2502 ทำอนาจารภรรยา
ถือว่าข่มเหงสามี
แต่ไม่ถือว่าข่มเหง
"เพื่อนสามี" (เพื่อนสามีร่วมทำร้ายคนทำอนาจาร
อ้าง ม 72 ไม่ได้ เพราะเป็นเหตุส่วนตัว)
-
ฎ 2770/2544 พูดด่าว่ามารดาที่ตายไปแล้วต่อหน้าบุตร
ถือว่าข่มเหงบุตรโดยตรง
-
คำพิพากษาฎีกาที่
241/2478 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับผู้ตายไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาแต่ก่อน
ในวันเกิดเหตุ ก.บุตรีจำเลยมาบอกว่าจำเลยว่า
ผู้ตายเอาสร้อยไปและกอดคอจับนมตนทั้งผู้ตายยังได้หักตันทุเรียนของจำเลยด้วย
จำเลยโกรธจึงชวนพวกที่นั่งกินอาหารด้วยกันไปดูต้นทุเรียน
แล้วกลับมาบนเรือนเอาปืนและชวนพวกไปด้วย
ไปที่เรือนผู้ตายแลเห็นผู้ตายเดินมา จำเลยจึงพูดว่ามึงกับกู
วันนี้ฆ่ากันเสียทีเถอะ แล้วจำเลยก็ยิงถูกผู้ตายล้มลง แล้วจำเลยก็ไปหานายอำเภอบอกว่าตนได้ยิงผู้ตายตายเสียแล้ว
เพราะผู้ตายหักต้นทุเรียนแลลักทรัพย์
ส่วนข้อที่จำเลยกอดคอและจับนมบุตรสาวจำเลยนั้น จำเลยไม่ได้แจ้งต่อนายอำเภอ
แต่ตามทางพิจารณาจำเลยสืบได้ความชัดดังกล่าวแล้ว /
ศาลฎีกาตัดสินว่าจำเลยมีผิดตามมาตรา 249 จำคุก 20 ปี ลดกึ่งตามมาตรา
55 คงเหลือ 10 ปี แลให้ลดตามมาตรา 59 อีกกึ่งหนึ่ง คงให้จำคุกจำเลย
5 ปี
-
คำพิพากษาฎีกาที่
739/2482 ศาลฎีกาตัดสินว่า การยั่วโทษะนั้นเมื่อมีพฤตติการณ์พอถือได้ว่าจำเลยถูกกดขี่ข่มเหงหรือถูกยั่วโทษะแล้ว
ก็ย่อมนำมาบังคับได้ ตามคดีนี้ปรากฎว่าน้าชายของจำเลยถูกข่งเหงอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยกระทำผิดไปย่อมเรียกได้ว่าเป็นการถูกยั่วโทษะแล้ว
พิพากษายืนตามศาลล่างทั้ง 2 ยกฎีกาโจทก์
-
คำพิพากษาฎีกาที่
518/2500 ข. กล่าวเสียดสีไล่จำเลยออกจากวัดต่อหน้าชุมนุมชน
และยิงบิดาจำเลยโดยจำเลยไม่ได้วิวาทด้วย จำเลยยิง ข. ตาย เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 863/2502 นายสอจำเลยกับนายสุวรรณจำเลยเป็นเพียงเพื่อนสนิทกัน
การที่นางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยถูกข่มเหงรังแก ย่อมเป็นการข่มเหงนายสุวรรณผู้สามีด้วย
เป็นเหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคล หาใช่ลักษณะคดีไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะทำผิดร่วมกัน ก็จะปรับบทลงโทษนายสอจำเลยตาม
มาตรา 72 คือ เหตุลดโทษ เพราะบันดาลโทสะด้วยหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3976/2543 ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว
แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสามจำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไปเพื่อจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดถูกที่บริเวณหน้าท้อง
ดังนี้แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน แต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย
ผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย
และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง
แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว
จำเลยจึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้
แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไป
แล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2770/2544
ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์
เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย 2 ครั้ง ในขณะนั้น จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย โดยใช้มือตบหน้า 2 ครั้ง
ส่วนการที่กระดูกต้นแขนซ้ายของผู้เสียหายหักอาจเกิดจากผู้เสียหายวิ่งล้มลง
มิได้เกิดจากจำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายดังที่โจทก์ฟ้องเมื่อไม่ปรากฎว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของจำเลยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
จึงฟังได้เพียงว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 391
ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา
192 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
-
มาตรา 72 การอ้างเหตุบรรดาโทสะ
อ้างได้เฉพาะกระทำต่อผู้ที่ข่มเหง
-
ฎ 252/2528 จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุก่อนผู้ตายกับพวกเล่นการพนัน แล้วทะเลาะกันส่งเสียงดังในยามวิกาล
จำเลยซึ่งอยู่บ้านใกล้ชิดติดกันย่อมมีความชอบธรรมที่จะไปขอร้องให้เบา ๆ ลง
หรือเลิกเล่นการพนัน แต่ผู้ตายกลับด่าว่าจำเลยแล้วเกิดชกต่อยกัน
เมื่อมีคนมาห้ามและจำเลยกับผู้ตายยุติกันไปแล้ว
แต่ผู้ตายหาได้หยุดยั้งเพียงแค่นั้น ไม่กลับเข้าไปในบ้านหยิบขวดมาตีศีรษะจำเลย จนโลหิตไหล
ฉะนั้นการที่จำเลยไปหยิบปืนในบ้านออกมายิงผู้ตาย จึงเป็นการบันดาลโทสะ
แต่ที่จำเลยยิง ว. และ ศ. ด้วย แม้คนทั้งสองจะเป็นบุตรภริยาของผู้ตาย และอยู่บ้านเดียวกับผู้ตายก็ตาม
แต่คนทั้งสองก็มิได้ร่วมทำร้ายจำเลยด้วย การที่จำเลยยิง ว. และ
ศ.ถึงแก่ความตายในขณะนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยกระทำไปโดยอารมณ์ร้อนแรงชั่วแล่นซึ่งไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
-
มาตรา 72 ระยะเวลาขณะถูกข่มเหง
กับขณะกระทำผิด
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 863/2502
ผู้ตายไปพบนางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยอยู่บ้านคนเดียว ก็คุกคามเกรี้ยวกราดเป็นทำนองข่มเหงว่าจะฆ่าจะชำเรา
ครั้นนางเกษ ร้องเอ็ดอึงขึ้น
ผู้ตายเป็นพระภิกษุจึงต้องรีบลงจากเรือนไป แต่พอดี จำเลยทั้งสองกลับมาได้ยินเสียงร้อง
และเมื่อทราบเรื่อง เลยออกติดตามทันที จำเลยตามไปห่างเรือน 6-7 เส้น ก็ทันและทำร้ายผู้ตายนอนตายอยู่บนถนน
ถือว่าการกระทำของนายสุวรรณจำเลย เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นแล้ว
Ø
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ผู้ถูกข่มเหงไม่จำเป็นจะต้องกระทำลงทันทีหรือ
ณ ที่ซึ่งถูกข่มเหง หากได้กระทำผิดต่อผู้ที่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ก็ยังถือว่ากระทำโดยบันดาลโทสะได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่
14/2502) Ø นายสอจำเลยกับนายสุวรรณจำเลยเป็นเพียงเพื่อนสนิทกัน
การที่นางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยถูกข่มเหงรังแก ย่อมเป็นการข่มเหงนายสุวรรณผู้สามีด้วย เป็นเหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคล หาใช่ลักษณะคดีไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะทำผิดร่วมกัน ก็จะปรับบทลงโทษนายสอจำเลยตาม
มาตรา 72 คือ เหตุลดโทษ เพราะบันดาลโทสะด้วยหาได้ไม่ & คำพิพากษาฎีกาที่ 863/2502 นี้ วินิจฉัยองค์ประกอบที่ว่า “...จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น” หมายถึง หมายถึง ในขณะที่ทราบถึงเหตุข่มเหงฯ
แม้การข่มเหงจะผ่านมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 286/2509
ผู้ตายกับนายจำปาทะเลาะกัน ภรรยาผู้ตายพูดว่านายจำปา จำเลยจึงร้องห้าม
ไม่ให้เข้าข้างสามี แล้วผู้ตายใช้มีดแทงจำเลย
จำเลยวิ่งกลับบ้านซึ่งอยู่ห่างจากบ้านผู้ตายประมาณ 1 เส้นเศษ เอาปืนมายิงผู้ตาย
ถือได้ว่า จำเลยยิงผู้ตายทันทีทันใดในขณะนั้นโดยบันดาลโทสะ
เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1260/2513 คำว่า
"ในขณะนั้น" มาตรา 72 มิได้หมายความว่าต้องเป็นขณะเดียวกันกับการข่มเหง และบันดาลโทสะ
การกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหง ในระยะเวลาต่อเนื่องอย่างกระชั้นชิด
ในขณะที่ยังมีโทสะรุนแรงอยู่ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3074/2529 ม.พี่จำเลยทราบจากคนอื่นพูดกัน
ว่าผู้เสียหายพูดจาดูหมิ่นมารดาของตน เมื่อพบผู้เสียหายยืนอยู่ จึงเข้าไปสอบถาม
ทันใดนั้นจำเลยก็เข้ามาชกต่อยผู้เสียหายทันที ดังนี้
ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปเพราะบันดาลโทสะ และกระทำต่อผู้เสียหายในขณะที่พูดดูหมิ่นมารดาจำเลย
/ จำเลยชกผู้เสียหายที่หน้าอกหลายครั้งกล้ามเนื้อที่หน้าอกช้ำรักษาประมาณ 5 วันหาย
ผู้เสียหายเพียงแต่เจ็บที่หน้าอกเวลากด ไม่มีรอยฟกช้ำ ดังนี้บาดแผล ยังไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กายตาม
ป.อ. ม.295 กระทำของจำเลยเป็นเพียงทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม
ม.391
-
&
จำเลยเพิ่งทราบเหตุที่ผู้เสียหายดูหมิ่นมารดาจำเลยภายหลัง คำพิพากษาฎีกานี้
วินิจฉัยองค์ประกอบที่ว่า “...จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น” หมายถึง ในขณะที่ทราบถึงเหตุข่มเหงฯ แม้การข่มเหงจะผ่านมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 171/2536
เช้าวันเกิดเหตุมีการลงแรงนวดข้าวที่นาห่างหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลย
ผู้ตายกับชาวบ้านไปช่วยกันหลายคน นวดเสร็จมีการเลี้ยงอาหารกลางวันและสุรา
ครั้นถึงเวลาประมาณ 14 นาฬิกาจำเลยกับผู้ตายเกิดมีปากเสียงกัน สาเหตุมาจากผู้ตายสาดสุรารดขาจำเลย
เพราะไม่พอใจจำเลยที่ไม่ยอมดื่มสุราที่ผู้ตายรินและคะยั้นคะยอให้ดื่ม
จำเลยออกจากนาเข้าไปในหมู่บ้านต่อมาประมาณ 1
ชั่วโมงจึงหวนมาผลักอกและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย กรณีมิใช่จำเลยยิงผู้ตาย เพราะเกิดโทสะพลุ่งขึ้นเฉพาะหน้า
ขณะถูกผู้ตายกระทำการเหยียดหยาม
หากแต่เป็นกรณีที่เกิดโทสะและออกจากนาที่เกิดเหตุแล้ว
จำเลยจึงเกิดความคิดไปเอาอาวุธปืนเพื่อมายิงทำร้ายผู้ตายในภายหลัง ขณะเดินไปกลับระหว่างนาที่เกิดเหตุกับหมู่บ้านเป็นเวลาประมาณ
1 ชั่วโมง ระยะทางไม่ต่ำกว่า 4
กิโลเมตร จำเลยต้องคิดไตร่ตรองตัดสินใจอย่างหนักในการตกลงใจกระทำความผิด
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(ไม่เข้าเหตุอ้างบันดาลโทสะ เพราะไม่ได้กระทำต่อผู้ข่มเหง “ในขณะนั้น”)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2537
ขณะที่จำเลยทราบว่าภรรยาจำเลย ถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำกระทำชำเรานั้น จำเลยไม่ได้แสดงอาการโกรธ
หรือจะทำร้ายผู้เสียหาย แต่ได้ออกไปหาปลาร่วมกับผู้เสียหาย โดยมีเวลานานถึง 3
ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงได้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย
จึงมิใช่เป็นการกระทำต่อผู้ถูกข่มเหงในขณะนั้น ตาม ป.อ. มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1756/2539
ขณะจำเลยกับพวกและผู้ตายกับพวกดูภาพยนตร์ในงานศพ
ผู้ตายกับพวกใช้ขวดสุราขว้างปาจอภาพยนตร์ และล้มจอ
ระหว่างผู้ตายกับพวกเดินกลับบ้านได้ร่วมกันทำร้ายน้องชายจำเลยจนตกลงในคูน้ำ
เมื่อมาพบจำเลยกับเด็กเดินสวนทางมา
ก็ได้ร่วมกันทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียวจนตกลงไปในคูน้ำ จำเลยวิ่งกลับบ้านซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ
300 เมตร
เอามีดมาต่อสู้กับพวกผู้ตาย แม้ไม่ได้กระทำลงทันทีหรือ ณ
ที่ซึ่งถูกข่มเหงแต่อยู่ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน
ถือว่าจำเลยกระทำผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะ
โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 997/2541 มาตรา 72 นั้น
นอกจากจะถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว
ยังต้องกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นด้วย ผู้ตายซึ่งเคยเป็นภริยาจำเลย
จะแต่งงานกับคนรักใหม่ จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลย
ซึ่งเคยเป็นสามีมาก่อนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมยังไม่ได้ จำเลยยังคงติดต่อกับผู้ตายจนถึงวันเกิดเหตุ
จำเลยไปบ้านผู้ตายเพื่อคุยด้วย
แต่ผู้ตายไม่ยินยอมกลับไล่จำเลยและร้องให้คนรักใหม่ช่วย
จำเลยโกรธจนระงับโทสะไม่อยู่ น่าเชื่อว่าเพราะเกิดจากความหึงหวงของจำเลย
-
คำพิพากษาฎีกาที่
1821/2543 ระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมง
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรง
ถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ
ถือได้ว่ายังอยู่ในช่วงเวลาต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ ป.อ. มาตรา
72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 3305/2543
แม้จำเลยจะเข้าใจว่าถูกผู้ตายหลอก จนต้องตกเป็นภริยาของผู้ตาย
และตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ตายมาตลอด โดยผู้ตายเอาภาพถ่ายเปลือยกายของจำเลย
มาพูดขู่ไม่ให้จำเลยเลิกกับผู้ตาย ก็เป็นเพียงความรู้สึกเจ็บแค้นที่มีมาแต่เดิม
แต่ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุ จะไปเผาบ้าน เตรียมยากำจัดหนู
เพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย เมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืน
จึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย และฆ่าตัวตายตาม
มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิดเกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม
กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น
-
มาตรา 72 ผู้มีส่วนก่อเหตุ
ทำให้ผู้อื่นข่มเหงตน การข่มเหงไม่เกินกว่าเหตุที่ผู้กระทำผิดก่อไว้มากนัก
ไม่อาจอ้างบันดาลโทสะได้ แต่หากเกินกว่าเหตุมากนัก ยังอ้างบันดาลโทสะได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1787/2511 จำเลยใช้ถีบฝาเรือนใส่หน้าบิดา
บิดาจึงเอามีดดาบจะแทงจำเลย จำเลยตีมีดหลุดจากมือบิดา
แล้วหยิบมีดดาบนั้นทำร้ายบิดา ในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดนั้นเอง
ถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม มาตรา 72
แม้จำเลยจะมิได้ยกเหตุบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
(ภัยที่บิดาจำเลยกระทำ เกินสัดส่วนกับเหตุที่จำเลยกระทำต่อบิดามาก
จนถึงขั้นที่คาดหมายไม่ได้ จำเลยจึงอ้างบันดาลโทสะได้)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 871/2518
จำเลยก่อเหตุ พูดเป็นการประจานผู้ตาย ว่าลักวัวของพี่จำเลย ผู้ตายจึงตอบโต้ว่า
"แต่น้องสาวของมึง กูก็จะเย็ดอยู่" จำเลยโกรธจึงใช้ขวานฟันผู้ตาย 1
ทีตายคาที่ ไม่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2073/2527
จำเลยเป็นตำรวจปลุก ท. ซึ่งนอนหลับอยู่บนม้านั่งในตู้รถไฟ โดยเขย่าและใช้ปืนพกจี้
พร้อมกับจับคอเสื้อดึง กับใช้คำพูดที่ไม่สมควร ท.
ตื่นขึ้นด่าจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคาย เมื่อจำเลยลงจากรถไฟได้ท้าทายให้ ท.
ตามลงไปที่ชานชาลาของสถานีรถไฟ เมื่อ ท.ไม่ยอมลง จำเลยก็ยิง ท.จนถึงแก่ความตาย
ดังนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่ตำรวจพึงปฏิบัติต่อราษฎร
นับได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน และสมัครใจเพื่อเข้าวิวาทกับ ท.โดยตรง
และการกระทำไปโดยโมโหจริต ลืมตัว จะอ้างเหตุบันดาลโทสะหาได้ไม่
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5371/2542
จำเลยที่ใช้รถยนต์ของผู้อื่นเป็นที่กำบังในการถ่ายปัสสาวะ
เป็นความประพฤติที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง จำเลยเป็นผู้ก่อเรื่องไม่งดงามขึ้นก่อน
เมื่อจำเลยถูกต่อว่า และไม่ว่าจะถูกตบท้ายทอย โดยบุคคลใดในฝ่ายผู้เสียหายหรือไม่
จำเลยพึงต้องอดทน การที่จำเลยตอบโต้โดยมีการต่อปากต่อคำ นำไปสู่การวิวาทที่รุนแรง
แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนในการวิวาท
โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายผู้เสียหายมีใครใช้อาวุธปืนเช่นจำเลย
จำเลยหามีสิทธิที่จะอ้างว่าการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
หรือการกระทำเพราะบันดาลโทสะได้ไม่
-
มาตรา 72 การสมัครใจเข้าวิวาท
ไม่อาจอ้างบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 550/2517
ผู้ตายเมาสุรามาด่าจำเลยโดยไม่ออกชื่อ แล้วเข้าบ้านไปถือมีดดาบมาท้าทายจำเลยอีก
จำเลยถือไม้ไผ่ด้านพลั่วอันหนึ่งเดินไปหาผู้ตายต่างพูดท้าทายกัน ผู้ตายใช้มีดดาบฟันจำเลยก่อน
จำเลยหลบทันและล้มลงยังพื้นดินแล้วจำเลยลุกขึ้นใช้ไม้ไผ่ที่ถือมานั้นตีผู้ตายถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยถือไม้เดินไปหาผู้ตาย เป็นการแสดงความสมัครใจจะต่อสู้กับผู้ตาย
จำเลยจะอ้างการป้องกันไม่ได้ แต่การที่ผู้ตายมาด่าจำเลย แล้วกลับไปเอามีดดาบมาท้าทายจำเลยอีก
และยังเป็นฝ่ายลงมือฟันจำเลยก่อนด้วย เช่นนี้
เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2802/2526
เหตุเกิดขึ้นเพราะฝ่ายโจทก์ร่วมกับจำเลยทะเลาะวิวาทด่าว่าและท้ายทายกัน
ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ทำไปเพราะบันดาลโทสะ / โจทก์ร่วมถูกฟันที่ต้นแขน
ปลายแขน และข้อมือขวา ลึกผ่านชั้นกล้ามเนื้อและตัดประสาทที่ไปเลี้ยงแขน
ต้องรักษาตัว 2 เดือนเศษจึงหายเป็นปกติ แต่ทำงานไม่ได้ ลักษณะบาดเจ็บดังกล่าวถึงสาหัสตาม
ป.อ.ม.297 (8) แล้ว ไม่จำต้องให้ได้ความว่าผู้บาดเจ็บถึงแก่ต้องพยุงลุกพยุงนั่ง /
โจทก์ร่วมวิ่งตาม พ. ไปเห็นจำเลยตบหน้า พ. แล้วเงื้อมีดดาบจะฟัน โจทก์ร่วมจึงผลัก
พ. ให้พ้นไป จำเลยก็ฟันถูกโจทก์ร่วม 3 ครั้ง ลักษณะการทำ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2528
การวิวาทหมายถึงการสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกัน
คำพูดของจำเลยที่ว่าการย้ายตำรวจต้องมีขั้นตอน ต้องมีคณะกรรมการ
อย่าไปเชื่อให้มากนัก เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในการสนทนาเท่านั้น
มิได้มีข้อความใดที่เป็นการท้าทายให้ผู้ตายหรือผู้เสียหายออกมาต่อสู้ทำร้ายกับจำเลยจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุวิวาทมิได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2097/2530
จำเลยสมัครใจแต่แรกที่จะทำร้ายผู้ตาย
มิได้ถูกฝ่ายผู้ตายกระทำการเย้ยหยันสบประมาทแต่อย่างใด
กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้ตาย
เนื่องจากถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม มาตรา 72 ผู้ตายถูกแทงที่ใต้ลิ้นปี่
ลึกเข้าช่องท้อง ผ่านเข้าตัดเส้นเลือดใหญ่ ความลึกของบาดแผลจากผิวหนัง 17
เซนติเมตร แสดงว่าลักษณะของมีดใช้แทงผู้ตายเป็นมีดขนาดใหญ่ ทั้งตั้งใจแทงโดยแรง
แม้เป็นการแทงเพียงครั้งเดียว แต่ตำแหน่งบาดแผลคือที่ช่องท้องนั้น
เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยเลือกแทงส่วนที่เป็นอวัยวะสำคัญและผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนเกิดเหตุนั้นเอง
เช่นนี้ถือว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
-
มาตรา 72 เจตนาพิเศษ
ที่ได้กระทำไปโดยบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1281/2508
ผู้เสียหายได้เคยซื้อของกินจากหญิงซึ่งเคยได้เสียกับจำเลย คืนเกิดเหตุ
จำเลยรู้เรื่องจากคำบอกเล่าของหญิงนั้นว่า ผู้เสียหายยังพูดจาเกี้ยวพาราสี
เพื่อจะติดพันหญิงนั้นอยู่อีก จำเลยต่อว่าผู้เสียหาย ผู้เสียหายปฏิเสธ
จำเลยก็ใช้มีดฟันผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายมิได้กอดปล้ำหญิงนั้น การกระทำของจำเลย
มิใช่เป็นเรื่องป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น ตาม มาตรา 68
และจำเลยจะอ้างว่าได้กระทำผิดโดยบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ก็ไม่ได้
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 708/2535 จำเลยที่ 1
ใช้ไม้ตี ก. เพราะ ก. ดุด่าเรื่องซักผ้าไม่สะอาด และทำร้ายร่างกายจริง แต่หลังจาก
ก. ดุด่าและทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 เดินไปหาไม้ที่หลังบ้าน
มีช่วงเวลาที่จะคิดได้ว่าสมควรทำร้าย ก. หรือไม่
อีกทั้งข้อเท็จจริงยังฟังได้ว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ก. เสร็จแล้ว ก.
ยังมีลมหายใจอยู่ และส่งเสียงร้อง จำเลยที่ 1 เกรงว่าจะมีคนได้ยินจึงใช้ผ้ารัดคอ
ก.โดยแรงจนกระทั่งแน่นิ่งไป ซึ่งเป็นการกระทำที่มีสาเหตุมาจากการที่จำเลยที่ 1
เกรงว่าจะมีคนได้ยินเสียงร้องของ ก.
มิใช่เพราะสาเหตุถูกข่มเหงการกระทำดังกล่าวของจำเลย จึงมิใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะ
ตาม ป.อ. มาตรา 72
-
ตอนแรก จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี เป็นเจตนาทำร้าย
คดีนี้ไม่ได้วินิจฉัยโดยตรงว่า ส่วนนี้อ้างบันดาลโทสะได้หรือไม่
เพราะระยะเวลาที่กระทำอาจห่างออกไปมาก จากข้อความ “มีช่วงเวลาที่จะคิดได้ว่าสมควรทำร้าย
ก. หรือไม่”
-
ตอนหลัง จำเลยที่ 1 ใช้ผ้ารัดคอ ถือเป็นเจตนาฆ่า มูลเหตุจูงใจส่วนนี้
ไม่ได้กระทำเพราะความโกรธ แต่กระทำเพราะ “เกรงว่าจะมีคนได้ยินเสียงร้องของ
ก.”
จึงไม่อาจอ้างบันดาลโทสะได้ เพราะขาดเจตนาพิเศษ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 743/2541 การที่ผู้ตายเอาเบียร์จากโต๊ะของจำเลยที่
1 ไปดื่มโดยพลการจนผู้ตายและจำเลยที่ 1 ทะเลาะกัน เมื่อ ป. เข้าห้าม ผู้ตายก็เดินไปทางปากซอยส่วนจำเลยที่ 1 กลับไปนั่งดื่มเบียร์ต่อที่โต๊ะ
แต่ผู้ตายยังไม่ยอมเลิกแล้วต่อกัน กลับไปท้าทายจำเลยที่ 1 ให้ชกต่อยกันอีก
จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้มีดแทงผู้ตายในเวลาเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันจึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ
ตาม ป.อ. มาตรา 72 / การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะต้องพิจารณาว่า
ขณะนั้นโทสะของผู้กระทำผิดหมดสิ้นไปแล้วหรือหาไม่
โดยพิจารณาจากพฤติการณ์อื่นประกอบ
การที่จำเลยทั้งสองบันดาลโทสะจึงวิ่งไล่แทงผู้ตาย และจำเลยที่ 2 แทงผู้ตายได้ในที่สุด
เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน ย่อมแสดงว่าขณะผู้ตายหนีต่อไปไม่ได้ และใช้โต๊ะขึ้นกันนั้น
โทสะของจำเลยทั้งสองยังไม่หมดสิ้นไป
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2477/2542
จำเลยเดินเข้าไปหาโจทก์ร่วม โดยถือมีดไปด้วย
แล้วใช้มีดเป็นอาวุธแทงและฟันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม น่าจะเป็นเพราะจำเลยโกรธ
ที่โจทก์ร่วมพาน้องสาวจำเลยไปนอนค้างที่อื่น และขอเลื่อนการแต่งงานออกไป
จากวันที่กำหนดไว้เดิม มากกว่าเหตุอื่น การกระทำของจำเลย
จึงมิใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 (จำเลยฎีกาว่า
โจทก์ร่วมพูดเหยียดหยาม น้องสาวจำเลย แต่ในคำให้การชั้นสอบสวนไม่มีข้อความที่โจทก์ร่วมพูดจาเหยียดหยามจำเลย)
-
มาตรา 72 เปรียบเทียบบันดาลโทสะ
กับป้องกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1082/2511
การกระทำโดยป้องกัน และการกระทำโดยบันดาลโทสะ องค์ประกอบต่างกัน
เมื่อกระทำโดยบันดาลโทสะ ก็ไม่ใช่เรื่องป้องกัน หรือกลับในทำนองเดียวกัน
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1480/2520
จำเลยเถียงกับผู้เสียหายเรื่องผู้เสียหายสงสัยว่า จำเลยเป็นชู้กับภริยาผู้เสียหาย
จำเลยยิงผู้เสียหายด้วยปืนลูกซองสั้น 1 นัดในระยะ 1
วาเป็นแผลเล็กน้อยรักษาในโรงพยาบาล 2 วันก็กลับบ้านได้
แสดงว่าปืนไม่อาจทำให้ตายได้ เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.288, 81 ไม่เป็นบันดาลโทสะหรือป้องกัน (หมายเหตุ
อ จิตติ ที่ว่า ม 72 เป็น ม 68
ไม่ได้ ไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมาย เป็นข้อคิดเห็นทางสภาพข้อเท็จจริง
ปกติคงเป็นทั้งสองอย่างไม่ได้ แต่ไม่น่าจะเด็ดขาด อาจมีเหตุจูงใจ ทั้งกลัวทั้งโกรธ
ในขณะเดียวกันได้)
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 2298/2531 จำเลยที่ 1 ที่ 2
เสพสุราอยู่ในลักษณะมึนเมา และอาจจะมีเหตุกินใจกันมาก่อน จำเลยที่ 1
ได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 จึงยิงจำเลยที่ 1
เป็นการแก้แค้น การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนตามกฎหมาย
แต่การที่จำเลยที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 ยิงก่อนถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ
อันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยที่ 2
จึงเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 0637/2537
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่อาจเป็นทั้งการกระทำโดยบันดาลโทสะ และป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะเดียวกันได้ / ผู้ตายเข้าไปหาจำเลย
แล้วเตะสำรับกับข้าวที่จำเลยกับภรรยานั่งรับประทานอยู่ แต่จำเลยก็หาได้ตอบโต้
ภยันตรายที่ผู้ตายก่ออย่างใดไม่ ต่อเมื่อผู้ตายร้องเรียกจำเลยให้เข้ามาต่อสู้
พร้อมกับด่าจำเลย จำเลยจึงเข้ามากอดปล้ำต่อสู้กับผู้ตาย
แต่สู้ไม่ได้เพราะตัวเล็กกว่า จำเลยจึงวิ่งไปหยิบมีดแทงผู้ตาย การกระทำของจำเลย
เป็นการกระทำ เมื่อภยันตรายดังกล่าวที่ผู้ตายก่อได้ผ่านพ้นไปแล้ว
แต่การกระทำของผู้ตาย
ก็ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายไปในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ หาใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่
-
เปรียบเทียบบันดาลโทสะ
กับป้องกัน กรณีการป้องกันภัยให้แก่ผู้อื่น
-
ปกรณ์ การป้องกันภัยให้แก่ผู้อื่นได้นั้น
ตัวผู้อื่นนั้นจะต้องไม่มีส่วนผิด หรือตัวผู้อื่นนั้นเอง
จะต้องมีสิทธิป้องกันตนเองได้ หากตัวผู้อื่นนั้นมีส่วนผิด
ไม่อาจอ้างสิทธิป้องกันตนเองได้แล้ว
ผู้กระทำก็ไม่อาจอ้างป้องกันให้แก่ผู้อื่นนั้นได้
กรณีจึงต้องพิจารณาถึงการกระทำโดยจำเป็น หรือบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 5698/2537 จำเลยที่ 1
ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้สมัครใจวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหาย จำเลยที่ 2
เข้าห้ามปราม มิให้ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายกลับชกต่อย
และเตะจำเลยที่ 2 จนเซไป แม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1
อีกก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาทกัน จำเลยที่ 2
จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหาย เพื่อป้องกันจำเลยที่ 1 ได้
ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองด้วย เพราะภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่จำเลยที่
2 เอง คือการถูกผู้เสียหายชกต่อย และเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ถือได้ว่าจำเลยที่
2 ได้กระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมตาม
ป.อ. มาตรา 72
-
การกระทำโดยพลาด
มาจากเหตุบันดาลโทสะ
-
คำพิพากษาฎีกาที่ 1082/2509 จำเลยถูกข่มเหงแล้ว
ได้ยิงคนที่ข่มเหงในขณะนั้น แต่เนื่องจากคนที่ข่มเหง ต่างวิ่งหนีไป
กระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้า จำเลยก็ต้องมีความผิด ตาม มาตรา 60
แต่การกระทำของจำเลยนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยถูกข่มเหงโดยไม่เป็นธรรม
และกระทำลงไปโดยบันดาลโทสะ จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา288, 80 ประกอบด้วยมาตรา 72
-
ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
-
(ขส เน 2541/
1) พ่อกับลูกนั่งทานข้าว พ่อวิวาทกับนายเขียว ลูกเข้าห้าม
นายเขียวชกลูก และชกพ่อ ลูกใช้เก้าอี้ฝาดนายเขียวสาหัส ลูกรับผิดอย่างไร / พ่อสมัครใจวิวาท
การที่ลูกเข้าห้าม แต่ถูกชก และนายเขียวชกพ่ออีก "เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องขณะวิวาท"
ลูกไม่มีสิทธิใช้เก้าอี้ตีนายเขียวเพื่อป้องกันพ่อ ตาม ม 68
/ ขณะเขียวชกพ่อ ภัยที่เกิดกับลูก "ผ่านพ้นไปแล้ว"
ไม่เป็นการป้องกัน / ลูกเข้าห้ามแต่ถูกชก
ถือว่าถูกข่มเหง ต้องรับผิด ม 297 + 72 ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้
ฎ 5698/2537
-
(ขส พ 2515/
6) แดงข่มเหงดำ ดำบันดาลโทสะแทงแดง พลาดไปถูกเขียว
เขียวโกรธวิ่งไปเอาปืนที่บ้านมายิงดำ แต่ลืมบรรจุกระสุนปืนไว้ / ดำผิด
ม 295,60 อ้างบันดาลโทสะได้ ม 72
ฎ 1682/2509 / เขียวผิด
ม 288,81 อ้างบันดาลโทสะได้ ม 72
ฎ 247/2478
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น