คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560


หมวด การกระทำความผิดอีก                                                         มาตรา 92 - 94

มาตรา 92               ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดใด ๆ อีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้น หนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 786/2502 กระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างที่รอการลงโทษจำคุกไว้นั้น จะเพิ่มโทษตาม มาตรา 92 ไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2104/2511 จำเลยเคยถูกลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้ ย่อมไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นการเพิ่มโทษได้ แม้จำเลยจะทำผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็เพิ่มโทษมิได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 427/2512 (สบฎ เน 2091) การที่ผู้กระทำผิดมาแล้วกลับมากระทำผิดอีก จะต้องถูกเพิ่มโทษ นั้นย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 93 หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเพิ่มหรือไม่เพิ่มตามที่ศาลเห็นสมควรไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2513 จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 2 คดี คดีแรกฐานมีอาวุธปืน ปรับ 500 บาท จำเลยจะต้องถูกถูกกักขังแทนค่าปรับ 100 วัน คดีหลักฐานรับของโจร ให้จำคุก 2 เดือน โดยให้นับโทษต่อจากคดีแรกคดีหลังนี้ก็ถึงที่สุดแล้ว ในระหว่างถูกกักขังแทนค่าปรับ จำเลยหลบหนีที่คุมขังไป เมื่อศาลลงโทษจำคุกฐานหลบหนีที่คุมขังไป เมื่อศาลลงโทษจำคุฐานหลบหนีที่คุมขัง ศาลย่อมเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้

-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า
-          (ขส เน 2511/ 10) สำราญเคยต้องโทษ ตามคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุก 1 ปี ฐานปลอมเอกสาร เมื่ออายุ 18 ปี แต่หลบหนีก่อนถูกจำคุก ต่อมาอีก 6 ปี ถูกลงโทษอีกคดีหนึ่งฐานลักทรัพย์ ให้จำคุก 2 ปี จะเพิ่มโทษจำคุกได้หรือไม่ / เพิ่มโทษไม่ได้ เพราะโทษจำคุกฐานปลอมเอกสารนั้น ล่วงเลยกำหนดเวลาลงโทษตาม ม 98 (4) แล้ว จึงไม่อยู่ในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ ตาม ม 92




มาตรา 93                ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ที่จำแนกไว้ในอนุมาตราต่อไปนี้ ซ้ำในอนุมาตราเดียวกันอีก ในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี ภายในเวลาสามปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี ถ้าความผิดครั้งแรกเป็นความผิดซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่าหกเดือน หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
(1)     ความผิดต่อเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามบัญญัติไว้ในมาตรา 107 ถึงมาตรา 135
(2)     ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 136 ถึงมาตรา 146
(3)     ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 147 ถึงมาตรา 166
(4)     ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 167 ถึงมาตรา 192 และมาตรา 194
(5)     ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 200 ถึงมาตรา 204
(6)     ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 209 ถึงมาตรา 216
(7)     ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 ถึงมาตรา 224 มาตรา 226 ถึงมาตรา 234 และมาตรา 236 ถึงมาตรา 238
(8)     ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 ถึงมาตรา 249 ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา แสตมป์ และตั๋วตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 250 ถึงมาตรา 261 และความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 ถึงมาตรา 269
(9)     ความผิดเกี่ยวกับการค้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 270 ถึงมาตรา 275
(10)   ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ถึงมาตรา 285
(11)   ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290 และมาตรา 294 ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 299 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 301 ถึงมาตรา 303  และความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วย เจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา 308
(12)  ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310 และมาตรา 312 ถึงมาตรา 320
(13)  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 365

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 308/2506 ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปีฐานฆ่าผู้อื่นในระหว่างต้องโทษได้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นซ้ำอีกนั้น ตามมาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังด้วย / โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้ว ศาลย่อมไม่เพิ่มไม่ลดได้ตามมาตรา 54.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 741/2507 ความผิดของจำเลยแต่ละกระทง มีโทษหนักเท่ากัน ศาลลงโทษจำเลยกระทงหนึ่งกระทงใด แต่กระทงเดียวได้ / จำเลยต้องโทษคดีก่อนฐานปล้นทรัพย์ แต่คดีหลังจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย  แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อนนั้นจะมีการทำร้ายร่างกายด้วย เมื่อศาลไม่ได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ดังนี้ ไม่ถือว่าจำเลยกระทำผิดซ้ำในอนุมาตราเดียวกัน จึงเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่ง ตาม มาตรา 93 ไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 204/2510 คดีก่อนแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกาย โดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้ หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนัก จำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือนหรือไม่ เหตุนี้ จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146  มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้ว  ตามมาตรา 93 ยังไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3279/2528 เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว จะเพิ่มโทษตาม ป.อ. ม.93 อีกไม่ได้

มาตรา 94               ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุยังไม่เกินสิบเจ็ดปีนั้น ไม่ว่าจะได้กระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตามความในหมวดนี้




หมวด อายุความ                                                                                    มาตรา 95 - 101

มาตรา 95               ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้อง และได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาล ภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(1)     ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2)     สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปี แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3)     สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปี ถึงเจ็ดปี
(4)     ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือน ถึงหนึ่งปี
(5)     หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้ว นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

-          ข้อหาความผิด ในการพิจารณาอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 957/2534 (ถูกกลับโดยคำพิพากษาฎีกาที่ 5494/2534 ประชุมใหญ่) อัตราโทษที่จะนำมาพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำ ตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ.มาตรา 95 นั้นถืออัตราโทษสูงสุดสำหรับความผิดที่บัญญัติไว้ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง มิใช่ถือตามกำหนดโทษที่ศาลพิพากษาลงแก่จำเลย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าตาม มาตรา 288 ,80 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย ตามมาตรา 295 ดังนี้ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5494/2534 ประชุมใหญ่ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีข้อวินิจฉัยตามที่โจทก์ ฎีกาว่า อายุความฟ้องจะต้องพิจารณาจากข้อหาหรือฐานความผิดที่โจทก์ฟ้อง หรือพิจารณาจากข้อหาหรือฐานความผิดที่ศาลฟังลงโทษ โดยโจทก์เห็นว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความคดีนี้มี 10 ปี แม้ศาลชั้นต้นจะฟังลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ก็หาทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความไม่ เพราะโจทก์ฟ้องจำเลยภายในอายุความที่จำเลยถูกกล่าวหาแล้วนั้น พิเคราะห์แล้ว หากจะถืออายุความจากข้อหาหรือฐานความผิดตามที่ โจทก์ฟ้อง ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม และอาจทำให้มีการฟ้องในข้อหาที่มีอัตราโทษสูงกว่าที่ได้กระทำผิดจริง เหตุดังกล่าวอาจทำให้เป็นการขยายอายุความฟ้องคดีอาญา ซึ่งจะเป็นโทษต่อจำเลย ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิด ที่พิจารณาได้ความคดีนี้ได้ความเป็นที่ยุติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งมีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดฟ้องโจทก์จึง ขาดอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2060/2538 อัตราโทษในการพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามข้อหาหรือฐานความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อหาหรือฐานความผิดที่โจทก์ฟ้อง มิฉะนั้นอาจเป็นการขยายอายุความฟ้องคดีซึ่งเป็นโทษต่อจำเลย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2192/2539 แม้โจทก์จะฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ การจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณาจะต้องดูว่าคดีไม่ขาดอายุความ ตาม ป.อ. มาตรา 95 ด้วย เมื่อความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณามีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน จึงมีอายุความหนึ่งปี ตามมาตรา 95 (5) นับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2533 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

-          การนับกำหนดเวลา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1206/2499 ความผิดฐานไม่จดทะเบียนพานิชย์เสียภายในกำหนด 30วัน อันมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นั้น ถ้าไม่ได้ฟ้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมขาดอายุความแต่ความผิดในการที่ประกอบพานิชย์กิจต่อ ๆ มาโดยไม่ได้จดทะเบียนอันมีโทษปรับเป็นรายวันนั้น เป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับได้ไม่เกิน 1 ปี วันใดที่เกิน 1 ปี ย่อมขาดอายุความเช่นกัน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2499)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4635/2531 ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่หรือการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175, 176 มาใช้ในคดีอาญาไม่ได้ / โจทก์ยื่นฟ้องคดีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ต่อศาลแขวงพระนครใต้ภายในกำหนดอายุความ ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงจึงสั่งจำหน่ายคดีให้โจทก์ไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจภายใน 7 วัน โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ล่วงเลยกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดแล้ว โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ / หมายเหตุ เรื่องอายุความ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงไม่นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในคดีอาญา แต่ เรื่องการนับระยะเวลา ประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2144/2539 (สบฎ เน /16) อัยการขอผลัดฟ้อง โดยไม่นำตัวจำเลยส่งศาล แม้ศาลชั้นต้นอนุญาต ก็ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้ว ผู้เสียหายยื่นฟ้อง โดยวันสุดท้ายของอายุความ โจทก์ก็มิได้ตัวจำเลยมาศาล จึงขาดอายุความ





-          การเริ่มนับอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 435/2535 การที่จำเลยเข้าไปสร้างรั้ว ท้องครัว ห้องน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อถือการครอบครองเป็นของตนนั้น ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นและสำเร็จ เมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าว ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมา เป็นเพียงผลของการบุกรุกเท่านั้น หาเป็นความผิดต่อเนื่องไม่

-          การฟ้องคดี ต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว อายุความจึงจะหยุดนับ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 270/2528 ตาม ป.อ. ม.95 นั้น ต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว  อายุความจึงจะหยุดนับ บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เท่านั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ก็ต้องถือหลักอย่างเดียวกัน / โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2507 ถึงวันที่30 มีนาคม 2514 ความผิดของจำเลยที่โจทก์ฟ้องมีอายุความ 10 ปีโจทก์จะต้องฟ้องและได้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน วันที่ 30 มีนาคม 2524 คดีจึงจะไม่ขาดอายุความ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย วันที่ 30 มีนาคม 2524 แต่ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ต่อไป ระหว่างนั้นจะถือว่าได้ตัวจำเลยมายังศาลและจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วไม่ได้อายุความยังไม่หยุดนับ ศาลชั้นต้นสั่งคดีมีมูล หมายเรียกจำเลยแก้คดีและได้ตัวจำเลยมาพิจารณาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2524 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

มาตรา 96                ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่ รู้เรื่องความผิดและ รู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ

-          มาตรา 96 อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 95
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2440/2523 จำเลยฉ้อโกงได้โฉนดของโจทก์ไป เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ซึ่งเป็นวันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์มาฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2522 เกินสิบปี คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ.ม.95 สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.ว.อ. ม.39 (6) แม้โจทก์จะอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยหลังจากรู้เรื่องความผิดภายใน 3 เดือน ตาม ป.อ. ม.96 ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้อง เพราะสิทธิฟ้องของโจทก์ตามมาตรานี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับ ม. 95

-          วิธีการนับเวลา ในเรื่องอายุความ กรณีวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2212/2515 กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายในความผิดอันยอมความได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเอง ก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน / ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 ดังนั้นเมื่อระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ได้สิ้นสุดลงในวันหยุดราชการ ผู้เสียหายจึงยื่นฟ้องต่อศาลในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ โดยไม่ขาดอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1306/2524 ความผิดอันยอมความได้ วันที่โจทก์รู้ความผิดของจำเลยครบ 3 เดือนเป็นวันเสาร์หยุดราชการถึงวันอาทิตย์ วันจันทร์โจทก์ยื่นฟ้อง ไม่ขาดอายุความ

-          วิธีการนับเวลา ในเรื่องอายุความ การเริ่มนับอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2272/2527 แม้จำเลยปิดป้ายประกาศหมิ่นประมาทโจทก์ก่อนวันที่โจทก์ไปร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเกิน 3 เดือนก็ตาม การโฆษณาหมิ่นประมาท นับแต่วันปิดประกาศ ก็ยังคงดำเนินต่อเนื่องกันไป อันถือได้ว่าเป็นความผิดต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการปลดป้ายประกาศออกไป ซึ่งถือได้ว่า การกระทำอันเป็นมูลแห่งความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ยุติลง อายุความย่อมจะต้องเริ่มนับ ตั้งแต่วันที่มีการปลดป้ายประกาศออกคือวันที่ 2 กันยายน 2524 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่โจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาท และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2524 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5662/2530 จำเลยเบิกความในคดีที่บิดาจำเลยร้องขัดทรัพย์ ว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่า บ้านที่โจทก์นำยึดเป็นของบิดาจำเลย แสดงว่าจำเลยรู้มาแต่แรกแล้วว่าบ้านไม่ใช่ของจำเลย การที่จำเลยนำบ้านดังกล่าวประกันเงินกู้โจทก์ โดยระบุในสัญญากู้ว่าเป็นบ้านของจำเลย จึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงิน และส่งมอบเงินที่กู้ให้การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง / ปัญหาอายุความความผิดฐานฉ้อโกงในคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ การที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จำต้องอาศัยข้อเท็จจริง ในคดีที่บิดาจำเลยร้องขัดทรัพย์ว่า บ้านที่จำเลยนำไปประกันเงินกู้โจทก์นั้น เป็นบ้านของจำเลยหรือของบิดาจำเลย จึงต้องถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อคดีร้องขัดทรัพย์ถึงที่สุดแล้ว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6368/2534 โจทก์ร่วมรู้ถึงการหลอกลวง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 แม้เพิ่งมีหลักฐานเมื่อเดือนธันวาคม 2527 แสดงว่าจำเลยฉ้อโกง ก็เป็นเรื่องของการหาหลักฐานในการดำเนินคดี อันเป็นคนละกรณี กับที่โจทก์ร่วมรู้ว่าถูกหลอกลวง อายุความต้องเริ่มนับแต่เดือนกันยายน 2527 โจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 จึงเกินกำหนด 3 เดือนเมื่อเป็นคดีความผิดอันยอมความได้ คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3085/2537 โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของบริษัท โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยไว้ก่อน ดังนี้ เมื่อได้ความว่าก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ด. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจร้องทุกข์เช่นเดียวกับโจทก์ ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ ด. รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96 (คดีของโจทก์ขาดอายุความไปด้วย อาจเป็นเพราะถือว่าเป็นผู้เสียหาย ใช้สิทธิเดียวกัน เมื่อคนหนึ่งสิ้นสิทธิดำเนินคดี อีกคนหนึ่งสิ้นสิทธิไปด้วย)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 815/2541 จำเลยนำรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์ร่วม ที่อยู่ติดกับร้านขายรถจักรยานยนต์ของจำเลยเพื่อขายในเวลากลางวัน และนำเข้าเก็บรักษาในร้านในเวลากลางคืน เป็นการเคลื่อนย้ายรถจักรยานยนต์ ออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมเป็นการชั่วคราว เพื่อจะนำเข้าไปตั้งแสดงใหม่ในวันรุ่งขึ้นด้วย จุดประสงค์เดียวกันกับที่ได้กระทำมาแล้วในครั้งแรกอีก แม้จะมีการกระทำหลายครั้ง แต่ก็เป็นเพียงการกระทำที่ยืดออกไปจากการกระทำความผิดครั้งแรก และเป็นเพียงผลของการบุกรุกที่ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ต้องถือว่าการกระทำของจำเลย เป็นความผิดกระทงเดียวนับแต่การกระทำความผิดครั้งแรกสำเร็จลง / ความผิดฐานบุกรุกเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2536 แต่เพิ่งร้องทุกข์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2537 พ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

-          ความผิดต่อส่วนตัว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1319/2462 อัยยการนครสวรรค์ โจทก์ นายดำ จำเลย ธ.3 หน้า 749 (ประชุมสารบัญฎีกา 1748 รวมฎีกา 35 ปี ตอนที่ 3 บรรพ 5 ลักษณะอาชญา โดยนายมาลัย จั่นสัญจัย หน้า 1748) จำเลยได้ใช้สาสตราวุธ สับฟันประตูสถานีรถไฟแตกหักเสียหาย อัยยการจึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 324 - 325 โดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ ปัญหามีว่าอัยยการจะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ ตัดสินว่าถึงแม้จะเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็ดี อัยยการก็มีอำนาจฟ้องได้เพราะเท่ากับเป็นเจ้าทุกข์เสียเอง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 405/2464 อัยยการนครสวรรค์ โจทก์ นายดำจำเลย ธ.5 หน้า 294 (ประชุมสารบัญฎีกา 1748 รวมฎีกา 35 ปี ตอนที่ 3 บรรพ 5 ลักษณะอาชญา โดยนายมาลัย จั่นสัญจัย หน้า 1748) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้น ถ้าแม้ทรัพย์ที่เสียหาย เป็นทรัพย์ของรัฐบาลแล้ว อัยยการก็มีอำนาจฟ้องได้ โดยไม่ต้องมีผู้ร้องทุกข์ (ข้อมูล website ศาลฎีกา ย่อฎีกา ฎ 405/2464 ความผิดทำให้เสียทรัพย์ของแผ่นดิน เช่นฟันประตูเสาแลฝาสถานีรถไฟหลวงชำรุด ถึงแม้จะไม่มีผู้ร้องทุกข์ พนักงานอัยการก็ว่าความได้เสมอ)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1013/2474 อัยยการนครศรีธรรมราช โจทก์ นายเผือก จำเลย ธ. 15 หน้า 1211 (ประชุมสารบัญฎีกา 1748 รวมฎีกา 35 ปี ตอนที่ 3 บรรพ 5 ลักษณะอาชญา โดยนายมาลัย จั่นสัญจัย หน้า 1388) คดีความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งอัยยการเป็นโจทก์ฟ้องร้องนั้น ถ้าจำเลยมิได้รับว่าเจ้าทุกข์ได้มอบคดีให้โจทก์ว่ากล่าวแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของอัยยการจะต้องนำสืบว่าเจ้าทุกข์ได้มอบคดีให้ว่ากล่าว อัยยการจึงจะมีอำนาจฟ้องได้ เพียงแต่กล่าวในฟ้องเท่านั้นยังไม่พอ
-          คำชี้ขาดความเห็นแย้งโดยอัยการสูงสุด 61/2537 (รวมคำชี้ขาดฯ 2535 - 2538 เล่ม 1 185 ) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เป็นความผิดที่กระทำต่อกรรมสิทธิ์ เจ้าของทรัพย์เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายได้ ผู้เช่ายังไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ที่กระทำต่อกรรมสิทธิ์ และการกระทำในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องเป็นการกระทำต่อทรัพย์ ให้มีสภาพเลวลงลำพังการกระทำของผู้ต้องหาที่เป็นการปรับปรุงดัดแปลงนั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำให้เสียหายฯลฯ อย่างไร จึงชี้ขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานทำให้เสียทรัพย์ (เทียบ ข้อหารือ ที่ อส 0017/14144 ลว 8 .. 2537 ทรัพย์สินของนิติบุคคลซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม ฉะนั้น ความผิดฐานฉ้อโกงที่กระทำต่อนิติบุคคลที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงไม่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ที่จะต้องห้ามตามมาตรา 121 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การดำเนินคดีกับผู้ฉ้อโกงทรัพย์สินขององค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงกระทำได้โดยมิพักต้องมีการร้องทุกข์



มาตรา 97                ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความ
มาตรา 98                เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้
(1)     ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปี
(2)     สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3)     สิบปี สำหรับโทษคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4)     ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น
มาตรา 99                การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ ถ้ามิได้ทำภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จะยึดทรัพย์สินหรือกักขังไม่ได้
ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับ ในกรณีการกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งทำต่อเนื่องกับการลงโทษจำคุก
มาตรา 100              เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กักกันผู้ใด ถ้าผู้นั้นยังมิได้รับการกักกันก็ดี ได้รับการกักกันแต่ยังไม่ครบถ้วน โดยหลบหนีก็ดี ถ้าพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันที่พ้นโทษ โดยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้ว หรือโดยล่วงเลยการลงโทษ หรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนีระหว่างเวลาที่ต้องกักกัน เป็นอันล่วงเลยการกักกัน จะกักกันผู้นั้นไม่ได้
มาตรา 101              การบังคับตามคำสั่งของศาลตามความในมาตรา 46 หรือการร้องขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินเมื่อผู้ทำทัณฑ์บน ประพฤติผิดทัณฑ์บนตามความในมาตรา 47 นั้น ถ้ามิได้บังคับหรือร้องขอภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง หรือนับแต่วันที่ผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติผิดทัณฑ์บน จะบังคับหรือร้องขอมิได้




ลักษณะ 2            บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ                                            มาตรา 102 - 106
มาตรา 102              ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2496 นอกจากความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 3 แล้ว มาตรา 102 ใช้ในกฎหมายอื่นด้วย ฉะนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีระวางโทษไม่เกินที่ระบุไว้ในมาตรา 102 ถือเป็นความผิดลหุโทษด้วย

มาตรา 103              บทบัญญัติในลักษณะ 1 ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในสามมาตราต่อไปนี้

-          เหตุที่ต้องบัญญัติมาตรานี้ ก็เพราะจะใช้ มาตรา 17 กับความผิดลหุโทษในภาค 3 ไม่ได้ เนื่องจาก มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่น

มาตรา 104          การกระทำความผิดลหุโทษ ตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3118/2516 ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้ผู้อ้างสิทธิว่าเป็นเจ้าของที่ดินในที่สาธารณประโยชน์ ไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์สิทธิภายใน 15 วัน จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว และเข้าใจโดยสุจริตว่าครอบครองโดยชอบ โดยทางราชการผ่อนผันให้ครอบครองไปจนกว่าทางราชการจะพิจารณาแล้ว เห็นว่าจำเป็นจะต้องให้จำเลยออกจากที่ดิน และแจ้งให้ออกแล้ว ดังนี้ แม้ต่อมานายอำเภอได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินนั้น โดยอ้างว่าการที่จำเลยบุกรุกเข้าไปก่อความเดือดร้อนแก่สาธารณะชน และจำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ออกไป ก็ไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายหรือคำสั่งของนายอำเภอ การกระทำของจำเลยขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 368
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1119/2517 ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 391 ผู้กระทำต้องมีเจตนาจึงจะเป็นความผิด




มาตรา 105              ผู้ใด พยายามกระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2509 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยยกเท้าซึ่งสวมรองเท้าเงื้อจะถีบผู้เสียหาย แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ถ้าจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วจะเกิดผลอย่างไร ผลธรรมดาอันจะเกิดขึ้น เพราะการถีบ จะทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่ ไม่อาจเล็งเห็นได้ หากจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้ว ผลที่เกิดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้ว ความผิดนั้นก็เป็นเพียงลหุโทษ ผู้พยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามกระทำให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายแล้ว ก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ / การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ เพราะอันตรายต่อจิตใจนั้น ต้องเป็นผลจากการทำร้าย แต่ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจ แค้นใจ เหล่านี้เป็นอารมณ์ หาใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจไม่

มาตรา 106              ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษ ไม่ต้องรับโทษ

-          กฎหมายยกเว้นเฉพาะผู้สนับสนุน ส่วน ผู้ร่วมกระทำความผิด และผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามมาตรา 83 และ 84 ยังมีความผิดอยู่ต่อไป
-          ความผิดที่เป็นลหุโทษ เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่ พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว หรือชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ได้เปรียบเทียบแล้ว คดีเป็นเลิกกันปวิอ มาตรา 37 (2) (3)
-          ในกรณีซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ จะ ควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น ตาม ปวิอ มาตรา 87 วรรคสอง
-          คำพิพากษาคดีลหุโทษไม่จำเป็นต้องมีข้อหาและคำให้การ ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความและเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตาม ปวิอ มาตรา 186 วรรคสอง
-          ถ้าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนในความผิดลหุโทษ ศาลจะรอการลงโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ก็ได้ และภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ถ้าจำเลยกระทำความผิดลหุโทษและศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ศาลที่พิพากษาคดีหลังจะบวกโทษในคดีก่อนไม่ได้ (ดู มาตรา 85)
-          การกระทำความผิดลหุโทษ ไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการตุลาการ การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3763/2527 คดีความผิดลหุโทษตามมาตรา 368, 386 มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตาม ปวิอ ม 120 ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษจะเป็นผู้ใด หามีความสำคัญไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4947/2531 ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บฟกช้ำที่ใบหน้าด้านซ้ายเพียงแห่งเดียว ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามมาตรา 295 ผู้กระทำคงมีความผิดตามมาตรา 391 จำเลยเป็นผู้สนับสนุน จึงไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 106
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4947/2531 การที่จำเลยเพียงแต่ร้องบอกว่า "เอามันให้ตายเลย" แล้วพวกของจำเลยได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั้น เป็นการที่จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ตามมาตรา 84 แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ แต่การที่จำเลยร้องบอกดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ / ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บฟกช้ำที่ใบหน้าด้านซ้าย เพียงแห่งเดียวแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295 ผู้กระทำความผิดคงมีความผิดตาม มาตรา 391 จำเลยเป็นผู้สนับสนุนความผิดดังกล่าว อันเป็นความผิดลหุโทษ จึงไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 106



หมวด การกระทำความผิดหลายบท หรือหลายกระทง                             มาตรา 90 – 91

มาตรา 90                เมื่อการกระทำใดอันเป็น กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา 91                เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้
(1)     สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(2)     ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี แต่ไม่เกินสิบปี
(3)     ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

-          สรุปกรณีการใช้ มาตรา 90 (อ เกียรติขจร หนังสือรพี 38 เนติฯ หน้า 79)
-          การกระทำกรรมเดียวซึ่งเป็นความผิดตาม บทเฉพาะและ บททั่วไปให้ลงโทษตาม บทเฉพาะไม่ต้องคำนึงถึงโทษ โดยไม่นำหลักในมาตรา 90 มาใช้ ซึ่งการผิดบทเฉพาะ ย่อมผิดในบททั่วไปด้วย แต่เมื่อปรับบทเฉพาะแล้ว ไม่ต้องปรับบททั่วไปอีก
-          การกระทำกรรมเดียว ตาม บทฉกรรจ์และ บทธรรมดาให้ลงโทษตาม บทฉกรรจ์โดยไม่นำหลักในมาตรา 90 มาใช้
-          การกระทำกรรมเดียว ซึ่งเป็นความผิดหลายมาตรา อันไม่ใช่เรื่อง บทเฉพาะและ บททั่วไปหรือ บทฉกรรจ์และ บทธรรมดาจึงให้นำหลักในมาตรา 90 มาใช้

-          ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อาศัยหลักดังต่อไปนี้
-          กฎหมายประสงค์ให้ลงโทษตามบทเฉพาะเท่านั้น
-          หากไม่ลงโทษตาม บทเฉพาะแล้ว บทเฉพาะจะไม่มีที่ใช้ได้เลย ในกรณีที่โทษตาม บทเฉพาะนั้นโทษเบากว่า บททั่วไป” (เช่น กรณีปลอมตั๋วโดยสารรถไฟ ซึ่งผิด มาตรา 258 อันเป็น บทเฉพาะและมีโทษเบากว่า มาตรา 265 อันเป็น บททั่วไป”)
-          มีหลักทั่วไปว่า บทบัญญัติเฉพาะย่อมยกเว้น บทบัญญัติทั่วไป
-          การลงโทษตาม บทเฉพาะซึ่งอาจมีโทษเบากว่า บททั่วไป” (เช่น กรณีมาตรา 258 อันมีโทษเบากว่า มาตรา 265 นั้น) คงไม่ขัดต่อ มาตรา 90 เพราะถือว่าเป็นกรณีที่เข้าตาม มาตรา 17 ที่มิให้นำ มาตรา 90 ซึ่งเป็น บทบัญญัติในภาค 1ไปปรับใช้กับกรณีของเรื่อง บทเฉพาะและ บททั่วไป

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1618/2499 การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกะทงหรือเป็นความผิดกะทงเดียวแต่ต้องด้วย ก..หลายบท มีหลักวินิจฉัยดังนี้คือ ถ้าการกระทำใดเป็นความผิดต้องด้วย ก..หลายบทแล้ว จะแยกการกระทำนั้นออกจากกันไม่ได้ ก็เป็นความผิดที่ต้องด้วย ก..หลายบท แต่ถ้า ก..บัญญัติการกระทำเป็นความผิดไว้คนละอย่างต่างกัน เช่น ลักทรัพย์กับทำร้ายร่างกายหรือทำร้ายร่างกายกับบุกรุก ดังนี้ ผู้ที่กระทำผิดทั้งสองอย่างก็ต้องเป็นความผิด 2 กะทงไม่ใช่ต้องด้วย ก..หลายบท เพราะต่างกรรมต่างวาระกัน / การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคน เป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกะทง คือฐานบุกรุกกะทงหนึ่ง และฐานพยายามฆ่าคนอีกกะทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลยพินิจ รวมกะทงลงโทษจำเลยได้

-          มาตรา 91 ความผิดหลายกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1924/2527 คำว่า  "อัตราโทษ"  ตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราต่าง ๆ ของ ป.อ. ม. 91 ที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 นั้น หมายถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หาได้หมายถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงที่ศาลลงแก่จำเลยไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3614/2527 การกระทำครั้งเดียว ถ้าหากผู้กระทำมีเจตนาจะให้เกิดผลเป็นหลายกรรม ก็ย่อมถือเป็นความผิดหลายกรรมได้ จำเลยมีเจตนาใช้รถผิดประเภทตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ม.128 กรรมหนึ่ง  และมีเจตนากระทำความผิดฐานแย่งผลประโยชน์กับบริษัท ข.ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางอนุญาตตาม ม.138 อีกกรรมหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันในลักษณะของความผิดอย่างเห็นได้ชัด จำเลยจึงมีความผิด 2 กระทง

-          มาตรา 91 (3)   คำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต"
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2530 ตาม มาตรา 91 อนุมาตรา 3 นั้นศาลจะลงโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงรวมกันเกิน 50 ปีไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น"  หมายความว่าหากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง ศาลลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนักให้จำคุกตลอดชีวิต และฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตให้จำคุก 2 ปี ดังนี้ เมื่อศาลลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นจำคุก 25 ปี และลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปีแล้ว ศาลรวมโทษทั้งสองกระทงเป็นจำคุกจำเลย 26 ปีได้

& ประเด็นเปรียบเทียบ การนับโทษต่อ
                Ø คดีสองสำนวน เกี่ยวพันกัน อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ (ปวิอ ม 24) เมื่อโจทก์แยกฟ้องและศาลไม่รวมสำนวน หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ ตาม ม 91 (2) ในสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อจากอีกสำนวนหนึ่งได้ ฎ 2355/2539
                Ø คดีสองสำนวน ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องและศาลไม่รวมสำนวน ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำคุก นับโทษต่อจากอีกสำนวนหนึ่งได้ เกินกว่า 20 ปี ได้ ฎ 85-87/2536

-          มาตรา 91       การจำกัดโทษจำคุก คดีที่เกี่ยวพันกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 831 ถึง 1450/2528 กรณีที่ความผิดของจำเลย ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อกับคดี 620 สำนวนที่ศาลสั่งรวมการพิจารณาและกำลังพิจารณาอยู่ เป็นความผิดเกี่ยวพันกัน และความผิดทุกสำนวนปรากฏต่อพนักงานสอบสวนก่อนโจทก์ฟ้องคดีแรกแล้ว  เห็นได้ว่าโจทก์อาจฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันก็ได้ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำคุกจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตาม ป.อ. ม.91 ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะแยกฟ้องคดี 620 สำนวน  เป็นรายสำนวนซึ่งศาลสั่งรวมการพิจารณาแล้ว โดยมิได้สั่งรวมการพิจารณากับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ เมื่อศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลย เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ม.91 แล้ว ศาลก็จะนับโทษจำเลยต่ออีกไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1220/2530 การที่จะนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับโทษจำคุกในคดีอื่นหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล แม้ในคดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุก 50 ปี ก็ตาม หากศาลเห็นสมควร ก็อาจสั่งนับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอื่นอีกก็ได้ ไม่ขัดต่อ มาตรา 91 / กรณีที่ความผิดกระทงหนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป แม้มาตรา 91 (3) จะกำหนดไว้ว่าเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกต้องไม่เกิน 50 ปี ก็ตาม แต่ก็มีบทบัญญัติยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับ สำหรับกรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม มาตรา 289 ให้ประหารชีวิต ฐานมีอาวุธและเครื่องกระสุนปืนในครอบครอง จำคุก 1 ปีฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม มาตรา 78 แล้ว ให้จำคุกตลอดชีวิต และจำคุก 1 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี แต่คงให้จำคุกเพียง 50 ปีจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6116/2534 บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) หมายความว่ากรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปีเว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ สำหรับความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 2 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น ศาลได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แต่เมื่อมีการลดโทษให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เพียง 40 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษ ในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2 เป็นจำคุกทั้งสิ้น 41 ปี 7 เดือน 6 วัน ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5124/2537 ป.อ. มาตรา 91 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าไม่ว่ากรณีใด ๆ โทษจำคุกทั้งสิ้น จะต้องไม่มากกว่าจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น หาได้ระบุว่า เมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ห้ามมิให้มีโทษปรับด้วยไม่ ฉะนั้น ที่ศาลพิพากษาจำคุกจำเลยตลอดชีวิตโดยให้ปรับ 1,000 บาท ด้วย จึงชอบแล้ว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2355/2539 ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่  5 ในคดีก่อนคดีทั้งสองมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ โดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดี หากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้วก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนด / แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษจำเลยต่อรวมแล้วเกิน 20 ปี ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นก็ย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เป็นไม่นับโทษต่อได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใดเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

-          มาตรา 91         คดีไม่เกี่ยวพันกัน ไม่จำกัดกำหนดเวลาจำคุก ตามมาตรา 91
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 85-87/2536 มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปี นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลย ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรม แต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่การเกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน  ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 (2) เช่นเดียวกันดังนั้น / เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหลายสำนวนนั้น เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีแต่ละสำนวนซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี  แต่ไม่เกิน 10 ปี ติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1365/2536 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังกับได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษต่อจากโทษของ จำเลยทั้ง 5 คดี รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 91 (2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เป็น ให้นับโทษต่อจาก โทษของจำเลยทั้ง 5 คดีแล้วโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปีได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงแก้ไข หมายจำคุกที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้องได้ การที่จะนับโทษจำคุกต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นนั้นเป็น การกระทำความผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้ จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียว กันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อผู้เสียหายทั้ง 5 คดีดังกล่าว ไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้เสียหายในคดีนี้พยานหลักฐานทั้ง 5 คดี ก็ไม่ใช่พยาน หลักฐานชุดเดียวกันกับคดีนี้ ทั้ง 5 คดีไม่เกี่ยวพันกับคดีนี้จนอาจจะฟ้องเป็นคดี เดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับเป็นโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยทั้ง 5 คดีดังกล่าวโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นเกิน 20 ปีได้ กรณี ไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 91 (2)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1513/2537 ป.อ. มาตรา 91 (3) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรม และถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน  หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี และเป็นคดีที่เกี่ยวพันกัน จนศาลได้มีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน คดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน กรณีจึงจะอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 91 (3)  คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 รวม 8 คดี และฟ้องจำเลยที่ 2 รวม 9 คดีนั้น แต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกัน เป็นคดีไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกิน 50 ปีได้ ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 91 (3)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4656/2540 บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91 ใช้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาอันเดียวกัน ในคำฟ้องคดีเดียวที่รวมเอาความผิดหลายกระทงไว้ด้วยกันตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 หรือคำฟ้องหลายคดีที่พิจารณาพิพากษารวมกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 25 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ก็ให้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป โดยมีข้อยกเว้นว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้น ต้องไม่เกินกำหนดตามที่ระบุไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 วรรคท้าย þ ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่าการนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่ง ต่อจากคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้อง และคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป เมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ þ ซึ่งการขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่ง ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการ เริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่า จะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3072/2541 ป.อ. มาตรา 91 (2) ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกัน โดยอาจถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือแยกฟ้องเป็นหลายคดี สำหรับคดีของจำเลยทั้ง 11 คดี  ซึ่งเป็นคดีที่จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ 10 คดี และฐานรับของโจร 1 คดีนั้น เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหาก โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ทั้งไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาทั้ง 11 คดี  ติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3558/2543 การรวมโทษของจำเลยทุกคดีแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 20 ปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) นั้นจะต้องปรากฏว่าการกระทำผิดของจำเลยทุกคดีมีลักษณะที่เกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160วรรคหนึ่ง หรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อปรากฏว่าคดีทั้งสามคดีที่จำเลยขอให้รวมโทษดังกล่าวเป็นคดีที่มีวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุต่างกันอยู่ในอำนาจศาลต่างกัน และพยานหลักฐานก็เป็นคนละชุดกัน การกระทำผิดของจำเลยทั้งสามคดีจึงไม่ได้เกี่ยวพันกัน จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แต่เป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 91 (2) แห่ง ป.อ. จึงไม่อาจรวมโทษของจำเลยทั้งสามคดีดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้ว คงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี





-          บทเฉพาะและบททั่วไป
-          (“บททั่วหมายถึง เรื่องที่มีองค์ประกอบกว้างขวาง ครอบคลุม องค์ประกอบของ บทเฉพาะเช่น ม 172 คลอบคลุม ม 173 และ ม 157 คลอบคลุม ม 149 , 161 2159/2518 / ส่วนกรณีอยู่คนละ หมวดไม่ใช่บทเฉพาะและบททั่วไป ฎ 929/2537)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1907/2517 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเข้าไปในบ้านอันเป็น อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ เพื่อถือการครอบครองบ้านนั้น การกระทำของ จำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 362 กรณีไม่จำต้อง ปรับบทด้วยมาตรา 364 อีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2159/2518 นายสิบตำรวจพบกัญชาที่ ว.แต่เรียกเอาเงินจาก ว.เพื่อไม่จับดำเนินคดี เป็นการรับสินบนตาม ม.149 ไม่ใช่ ม.148 เช่นแกล้งจับโดย ไม่มีความผิด ทั้ง ไม่ต้องปรับด้วย ม.157” ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก แต่ ยังไม่เป็นการคุมขัง ไม่ผิด ม.204
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1561/2525 จำเลยเป็นตำรวจประจำการกองร้อย มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาและมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ในเมื่อเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้ที่เกิดเหตุจะเป็นที่รโหฐาน การที่จำเลยไปพบ จ. กับพวกกำลังเล่นการพนันในห้องชั้นบนบ้าน อันเป็นที่รโหฐานและจับกุม จ. กับพวกในข้อหาดังกล่าว ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ เมื่อจำเลยเรียกและรับเงินจาก จ. แล้วปล่อยตัว จ. กับพวกโดยไม่ส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.149 / เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.149 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตาม ม.157 มาด้วย ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วย ม.157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 929/2537 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ เป็นความผิด ตาม ป.. มาตรา 200 วรรคแรก และมาตรา 157 ด้วย การกระทำ ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1088/2536 จำเลยมิได้แลกเช็คจาก ศ. เพียงแต่รับสมอ้าง จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรง โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิด เพราะโจทก์มิได้ลงวันที่สั่งจ่าย เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ อันจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง / เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

-          บทธรรมดากับ บทฉกรรจ์
-          (“บทฉกรรจ์หรือ เหตุฉกรรจ์หรือเหตุที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นเรื่องของ ข้อเท็จจริงซึ่งผู้กระทำผิดจะรับโทษหนักขึ้น เมื่อรู้ข้อเท็จจริงนั้น ตาม มาตรา 62 วรรค 3)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 627/2515 ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 172 , 173 , 174 เมื่อได้ความว่าจำเลยรู้ว่า มิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่แจ้งว่าได้ มีการกระทำผิดเกิดขึ้น ต้องลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 174 มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวเป็นความ ผิดต่อกฎหมายหลายบท

-          บทเบากับ ผลที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
-          (ผลของการกระทำความผิด ที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นเรื่องของ ผลการกระทำไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำผิดจะต้องรู้ หรือคาดเห็นได้ ก็รับโทษหนักขึ้นได้ แต่ต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาเกิดขึ้นได้ ตาม มาตรา 63)

-          บทธรรมดากับ บทหนักตาม ม 90”
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1937/2522 ยิง 4-5 นัด เจตนาฆ่า ก. กระสุนถูก ก. ตาย ถูก ส.อันตรายสาหัส เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.288 กับ ม.288,80 อีกบทหนึ่ง คำพิพากษาต้องอ้างความผิดทั้ง 2 บท ให้ลงโทษตาม ม.288 บทหนัก




-          การปรับบทความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1730/2506 จำเลยฉุดคร่าผู้เสียหายจากทางเดิน นำเข้าป่าข้างทางห่างทางเดิน 7-8 วา แล้วร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในป่านั้นเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน / มาตรา 281 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไม่ใช่บทลงโทษ ไม่จำต้องยกขึ้นปรับบทลงโทษจำเลย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2512 มาตรา 91 เป็นเรื่องกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 476/2515 การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์จึงเป็นเหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อาญา มาตรา 289 (7),80 แล้ว ศาลไม่จำต้องปรับบทว่าผิดฐานชิงทรัพย์ด้วย แต่ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ ราคาทรัพย์ให้แก่ผู้เสียหายได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1867/2517 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนยิง ส.ได้รับอันตรายสาหัส โดยมีเจตนาฆ่า ตาม มาตรา 288, 80, 297 จำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่า ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 288,80 บทเดียว ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 297 อีกบทหนึ่งด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1156/2517 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) เพราะเป็นการบุกรุกซึ่งมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกระทำผิดด้วยกันแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับความผิดฐานบุกรุกอันไม่มีเหตุฉกรรจ์อีกบทหนึ่งด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1365/2522 (สบฎ เน 5872) มาตรา 268 ต้องลงโทษตาม มาตรา 264 - 267 คำพิพากษาต้องระบุ มาตรา 268 ประกอบมาตรา มาตรา 264-2677
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1835/2522 (สบฎ เน 5873) มาตรา 340 ตรี เป็นเหตุรับโทษหนัก ไม่ใช่ความผิดต่างหาก ลงโทษ มาตรา 340 ตรี บทหนักไม่ได้ ต้องลง มาตรา 340 + 340 ตรี
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2304/2523 ศ. และจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองฟ้องร้องกันเรื่องเครื่องหมายการค้า จำเลยแจ้งนำกำลังตำรวจมาตรวจค้นบ้าน ศ. แล้วจำเลยรื้อค้นของภายในบ้าน โดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจค้นมิได้มอบหมายให้ช่วยเหลือ การกระทำของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ศ. ออกปากไล่ จำเลยก็ไม่ยอมออกไป ถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ศ. โดยปกติสุข จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก ศาลลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 365 ไม่ต้องอ้าง มาตรา 362
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3170/2527 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เมื่อจำเลยผิดตาม มาตรา 359 แล้ว ก็ไม่จำต้องยก มาตรา 358 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3650/2527 ความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยมีความผิดตาม มาตรา 335 แล้ว ก็ไม่จำต้องยก มาตรา 334 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4473/2528 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องยก มาตรา 364 ซึ่งเป็นบททั่วไปขึ้นปรับบทลงโทษอีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2091/2530 เมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 แล้ว ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288 อีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 134/2531 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ฐานฉ้อโกงประชาชน โดยอ้าง มาตรา 341, 343 เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 341 อีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1866/2531 การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิด และใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 340 ตรี เป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83, 340 ตรี
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2084/2531 การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคแรกด้วยหาได้ไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2531 กรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้ความผิดบางกระทงจะมีโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลก็ต้องกำหนดโทษความผิดกระทงอื่นไว้ด้วย แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) การลงโทษจำคุก ตลอดชีวิตเพียงกระทงเดียว โดยไม่กำหนดโทษกระทงอื่นอีก หาชอบไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2356/2535 เมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ศาลจึงไม่ต้องระบุมาตรา 264 ในคำพิพากษาอีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4788/2538 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่ 2มีความผิดตามมาตรา 288 อีกบทหนึ่ง ให้ลงโทษตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 20 ปี โดยแก้ไขทั้งบทและโทษเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง / โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 288,83 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กับพวกทำร้ายผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าจึงลงโทษตามมาตรา 290 วรรคแรก หากศาลอุทธรณ์ภาค 3ฟังว่าจำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่า ก็ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา288,83 ตามฟ้องเพียงบทเดียว จะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 288, 83 อีกบทหนึ่ง และลงโทษตามบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดไม่ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2542 จำเลยมีความผิดตาม ป.. มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสองตอนท้าย + 289 (4)

-          เปรียบเทียบการใช้ ม 90 กับ ม 91
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2512 (สบฎ เน 2090) ปอ ม 91 เป็นเรื่องหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด "หรือลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักสุดก็ได้" จำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรอง และพยายามฆ่าผู้เสียหาย ผิดหลายกรรม



-          ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1279/2519 การที่จำเลยร่วมกันปลอมบัตรประจำตัวประชาชน และปลอมตั๋วแลกเงินในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2518 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อาญา มาตรา 265, 266, 91 แต่จำเลยร่วมกันนำบัตรประจำตัวประชาชนและตั๋วแลกเงินที่ปลอมขึ้นนั้นไปใช้ด้วย จึงต้องลงโทษแต่ละกระทงฐานใช้กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรค 2 และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 342 ต้องลงโทษฐานใช้ตั๋วแลกเงินปลอมอันเป็นบทหนัก ตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266, 90
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 100/2523 จำเลยปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เพื่อช่วยเหลือคนต่างด้าวให้มีบัตรประจำตัวเช่นเดี่ยวกับคนสัญชาติไทย การกระทำดังกล่าวนี้เป็นความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเพื่อมิให้ต้องถูกจับกุม ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 ม.63 อีกบทหนึ่ง เป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.ม.90 ลงโทษตาม ม.265
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2178/2524 การที่จำเลยปลอมเอกสาร และใช้เอกสารที่ทำปลอมขึ้น ก็เพื่อใช้ในการยักยอกเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในคราวเดียวกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน แต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.ม.90 แต่เมื่อจำเลยได้ทำปลอมเอกสารและใช้เอกสารที่ปลอมเพื่อใช้ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม 22  ครั้ง มีจำนวนถึง 22 ฉบับ การกระทำของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. ม.91
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3470/2525 จำเลยเป็นคนต่างด้าว แม้จะเคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ก็หาใช่ข้ออ้างที่จะนำมาใช้ เพื่อขอให้มีการทำบัตรใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ ซึ่งได้มาโดยไม่ถูกต้องและฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่ การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อนและครั้งหลัง แม้จะเป็นการอ้าง และนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทย อันเป็นเท็จในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้าง และนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียน คนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1447/2531 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่ตามฟ้องได้ความว่าจำเลยปลอมลายมือชื่อของ ก.ลงในแบบฟอร์ม แล้วรับเอาสมุดรายงานประจำตัว นักศึกษาและคู่มือสำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ที่ ก.มีสิทธิจะรับไปเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์จะเอาสมุดรายงานประจำตัวและคู่มือนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ของโรงพยาบาลศิริราชไปเป็นข้อสำคัญ การลงลายมือชื่อของจำเลยเป็นเพียงการใช้กลอุบายแสดงตัวว่าจำเลยเป็น ก. เพื่อเป็นหลักฐานในการเอาทรัพย์ไปเท่านั้น การกระทำของจำเลย จึงเป็นกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2358/2533 การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267, 268 นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และมาตรา 268 ซึ่งเกิดจากการกระทำผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม แต่เนื่องจากมาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไร คงให้นำอัตราโทษตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ซึ่งแล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้หรืออ้างนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราหนึ่งมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในกรณีเช่นนี้ หากจะมีการลงโทษตามมาตรา 268 ก็จะต้องนำเอาอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 265 มาใช้เป็นโทษของมาตรา 268 เพราะโจทก์ได้กล่าวอ้างมาในฟ้องด้วยว่า จำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารอันเป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยได้ปลอมขึ้น เมื่อมาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3355/2533 แม้จำเลยปลอมลายมือชื่อของ ป.ที่ด้านหลังเช็คทั้งสิบฉบับในคราวเดียวกัน แต่การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับ เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้ ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้น ไปหลอกขายลดให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับ จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4609/2533 แม้ว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำปลอมขึ้นและประทับตราปลอม คือหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาต เป็นผู้ขับรถจำนวน 3 ฉบับ จะเป็นเอกสารต่างชนิดกับหนังสือรับรองใบอนุญาต เป็นผู้ขับรถเป็นภาษาอังกฤษ รวม3 ฉบับ ซึ่งเป็นการปลอมหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของบุคคลต่างคนกันก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย และยึดเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวในคราวเดียวกัน โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำการปลอมและประทับตราปลอมเอกสารเหล่านั้น โดยมีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน  จึงลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4747/2533 จำเลยรับตั๋วเงินเช็คเดินทางไว้คราวเดียวกัน 19 ฉบับโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ภายหลังจำเลยจะแยกใช้ตั๋วเงินเช็คเดินทางดังกล่าวเป็น 2 ครั้ง ก็เป็นความผิดฐานรับของโจรเพียงกรรมเดียว เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรในคดีก่อนเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรเป็นคดีนี้ซ้ำอีก เพราะสิทธิฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) / การที่จำเลยใช้ตั๋วเงินเช็คเดินทางปลอม 13  ฉบับ รวมเป็นเงิน 12,585 บาท และใช้หนังสือเดินทางปลอมในคราวเดียวกัน เพื่อขอแลกเงินจากผู้เสียหายเป็น การกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหลอกลวงเอาเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายเพียงประการเดียว จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5356/2533 จำเลยที่ 1 กับพวกปลอมหนังสือเดินทางและเช็คเดินทางรวม 12 ฉบับ แล้วแยกนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารต่าง ๆ รวม 4ธนาคารในคราวเดียวกันในแต่ละธนาคาร โดยมีเจตนาเพียงประการเดียว เพื่อฉ้อโกงเงินจากธนาคารแต่ละธนาคาร ด้วยการขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้นให้ได้ ความผิดข้อหาปลอมหนังสือเดินทางและเช็คเดินทาง กับใช้เอกสารปลอมดังกล่าว แต่ละครั้งข้อหาปลอมหนังสือเดินทาง และเช็คเดินทาง กับใช้เอกสารปลอมดังกล่าวแต่ละครั้งในแต่ธนาคาร จึงเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษข้อหาใช้เช็คเดินทางปลอมดังกล่าวที่ธนาคารต่าง ๆ รวม 4 ธนาคาร การกระทำความผิดในส่วนนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรม 4 กรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2599/2534 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อที่ว่าสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษ เป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ และการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย / ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษไม่ใช่เอกสารสิทธิ ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมเอกสารสิทธิไม่ได้ แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะเพิ่งยกข้ออ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เห็นว่า สมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากพิเศษ มีข้อความแสดงว่าผู้ฝากได้ฝากเงินไว้ที่ธนาคาร ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่ผู้ฝากที่จะเรียกถอนเงินฝากคืน หาใช่เพียงแต่แสดงรายการการฝากเงินและชื่อผู้ฝากไม่ จึงเป็นเอกสารสิทธิ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น / ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 มีว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 ปลอมเอกสารต่าง ๆ ตามฟ้องแล้วนำไป ยื่นแสดงต่อนายวัฒนา วิเศษเธียรกุล ผู้ช่วยกงสุลสถานกงสุล สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปเพื่อประสงค์ให้เจ้าหน้าที่กงสุลดังกล่าวออกหนังสือผ่านแดน (วีซ่า) ให้จำเลยที่ 1 เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาดังที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและฎีกาขึ้นมา การปลอมเอกสารของจำเลยที่ 1 ย่อมเห็นได้ว่ามีเจตนาอย่างเดียวที่จะให้เจ้าหน้าที่กงสุลดังกล่าวออกหนังสือผ่านแดน (วีซ่า) ให้เท่านั้น ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 เพียงกรรมเดียว แม้เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นจะเป็นเอกสารต่างชนิดกันก็หาทำให้เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ และการที่จำเลยที่ 1 นำเอกสารต่าง ๆ ตามฟ้องไปยื่นแสดงต่อนายวัฒนา วิเศษเธียรกุล ซึ่งเป็นความผิด ฐานใช้เอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการปลอมอีกกรรมหนึ่ง แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปลอมเอกสารเหล่านั้นเองจึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานใช้เอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการปลอมได้เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง..." / พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 กระทงหนึ่ง และมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้มีกำหนด 1 ปี ริบเอกสารปลอมของกลางทั้งหมด.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3238/2536 จำเลยเป็นผู้จัดการ ร่วมทำการปลอมใบเสร็จรับเงินกับใบรับเงิน และใช้เอกสารปลอม เพื่อปกปิดการกระทำของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินบางส่วนของโจทก์ร่วมไป แม้การปลอมเอกสารดังกล่าว จะกระทำภายหลังที่จำเลยยักยอกเงินไปแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับที่จำเลยได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป การปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวกับการกระทำความผิดฐานยักยอก จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2248/2537 แม้วันเวลากระทำผิด ลักษณะของความผิดและผู้เสียหายจะแตกต่างกัน แต่การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาทุ่งสงของ ว. ไปแล้ว ปลอมลายมือชื่อของ ว. ลงในใบถอนเงินของธนาคารดังกล่าว และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมทั้งใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานของธนาคารและได้รับเงินจำนวน 6,400 บาทไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก  ส่วนการกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิด แต่ก็เป็นกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นเรื่องเจตนากระทำความผิดของจำเลยแตกต่างกัน ทั้งไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใด หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาวินิจฉัย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 657/2541 จำเลยปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูง ใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นเอกสารราชการ และยังได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และประทับดวงตราปลอมดังกล่าวในหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูง ใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมที่ปลอมขึ้นนั้น พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยกระทำการดังกล่าว ก็ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงาน เฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้กรณีไปทำงาน นอกเหนือพื้นที่ควบคุมทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์เท่านั้น กรณีหาได้มีการกระทำอื่นใดอีก ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4381/2541 การที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ ว. ในหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาท กับที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ ว. ในหนังสือมอบอำนาจ แล้วใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว ไปยื่นขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ ร. เป็นเหตุการณ์และระยะเวลาห่างกันประมาณ 8 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏว่ามีความมุ่งหมายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมและต่างเจตนากัน เป็นความผิดสองกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6575/2541 จำเลยปลอมใบรับฝากไปรษณีย์ โดยเพิ่มเติมจำนวนรายการ กับปลอมใบนำส่งจดหมายของบริษัท บ. ผู้เสียหาย โดยแก้ไขจำนวนจดหมายลงทะเบียน และลบแก้ไขจำนวนจดหมายธรรมดาแล้ว จากนั้นจำเลยได้ใช้เอกสารที่ตนเองทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปหลอกลวงผู้เสียหาย เป็นเหตุให้จำเลยได้เงินไป เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องกัน มีเจตนาอย่างเดียว คือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง จะได้มอบเงินให้แก่จำเลย เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม โดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเอง ต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว และเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอีกบทหนึ่ง อันเป็นการกระทำกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 22/2542 จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษา ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิด ของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยให้การ รับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวน ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา พิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย / การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดู หลักฐานเพราะมี พฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจาก แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้าย ทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษีเป็นเอกสาร ที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และ อ้างแผ่นป้าย ทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสีย ภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐาน ที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้อง ของโจทก์ก็ปรากฏ ว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์ เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็น รถยนต์ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็น กรรมเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 / สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาต ขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาต ให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ .4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อ เจ้าพนักงานตำรวจ ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกัน โดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสาร ดังกล่าว มีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้าง แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า รถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ .. 2535 จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีความสามารถ ขับรถยนต์ ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่ จำเลยแล้วและการใช้ หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ .4) ปลอมเพื่อ ให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและ ใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 / แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ มิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรอง ในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้ แผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 โดยไม่ได้ระบุ บทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรค ในความผิดอื่น ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้อง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1160/2542 มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลาง ของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้ มีการติดแผ่นป้าย ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ ซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติด เอกสารปลอมทั้งหมด ไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่น ที่พบเห็นเข้าใจว่า เอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง และเข้าใจว่า รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ใน ครอบครอง โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถ ที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลาง ไปขาย ถือได้ว่า เป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม / จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี .. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิด ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่น ป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี ประจำปีปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมี เจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้อง เพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิด กรรมเดียวกัน / การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถ และแผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสาร คนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิด ผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำ ต่างกรรมต่างวาระ แยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้าย ทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียง กระทงลงโทษตาม มาตรา 91 / การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอม ทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่น หลงเชื่อว่า รถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไป มีหมายเลขทะเบียน ตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนา เดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด เพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิด ฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกา เห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลย ไม่เกินโทษที่ ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1106/2547 จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรซึ่งรัฐบาลไทยออกใช้ กับธนบัตรซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกใช้ เป็นการกระทำที่มีเจตนาให้เกิดผลแตกต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม

-          ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสาร ที่เกี่ยวกับรถยนต์และยานพาหนะ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2239/2522 ใช้เอกสารใบทะเบียนรถยนต์ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน หลอกลวงโดยแสดงเป็นผู้มีชื่อในบัตรประชาชนขายรถยนต์แก่ผู้เสียหายเป็นการใช้เอกสารปลอมฉ้อโกง โดยหลอกว่าเป็นคนอื่นตาม ป.อ.ม.268, 341, 342 ลงโทษตาม ป.อ.ม.268 บทหนักกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2642/2541 การที่จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเอง และใช้เอกสารปลอมนี้ติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดรวม 2 กระทง แต่ ป.อ.มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำผิดตามวรรคแรก เป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นเอง ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยยังได้ปลอมแผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษีรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบกซึ่งเป็นเอกสารราชการ และได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์ของจำเลยอีกกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่แม้จำเลยจะใช้เอกสารปลอมทั้งสองในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภท และมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน โดยการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จริง ส่วนการใช้แผ่นป้ายวงกลมปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าได้มีการเสียภาษีรถยนต์ถูกต้องตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 2 กระทง ตาม ป.อ.มาตรา 91
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2965/2544 ความผิดฐานใช้รถที่มิได้เสียภาษีประจำปีก็ดี ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถก็ดี ฐานใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยก็ดีล้วนแต่เป็นการกระทำความผิดที่แยกต่างหากจากกัน และเป็นความผิดสำเร็จได้ในแต่ละฐานโดยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน



-          ความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1730/2506 จำเลยฉุดคร่าผู้เสียหายจากทางเดิน นำเข้าป่าข้างทางห่างทางเดิน 7-8 วา แล้วร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในป่านั้น เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน / มาตรา 281 ไม่ใช่บทลงโทษ ไม่จำต้องยกขึ้นปรับบทลงโทษจำเลย
-          ýþ คำพิพากษาฎีกาที่ 51/2517 จำเลยฉุดคร่าหญิงไป แล้วข่มขืนกระทำชำเรา เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 และ 310 กระทงหนึ่ง กับเป็นความผิดตามมาตรา 276 อีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1111/2519 (สบฎ เน 5053) จำเลยบีบคอ ฉุดหญิงอายุ 17 ปี จากทางเดินเข้าไปในป่า ห่าง 10 วา แล้วข่มขืนชำเรา เป็นความผิด ตาม ปอ  ม 284 กระทงหนึ่ง และ ม 276 อีกกระทงหนึ่ง (เทียบ ฎ 1610/2538 ผิด ต่อเนื่องวาระเดียวกันเป็นกรรมเดียว)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 398/2520 การกระทำครั้งเดียวคราวเดียว หากผู้กระทำมีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน ก็เป็นความผิดหลายกระทง และแม้มีเจตนาอย่างเดียวกัน แต่ประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน ก็เป็นความผิดหลายกระทง จำเลยพรากเด็กหญิงไปจากบิดามารดา เพื่อการอนาจาร เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 284 กับมาตรา 317
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 333/2521 อุ้มกอดพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร เป็นกรรมเดียวผิด ป.อ.ม.284 อันเป็นบทเฉพาะ ไม่ต้องยก ม.278 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1464/2521 พาหญิงอายุ 16 ปี ไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเป็นเจตนาอย่างเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3095/2526 การบุกรุกเข้าไปในบ้านในเวลากลางคืน แล้วฉุดคร่าผู้เยาว์พาหนีไปเพื่อการอนาจาร ในลักษณะเป็นการพรากผู้เยาว์ด้วยนั้น มิใช่การกระทำ เพราะการบุกรุกเข้าไป โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผล คือการฉุดคร่าผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ได้กระทำขึ้นในคราวเดียวกัน พร้อมกันจึงเป็นกรรมเดียวกัน ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.ม. 365, 284 กรรมหนึ่ง และเป็นการพรากผู้เยาว์ตาม ม. 318 อีกกรรมหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2010/2528 จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญ และใช้กำลังฉุดผู้เสียหายจากในซอยให้ขึ้นรถยนต์แล้วพาไปถึงโรงแรม แต่ผู้เสียหายหนีออกมาได้ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียววาระเดียว โดยมีเจตนาเพียงอย่างเดียวคือ การพาผู้เสียหารไปเพื่อการอนาจารเท่านั้น แต่โดยลักษณะของการกระทำ คือการบังคับพาเอาตัวผู้เสียหายจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งเช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดตาม ม.309 และ ม.310 อยู่ในตัว การกระทำผิดของจำเลยในส่วนนี้ จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. ม.90 คือ ม.248
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3888/2528 จำเลยร่วมกับพวกหน่วงเหนี่ยวกักขัง และบังคับขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสี่ให้ค้าประเวณี ย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.310 วรรคแรกกระทงหนึ่งและความผิดตาม ม.283 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5410/2531 การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปขายให้แก่ จ.ซึ่งเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีเพื่อให้ผู้เสียหายค้าประเวณี ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดฐานเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ฐานหนึ่งแล้ว และขณะเดียวกัน การที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาของผู้เสียหาย จำเลยก็มีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากอำนาจปกครองของมารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจารตามมาตรา 317 วรรคสามอีกฐานหนึ่งต่างหากจากความผิดตาม มาตรา 283 วรรคสาม มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน Ø ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 กับพระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณี พ.. 2503 มาตรา 8 จำเลยกระทำเพียงครั้งเดียว และเกิดผลเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
-          þ คำพิพากษาฎีกาที่ 4453/2533 จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นประจำตลอดมา เพียงแต่การข่มขืนกระทำชำเราห่างกัน 3-4 วัน ต่อครั้งเท่านั้น จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากเจตนาเดิมนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4760/2533 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสอง ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์กับฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ว่าเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพรากผู้เยาว์บทหนักนั้น ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากกรณีเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2945/2535 (สบฎ เน 28) จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะพาไปส่งที่ศาลากลางจังหวัด เมื่อผู้เสียหายเชื่อตามคำหลอกลวง จำเลยกลับพาผู้เสียหายไปอีกที่หนึ่งแล้วกระทำอนาจารผู้เสียหาย เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะพาผู้เสียหายไปกระทำอนาจารซึ่งเป็นความประสงค์มาตั้งแต่แรก จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลย จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.. มาตรา 90
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 799/2537 คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ที่โจทก์ไม่ได้ตัวมาเบิกความในชั้นศาล อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ จำเลยพาผู้เสียหาย 5 คนไปทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหาร และจำเลยบังคับให้ผู้เสียหายทั้ง 5 คน ร่วมประเวณีกับแขกที่มารับประทานอาหา เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ ถือได้ว่าจำเลยเจตนาจะให้เกิดผลต่างกรรมกัน จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคแรก รวม 5 กระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1131/2537 จำเลย พยายามข่มขืน มาตรา 277 + 80 ” และ พรากผู้เสียหาย มาตรา  317ซึ่งกระทำในคราวเดียวกัน อันเป็นความผิดต่อ ผู้เสียหาย กับ มารดาผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลต่างหากจากกัน เป็นความผิดหลายกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1610/2538 ( ฎ สต                ) จำเลย พาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร มาตรา  283 + 284แล้ว ข่มขืน มาตรา  276และ หน่วงเหนี่ยวกักขัง มาตรา 310ผู้เสียหาย การกระทำทั้งสามตอนเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน มีเจตนาเพียงต้องการข่มขืน เป็นความผิดกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 244/2538 จำเลยพาผู้เสียหายไป อ้างว่าจะไปส่งบ้าน แต่กลับพาไป ข่มขืน มาตรา  276ถือว่าความผิดฐาน พรากผู้เยาว์ ไปเพื่ออนาจาร มาตรา 318สำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไป การข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นความผิดต่างกรรม โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318,  276, 91 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก, 318 วรรคสาม ให้เรียงกระทงลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำผิดจำเลยเป็นนักเรียน อายุ 18 ปี เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ลงโทษข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา จำคุก 2 ปี ข้อหาพรากผู้เยาว์ จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2277/2539 เมื่อจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร สำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราหลังจากนั้น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งซึ่งต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 822/2540 (สบฎ สต 69) ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียว และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาไม่อาจเพิ่มโทษให้ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5278/2540 การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก นั้น คือผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น จึงไม่ต้องคำนึงถึงว่าการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีนั้น เด็กหญิงจะยินยอมหรือไม่ยินยอม การกระทำความผิดของจำเลย คือเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นประจำตลอดมา โดยข่มขืนกระทำชำเราทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน รวม 5 ครั้ง จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากเจตนาเดิมนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว หาใช่ต่างกรรกัน ตามการกระทำที่ผู้เสียหายยินยอมและไม่ยินยอม ดังฎีกาของโจทก์ไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6441/2540 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อวันเดือนใดไม่ปรากฏชัด .. 2536 กับเมื่อวันที่ 15 และ 16 มีนาคม 2537 เวลากลางวัน จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงทิพย์วรรณ แสนสุข ผู้เสียหาย อายุ 11 ปีเศษ ยังไม่เกิน 13 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ รวม 5 ครั้ง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 91” จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายในปี 2536 รวม 3 ครั้ง และในปี 2537 รวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไป ผู้เสียหายคงอยู่ที่บ้านและไปโรงเรียนตามปกติ แสดงให้เห็นว่าหลังเกิดเหตุแต่ละครั้ง ผู้เสียหายได้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว แม้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ครั้งที่สาม ห่างจากครั้งที่สองเพียง 1 วัน และครั้งที่ห้าห่างจากครั้งที่สี่เพียง 1 วัน การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกัน และมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 5 ครั้ง เป็นความผิดรวม 5 กระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3767/2541 จำเลยขับรถแท็กซี่พาผู้เสียหาย ไปถึงปากทางเข้าหมู่บ้านการเคหะบางพลี ผู้เสียหายบอกจำเลยให้ขับรถไปส่งในหมู่บ้าน  แต่จำเลยกลับขับรถเลยไปโดยพูดกับผู้เสียหายว่า ขอควงผู้เสียหายไปเที่ยวบางแสน  เมื่อจำเลยขับรถไปถึงบริเวณหน้าวัดหอมศีล  จำเลยเลี้ยวรถกลับมุ่งไปทางกรุงเทพมหานคร  และไปจอดอยู่ริมทางหน้าวัดหอมศีล ซึ่งอยู่เลยทางเข้าหมู่บ้านการเคหะบางพลีประมาณ 10 กิโลเมตร ระหว่างนั้นจำเลยได้ดึงตัวผู้เสียหายไปจูบแก้มรวม 3 ครั้ง และพูดขอให้ผู้เสียหายยอมเป็นภริยา การกระทำของจำเลยที่ไม่ยอมเลี้ยวรถเข้าไปส่งผู้เสียหายที่หมู่บ้านการเคหะบางพลี และขับรถเลยไปเพื่อจะกระทำอนาจารผู้เสียหาย เป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้ดูแล  โดยผู้เสียหายไม่เต็มใจไปด้วย  จึงเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสามแล้ว หลังจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปไกลอีกถึง 10 กิโลเมตร จำเลยจึงได้กระทำอนาจารผู้เสียหายซึ่งเป็นการกระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 278 อีก การกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิดตามมาตรา 318 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี จำคุก 1 ปี ฐานพรากผู้เยาว์กว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากผู้ปกครองผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร จำคุก 3 ปี รวมจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า  ให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี จำคุก 6 เดือน รวมกับโทษจำคุก 3 ปี ฐานพรากผู้เยาว์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว  เป็นจำคุก 3 ปี 6 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น  จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะเรื่องโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6792/2542  จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง และการกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้งแล้ว จำเลยมิได้ควบคุม หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้ เพื่อกระทำอนาจาร หรือกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปอีก ผู้เสียหายกลับไปที่บ้านและมาโรงเรียนตามปกติ ผู้เสียหาย จึงพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งไปแล้ว แม้ว่าในแต่ละครั้ง จำเลยจะกระทำไปโดยมีเจตนากระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย หรือกระทำชำเราผู้เสียหายเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้ง จึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยมีเจตนาต่างกัน และมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใด หากแต่การกระทำในแต่ละครั้ง เป็นการกระทำที่จำเลยเกิดมีเจตนาขึ้นใหม่ในทุกครั้งที่ลงมือกระทำ มิใช่เจตนาเดิม การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 635/2543 บิดามารดาผู้เสียหายนำผู้เสียหายไปฝากให้ อ. ป้าของผู้เสียหายช่วยดูแลแทน เนื่องจากต้องไปรับจ้างทำงานที่กรุงเทพมหานคร วันเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปรับผู้เสียหายจากบ้าน ส. เพื่อไปส่งที่บ้าน อ.แต่จำเลยกลับพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ป่าข้างทาง โดยที่ผู้เสียหายมิได้รักใคร่ และยินยอมร่วมประเวณีด้วย จึงเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจาร โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมีภริยาและบุตรหรือไม่ จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราผู้เสียหาย เมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปรับผู้เสียหายจากบ้าน ส. ไปเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำความผิดสำเร็จ ในข้อหาพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจารสำเร็จไปตอนหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปถึงที่เกิดเหตุ แล้วลงมือกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำกรรมใหม่ อันเป็นความผิดขึ้นอีก แยกต่างหากจากการพรากเด็ก จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 415/2550 อาญา หลายกรรมต่างกัน ข่มขืนกระทำชำเรา พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร หน่วงเหนี่ยวกักขัง มาตรา 91, 276 วรรคแรก, 284 วรรคแรก, 310 วรรคแรก การกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกันแม้จะมีเจตนาอย่างเดียวกันแต่หากประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ก่อนข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการแสดงเจตนาส่วนหนึ่งของจำเลย โดยมีเหตุจูงใจที่จะนำตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรกและมาตรา 310 วรรคแรก กระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91



-          ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 91/2510 ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจ ดังนี้จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1429/2515 จำเลยเอายาฆ่าแมลงให้บุตร 2 คนกิน ด้วยเจตนาแต่ประการเดียวว่าต้องการให้ลูก ๆ และตนเองตายไปเสียพร้อม ๆ กันให้พ้นความทุกข์ยาก  หาได้มีเจตนาที่อยากจะได้เห็นลูก ๆ ต้องตายแยกเป็นคน ๆ ไปไม่ บุตรคนหนึ่งตาย อีกคนหนึ่งแพทย์รักษาทันการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1807/2515 จำเลยร่วมกันใช้ปืนยิงเป็น 2 ชุด ชุดแรกยิง 3 นัดติดๆ กัน กระสุนปืนถูกผู้ตายซึ่งยืนตรงบันไดร้าน ตกลงไปข้างล่างถึงแก่ความตาย ต่อมา 1 อึดใจ จำเลยร่วมกันยิงอีกชุดหนึ่ง 10 กว่านัด โดยหมายยิงพวกผู้เสียหายที่พื้นดิน กระสุนปืนถูกพวกผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังนี้มิใช่กรรมเดียว แต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันในวาระที่กระทำ คือยิงผู้ตายบนร้าน กับยิงผู้เสียหายที่พื้นดิน เป็นคนละคราว  ต้องลงโทษจำเลยในกระทงความผิดหลายกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 840/2518 จำเลยยิง ม.2 นัด นัดหนึ่งถูก ม.ไม่ตาย อีกนัดหนึ่งพลาดไปถูก พ. ตาย เป็นความผิดตาม มาตรา 288, 60 กับ มาตรา 288, 80 อีกบทหนึ่งลงโทษตาม ม.288, 60 ซึ่งเป็นบทหนัก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 172/2526 จำเลยใช้มีดแทงภรรยาขณะกำลังอุ้มบุตร แม้มีดจะถูกบุตรด้วย ก็เป็นการแทงเพื่อเจตนาฆ่าภรรยาเท่านั้น จึงเป็นความผิดกรรมเดียว (กรณีเช่นนี้ แยกเจตนาได้ เจตนาฆ่าภรรยา เป็นเจตนาประสงค์ต่อผล ส่วนที่มีดถูกบุตรนั้น เป็นเจตนาย่อมเล็งเห็นผลได้)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1559/2526 ขณะที่ ส. กับน้องชายจำเลยกำลังทะเลาะวิวาท และต่างคนต่างเตะถีบกันอยู่นั้น จำเลยได้ใช้ปืนยิง ส. ล้มลง จากนั้นจำเลยวิ่งไปหา พ. ซึ่งยืนดูอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 วาเศษ ใช้ปืนตบตรีศีรษะ พ. และยิงที่บริเวณศีรษะอีก 1 นัด พ. ล้มลง   จำเลยวิ่งกลับไปยิง ส. อีก 2 - 3 นัดโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นมารดา พ. และเป็นแม่ยายของ ส. เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้วิ่งหนีไปจากที่เกิดเหตุ จำเลยวิ่งตามและยิงโจทก์ร่วม 1 นัด แต่กระสุนปืนไม่ถูก เมื่อโจทก์ร่วมล้มลง จำเลยวิ่งไล่ไปทันใช้ปืนตีศีรษะโจทก์ร่วม ส่วน ส. และ พ. ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เพราะบาดแผลที่จำเลยยิง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำ ต่างกรรมต่างวาระกัน กรณีต้องด้วย ป.อ. มาตรา 91
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3363/2526 จำเลยแทงผู้เสียหายหลายครั้งติด ๆ กัน ครั้งแรก แทงถูกที่ด้านหลังบริเวณหัวไหล่ผู้เสียหายล้มลง พอลุกขึ้น จำเลยก็แทงที่ใต้รักแร้ซ้ายซึ่งเป็นบริเวณใกล้หัวใจ เมื่อมีดหักจำเลยยังใช้ส่วนที่เหลือแทงบริเวณหลังอีก 3 ครั้งมีดมีความยาวทั้งด้ามและตัวมีดถึง 9 นิ้วเป็นมีดปอกผลไม้มีปลายแหลมสามารถใช้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายถึงตายได้ ดังนี้ จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย จำเลยใช้มีดจี้ขู่บังคับจับแขนผู้เสียหายลากลงบันได เมื่อผู้เสียหายขัดขืนและร้องให้คนช่วย จำเลยจึงใช้มีดแทง โดยมีเจตนาขึ้นใหม่ เพื่อจะฆ่าผู้เสียหายอันเป็นการปกปิดการกระทำของจำเลย หรือให้การกระทำของจำเลยบรรลุผล ตามที่จำเลยมีเจตนามาแต่แรก ว่าจะเอาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร การกระทำความผิดของจำเลยมีเจตนาคนละตอน จึงเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1623/2527 จำเลยใช้ขวดตีผู้เสียหายขณะนอนหลับ จนได้รับอันตรายแก่กาย ผู้เสียหายพยายามลุกขึ้นนั่ง จำเลยเตะจนล้มลง เมื่อผู้เสียหายพยายามจะลุกขึ้นนั่งอีก จำเลยก็พูดว่า จะสู้หรือ แล้วใช้ปืนยิงผู้เสียหายดังนี้ จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย / จำเลยเพิ่งมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายหลังจากทำร้ายผู้เสียหาย จนได้รับอันตรายแก่กายแล้ว เพราะเข้าใจว่าผู้เสียหายจะลุกขึ้นมาต่อสู้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1863/2527 จำเลยและ ป.โกรธแค้น ม.ที่ฆ่าเพื่อนของจำเลยตาย จึงถือปืนไปถามหา ม.ต่อ ส.และ ย. โดยมิได้มีเจตนาจะฆ่า ส.และ ย.มาก่อนเลย ครั้นไม่พบ จำเลยก็ยิงและไล่ตามยิง ส. ส่วน ป. ยิงและไล่ตามยิง ย. ต่อมาอีกเล็กน้อย เมื่อ ป.ยิง ย.ขณะที่จำเลยอยู่ด้วย จำเลยก็มิได้ยิง ย. ดังนี้ ส่อเจตนาของจำเลยและ ป.ว่าต่างคนต่างยิง ส. และ ย.เป็นเจตนาที่ต่างเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ จำเลยมิได้มีเจตนาร่วมกัน ป.ฆ่า ย.จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า ย. อีกกรรมหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2028/2530 ขณะที่จำเลยใช้ไขควงแทง ป. ผู้เสียหาย  ส. ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเข้าช่วยเหลือขัดขวาง จำเลยได้ใช้ไขควงนั้นแทง ส. อีก เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองคนละครั้งกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2531 ผู้ตายหยอดเหรียญที่ตู้เพลงในร้านอาหาร แต่เพลงไม่ดัง เพราะจำเลยทั้งสองกับ ว. และ อ. พวกของจำเลยถอดปลั๊กตู้เพลงออก ผู้ตายจึงขอเงินคืน แล้วเกิดเรื่องกันโดย ว. ใช้มีดแทงผู้ตายหลายครั้งจำเลยที่ 1 กับ อ.ใช้ขวดสุราตี ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้เก้าอี้ตีผู้ตาย ผู้เสียหายเข้าไปห้าม ก็ถูกทำร้ายสลบอยู่ในร้านอาหาร เมื่อผู้ตายหนีออกจากร้านอาหารจำเลยทั้งสอง และ  อ.ไล่ ตามและตะโกนว่าฆ่ามันให้ตาย และยังได้ตามมาทำร้ายผู้ตายห่างจากที่เกิดเหตุครั้งแรกประมาณ 3 เส้น จนผู้ตายถึงแก่ความตาย แล้วจำเลยทั้งสองยังกลับมาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งนอนสลบอยู่อีก  ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานร่วมกับผู้อื่นฆ่าผู้ตาย  และทำร้ายร่างกายผู้เสียหายรวม 2 กรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1867/2531 การที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายพวกผู้เสียหาย โจทก์มีเจตนาทำร้ายพวกผู้เสียหายทุกคน ไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นใคร ลักษณะของเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียว แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อหลายบุคคล ก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 880/2537 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสอง 2 ชุด ชุดแรกยิง 3 นัดติด ๆ กันกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 1 นัด ผู้เสียหายที่ 1 ล้มลง ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปประคองผู้เสียหายที่ 1 จำเลยยิงผู้เสียหายที่ 2 ในชุดหลังอีก 3 นัด กระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 2 เพียง 1 นัด แสดงว่าการยิงปืนแต่ละชุดความประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลย ได้แยกออกจากกันว่าการยิงชุดใด จำเลยยิงผู้เสียหายคนใด เจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง ในขณะลงมือกระทำความผิด จึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3931/2539 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายรวม 4 นัดนัดแรกยิงผู้เสียหายที่ 1 เพราะผู้เสียหายที่ 1 ต่อว่าจำเลยที่นำเอาอาวุธปืนออกมาขู่ ครั้นผู้เสียหายที่ 2 ส่งเสียงร้องหวีด เพราะตกใจที่เห็นจำเลยยิงผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ยิงผู้เสียหายที่  2 เป็นนัดที่  2 เมื่อผู้ตายยกมือไหว้ และขอร้องจำเลยอย่ายิง จำเลยก็ยิงผู้ตายเป็นนัดที่ 3 ก่อนไปจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 ที่ถูกยิงยังไม่ตาย จึงได้ยิงซ้ำอีก 1 นัด แสดงว่าการยิงปืนแต่ละนัดตามประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าการยิงนัดใดจำเลยยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายคนใด เจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายในขณะลงมือกระทำผิด จึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่กรรมเดียว แต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1185/2543 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม มาตรา 288, 371, 376 พระราบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 วรรคสาม,72 ทวิ วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8143/2543 ขณะที่จำเลยเข้าฟันผู้เสียหายทั้งสองนั้น ก็มีพวกของผู้เสียหายยืนอยู่ต่างหาก โดยไม่ได้นั่งรวมอยู่บนจักรยานยนต์กับผู้เสียหายทั้งสอง เสร็จจากฟันผู้เสียหายทั้งสองแล้ว จำเลยก็วิ่งหนีไป โดยไม่ได้เข้าทำร้ายพวกของผู้เสียหายทั้งสอง ทั้งที่ไม่ปรากฏผู้เข้าขัดขวาง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่ามุ่งประสงค์จะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ผู้เสียหายทั้งสองนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์คนละคัน จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 ก่อน แล้วจึงตรงเข้าฟันผู้เสียหายที่ 2 แสดงว่าในการฟันของจำเลยแต่ละครั้งความประสงค์ และจุดมุ่งหมายในการฟันของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าฟันครั้งใด จำเลยประสงค์จะฟันผู้เสียหายคนใด “มิใช่ฟันในขณะที่มีการชุลมุนกัน” เจตนาในการทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง ขณะจำเลยลงมือกระทำความผิด จึงแยกออกจากกันได้ ความต้องการให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับบาดเจ็บแม้จะเกิดขึ้นในใจของจำเลยพร้อม ๆ กัน และต่อเนื่องกับการลงมือกระทำความผิด ก็มิใช่เจตนาในขณะที่จำเลยลงมือกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8152/2544 การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม้ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน การที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะจำเลยไม่สามารถใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 แล้วเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกคนหนึ่งในภายหลังเช่นนี้แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2879/2546 จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในขณะเดียวกันโดยไม่ได้แบ่งแยกว่าใครเป็นใคร ลักษณะของเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียวกัน แม้จะมีการกระทำต่อผู้เสียหายสองคนด้วยกัน ก็อยู่ภายในเจตนาอันเดียวกันนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวก จึงเป็นความผิดกรรมเดียว หาใช่สองกรรมไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 817/2548 จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะไปกับจำเลยกับพวก อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เมื่อถึงที่เปลี่ยวจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย แสดงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขับผู้ตายเพื่อความสะดวกแก่การชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายในขณะที่การชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยใช้อาวุธปืน และฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด เพื่อจะเอาและเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยกับพวกได้กระทำความผิด เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ได้กระทำนั้นเอง จึงมิใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายอีกกรรมหนึ่งต่างหาก

๑.ใช้ปืนยิงคนหลายคนโดยมีเจตนาแยกกระทำเป็นรายคน เป็นการกระทำหลายกรรม
-ฎ.๕๙๒๙/๒๕๓๔ จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ล. ๒ นัด และยิง น. ๑ นัด เป็นเหตุให้ ล. กับ น.ตาย โดยจำเลยยิงในเวลาต่อเนื่องกัน แสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัด ความประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่ากระสุนนัดใด จำเลยยิงผู้ตายคนใด เจตนาฆาผูตายทั้งสองในขณะกระทำความผิดจึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม
-ฎ.๑๖๓๑/๒๕๒๒ จำเลยยิง พ. ๒ นัด แล้วเจตนายิง ส.และ ก.ซึ่งเดินตาม พ.มาด้วยอีก กระสุนปืนถูก พ.ตาย ส.ถูกยิง ๒ นัด เป็นอันตรายสาหัส กระสุน ๑ นัด เฉียด ก.ไป ดังนี้ จำเลยผิดฐานฆ่าคนกรรมหนึ่ง ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นอีก ๒ กรรม
-ฎ.๒๐๒๘/๒๕๓๐ จำเลยใช้ไขควงแทงผู้เสียหาย เมื่อป.ผู้เสียหายขัดขวาง จำเลยก็แทง ป.เป็นการกระทำคนละครั้ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-ฎ.๑๑๗๙/๒๕๒๗ จำเลยใช้มีดเหน็บวิ่งไล่ฟัน พ. แต่ พ.วิ่งหนีทัน เมือ ด.เข้าดขวาง จำเลยฟัน ด. ดังนี้การกระทำของจำเลยแยกเป็น ๒ กรรม คือพยายามทำร้ายร่างกาย พ.กรรมหนึ่ง และทำร้ายร่างกาย ด.อีกกรรมหนึ่ง
-ฎ.๙๔๖/๒๕๓๒ จำเลยใช้มีดปังตอฟันโจทก์ร่วมที่ ๑ ถูกที่หน้าผากขวาบาดเจ็บสาหัส จำเลยจะฟันซำ โจทก์ร่วมที่ ๒ ยกมือขึ้นรับจึงถูกฟันที่นิ้วมือ เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ ๒ ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ ผิด ๒๙๕ และ ๒๙๗ ประกอบ ๗๒ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

๒.เจตนาฆาหรือทำร้ายผู้อืนหลายคนในคราวเดียวกันโดยไม่ได้แยกว่าใครเป็นใคร เป็นกรรมเดียว
-ฎ.๑๖๖๘/๒๕๒๑ จำเลยมีเจตนาจะฆ่านาง พ. นาง ย.เพราะโกรธเคืองกัน จำเลยยิงนาง พ.กับนาง ย.ขณะนั่งซ้อนท้าย จยย.คันเดียวกันมา แม้จะฟังว่าจำเลยยิงนาง พ.กับนาง ย.๒-๓ นัดก็ตาม ก็เป็นการยิงเพื่อเจตนาฆ่านาง พ. นาง ย.ให้ตายในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
-ฎ.๖๙๑/๒๕๔๑ จำเลยวางแผนฆ่าตัวเองและบุตรทั้งสามโดยนำยาฆ่าแมลงผสมข้าวให้ผู้ตายทั้งสามกิน เมื่อผู้ตายทั้งสามไม่กิน จำเลยใช้เหล็กชะแลงตีผู้ตายทั้งสามและเผาตัวเองเพื่อให้ถึงแก่ความตายพร้อมกันนั้นเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว และจำเลยมีเจตนาเดียวคือต้องการให้ผู้ตายทั้งสามและจำเลยถึงแก่ความตายพร้อมกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
-ฎ.๒๘๗๙/๒๕๔๖ จำเลที่ ๒ กับพวกมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองโดยไมได้แบ่งแยกว่าใครเป็นใคร ลักษณะของเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียวกัน แม้จะมีการกระทำต่อผู้เสียหายสองคนด้วยกันก็อยูในเจตนาอันเดียวกันนั้น การที่จำเลยที่ ๒กับพวก ร่วมกันทำร้าย ส.เป็นเหตุให้สาหัส และทำร้าย ป.รับอันตรายแก่กายในขณะเดียวกัน เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
-ฎ.๓๗๔๖/๒๕๔๖ โจทก์ฟ้องว่าเมื่อ ๒๐ ธ.ค.๔๓ กลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือจำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายที่ ๑ ที่ศีรษะและลำตัวเป็นเหตุให้รับอันตรายแก่กายและใช้ไม้ดังกล่าวตีผู้เสียหายที่ ๒ บริเวณใบหน้าเป็นเหตุให้สาหัส แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องให้เข้าใจว่าจำเลยทำผิดหลายกรรมและจำเลยรับสารภาพ แต่ฟ้องโจทก์ระบุวันเวลากระทำผิดทั้งสองฐาน เป็นวันเวลาเดียวกันและกระทำติดต่อขณะเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
-ฎ.๓๓๙๘/๒๕๒๙ ทำร้ายแล้วไม่ตาย ย้อนกลับไปทำร้ายอีกในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันจนตายเป็นกรรมเดียว
-ฎ.๑๒๘๑/๒๕๔๖ ลักทรัพย์ผู้เสียหายทีละคน แม้เป็นเวลาต่อเนื่องใกล้ชิดกัน เป็นความผิดหลายกรรม
-ฎ.๖๖๗๔/๒๕๓๑ รับของโจรทรัพย์หลายสิ่งซึ่งเป็นของเจ้าของหลายคนในคราวเดียวกัน เป็นกรรมเดียว
-ฎ.๒๖๘๔/๒๕๓๑ ปลอมเอกสารเพื่อนำเอาเป็นหลักฐานฉ้อโกงทรัพย์ผู้อื่นดังนี้เป็นกรรมเดียวกัน
-ฎ.๕๖๘๔/๒๕๔๖ ลักบัตรเอทีเอ็มไปเบิกถอนเงินในวันเวลาและสถานที่ต่างๆกันหลายจังหวัด เพราะมีข้อจำกัดไม่สามารถถอนเงินคร้งเดียวได้หมด แต่ก็เกิดจากเจตนาเดียวกันที่จะถอนเงินห้ได้มากที่สุดในครั้งนั้น จึงถอนเงินต่อเนื่องกันไป เป็นกรรมเดียว
-ฎ.๒๒๖๘/๒๕๓๐ ออกเช็หลายฉบับในคราวเดียวเป็นหลายกรรม
-ฎ.๔๓๐๒/๒๕๔๕ พาไปเพื่ออนาจาร ตาม ม.๒๘๔ กับข่มขืน ตาม ม.๒๗๖ เป็น ๒ กรรม
-ฎ.๒๕๕๒/๒๕๓๓ พาไปเพื่ออนาจาร ตา ม.๒๘๔ กับพรากตาม ม.๓๑๗ แม้ทำคราวเดียวกัน ก็เป็นหลายกรรม
-ฎ.๗๔/๒๕๔๑ ฐานเสพวัตถุออกฤทธิ์กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุออกฤทธิ์ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
-ฎ.๒๕๑๑/๒๕๔๕ มีเฮโรอีนกับยาบ้าในครอบครองในวาระเดียวกัน เป็นกรรมเดียวผิดหลายบท เพราะเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ เหมือนกัน



-          ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 570/2499 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและเพิ่มโทษตาม ก..อาญา ม.73 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจะต้องเพิ่มโทษจำเลยตาม ม.72 ศาลก็เพิ่มโทษจำเลยตาม ม.72 ได้ไม่เป็นการเกินคำขอ / จำเลยทำการชิงทรัพย์และได้ทำให้ทรัพย์ของเจ้าของทรัพย์เสียหายด้วย เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเกิดขึ้นในสถานที่เดียวกันในเวลาติดต่อเนื่องกันด้วยเจตนามุ่งหวังในทรัพย์ไม่ขาดตอนกันเช่นนี้การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นความผิดหลายบท ไม่ใช่หลายกะทง.
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1356-1521/2501 ยักยอกเงินค่าขายสุราหลายรายต่อเนื่องกันมา ไม่ใช่กรรมเดียว แต่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน / ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตาม ม. 352 จำคุกเรียงกระทงสำนวนละ 15 วัน รวม 166 สำนวนกว่า 6 เดือนก็ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1307/2520 บุกรุกเข้าไปในเคหสถาน ใช้มีดที่ติดตัวไปแทงและฟันประตูหน้าต่างและบ้านเสียหาย จำเลยรับสารภาพตามฟ้องที่บรรยายว่าหลายกรรมต่างกัน เป็นความผิดที่แยกจากกันได้ ผิด ม.358 และ 365 เรียงกระทงลงโทษ โดยไม่ต้องอ้าง ม.364 อีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3662/2528 จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันปิดถนนปล้นรถยนต์ที่ผ่านมา ตามพฤติการณ์นั้นเมื่อปล้นผู้โดยสารบนรถยนต์คันใดเสร็จแล้ว จึงได้ปล้นผู้โดยสารบนรถคันต่อ ๆ ไปที่ผ่านมาใหม่จนครบ 4 คัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1398/2530 จำเลยหลอกลวงและได้ไปซึ่งทรัพย์ตามที่หลอกลวงจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดสำเร็จฐานฉ้อโกงตาม มาตรา 341 แล้วในวันต่อมาจึงได้ออกเช็คมอบให้ผู้เสียหาย เพื่อเป็นการชำระหนี้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คซึ่ง ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างหากจากการกระทำอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงในตอนต้น เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 อีกกรรมหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 614/2535 (สบฎ เน 30) จำเลยที่ 2 ลักแบบพิมพ์เช็ค แล้วปลอมเช็ค (ร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อ) และใช้เช็คปลอม (นำไปเบิกเงิน) เป็นความผิดต่างกรรมกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2535 (สบฎ เน 32) จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ลักเอกบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม ของธนาคาร ก. นายจ้างแล้วนำไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติของธนาคาร ก. กดเบิกเงินไปจำนวน 5,000 บาท แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติแต่ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคาร ก. นายจ้างเป็นคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2248/2537 แม้วันเวลากระทำผิด ลักษณะของความผิดและผู้เสียหายจะแตกต่างกัน แต่การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาทุ่งสงของ ว. ไปแล้ว ปลอมลายมือชื่อของ ว. ลงในใบถอนเงินของธนาคารดังกล่าว และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมทั้งใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานของธนาคารและได้รับเงินจำนวน 6,400 บาทไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก ส่วนการกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิด แต่ก็เป็นกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นเรื่องเจตนากระทำความผิดของจำเลยแตกต่างกัน ทั้งไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใด หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาวินิจฉัย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 9/2543 การที่จำเลยเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภท และเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม / การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้น เป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188 / บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไป ก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหาย แล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1312/2544 จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมได้รับเช็คของลูกค้าเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม แต่กลับนำเช็คนั้นไปเบิกเงินแล้วเก็บไว้เอง จึงมีความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเช็คอันเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมและทำให้ไร้ประโยชน์ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมผู้อื่นหรือประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และฐานยักยอกเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 310/2546 การที่จำเลยที่ 1 ลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคาร ก.ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าไม่สามารถเบิกถอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายในครั้งเดียวได้หมด เพราะมีข้อจำกัดของธนาคารเกี่ยวกับจำนวนเงินในการเบิกถอน เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 นำบัตรดังกล่าวไปเบิกถอนเงินในวันเวลาและสถานที่ต่างๆ กันหลายจังหวัด ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ต้องการใช้บัตรนั้นเบิกถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหายเป็นคราว ๆ ไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดลักทรัพย์หลายกรรมต่างกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม เบิกถอนเงิน 60 ครั้ง เป็นความผิด 60 กระทง เมื่อรวมกับความผิดฐานลักบัตรดังกล่าวอีก 1 กระทง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดรวม 61 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุก 20 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) (þ ต่อมาปีเดียวกัน มี ฎ.5684/2546 วินิจฉัยข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันว่าการถอนเงินของจำเลยเกิดจากเจตนาอันเดียวกันที่จะถอนเงินให้ได้มากที่สุดในครั้งนั้น จึงถอนเงินต่อเนื่องกันไป เป็นความผิดกรรมเดียว ý หมายเหตุ ฎ.5684/2546 หาไม่มีในเวป) / ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำผิดหลายกรรมรวม 62 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก กระทงละ 2 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุก 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 105,530 บาท และคืนรถยนต์กับ รถจักรยานยนต์ของกลางรวมราคา 558,800 บาท แก่ผู้เสียหาย หากไม่สามารถคืน รถยนต์และรถจักรยานยนต์ของกลางได้ให้ใช้ราคาแทน  ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิด 2 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี ให้ จำเลยที่ 1 คืนเงิน 664,330 บาท แก่ผู้เสียหาย ให้ยกคำขอในส่วนที่ให้คืนรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิด หลายกรรมรวม 61 กระทง จำคุกกระทงละ 4 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 2 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุก 20 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1
-          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546 จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คัน ด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลากัน แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิด ในรถยนต์แต่ละคัน ก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคันมิใช่กรรมเดียว

-          ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ฉ้อโกง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4263/2528 จำเลยกับพวกได้ร่วมกันตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ได้จดทะเบียนแล้วนำชื่อห้างไปใช้หลอกลวงเพื่อซื้อสินค้า โดยมีเจตนาไม่ชำระราคามาแต่แรก โดยครั้งแรกชำระด้วยเงินสดหรือออกเช็คชำระค่าสินค้าเรียกเก็บเงินได้ตลอด แต่ครั้งหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายได้ติดต่อกับจำเลยกับพวกออกเช็คให้ใหม่ แต่ธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงินอีก แม้จะเป็นการกระทำหลายครั้ง แต่ก็โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อจะฉ้อโกงผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดกรรมเดียว เมื่อการกระทำของจำเลยกับพวก ต่อผู้เสียหายแต่ละคน เป็นความผิดแต่ละกรรมการกระทำต่อผู้เสียหาร 5 คน จึงเป็นความผิด 5 กระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3554/2529 จำเลยชักชวน จ.และ ส.ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียโดยอ้างว่าจะได้เงินเดือนสูง แต่ต้องจ่ายค่าบริการให้จำเลยเมื่อไปถึงมาเลเซียแล้ว กลับไม่มีงานทำตามที่กล่าวอ้าง ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง เมื่อจำเลยพูดชักชวนหลอกลวง จ.และ ส.คนละคราว แม้ จ.หลงเชื่อ จ่ายค่าบริการส่วนของตนและของ ส.ซึ่งเป็นบุตรให้จำเลยไปคราวเดียวกัน เป็นความผิดหลายกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2457/2530 จำเลยขอกุญแจเปิดลิ้นชักโต๊ะจากผู้เสียหาย แล้วหยิบอาวุธปืนออกมาจากลิ้นชักโต๊ะขู่ผู้เสียหายให้มอบเงินให้ ดังนี้ การที่จำเลยลักอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนนั้นขู่บังคับเอาทรัพย์ผู้เสียหายนั้น  จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อทรัพย์ทั้งหมดมาแต่ต้น จึงเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1570/2532 คดีฉ้อโกงประชาชนข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค. พวกของจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคนละวันเวลากัน แต่สถานที่เกิดเหตุเป็นที่เดียวกันหรือบริเวณเดียวกันดังนั้น ถือว่าจำเลยกับพวกได้หลอกลวงพวกผู้เสียหายในเวลาเดียวกัน แม้พวกผู้เสียหายหลงเชื่อ มาชำระให้ ค. หรือจำเลยในภายหลังในวันเวลาที่ไม่ตรงกัน ก็ไม่เป็นการกระทำผิดหลายกรรม เพราะการรับเงินเป็นผลที่เกิดจากการกระทำ หาใช่การกระทำขึ้นใหม่ไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3289/2533 จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้เสียหายทั้ง 47 คนต่างวันต่างเวลากัน และรับเงินจากผู้เสียหายทั้ง 47 คนแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จ ทันทีที่รับเงินจากผู้เสียหายแต่ละคน ซึ่งจำเลยกระทำทั้งหมด 47 ครั้ง ต่างวันต่างเวลากันจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหลายกรรมต่างกัน รวม 47 กรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3986/2535 จำเลยกับพวกใช้หลักฐานปลอมหลอกลวงโจทก์ร่วม โดยอ้างว่า ว. ขอเอาประกันชีวิตต่อบริษัทโจทก์ร่วม ซึ่งความจริง ว. ตัวจริงได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอันเป็นเอกสารสิทธิให้ การกระทำของจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงเสร็จเด็ดขาดกรรมหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยกับพวกได้สร้างสถานการณ์ว่าผู้เอาประกันได้รับอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วม แม้การกระทำครั้งหลังนี้จำเลยได้นำเอาผลของการกระทำครั้งก่อน มาเป็นส่วนประกอบ แต่การกระทำของจำเลย มีเจตนาจะทำให้ผลของการหลอกลวงทั้งสองครั้ง เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมแต่ละส่วนกัน การกระทำของจำเลยครั้งหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงต่างกรรมกับการกระทำครั้งแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 870/2549 การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 จะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นทุกครั้ง เป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยที่ 1 แสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหาย แม้เพียงบางคน แต่เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อ และนำเงินมาให้จำเลยที่ 1 กู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้น เป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ดังนั้นการที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยที่ 1 รับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย

-          ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และเสรีภาพ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1205/2520 ปล้นทรัพย์แล้วเอาตัวคนไปเรียกค่าไถ่ในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ได้เงินแล้วปล่อยตัวคนมา โดยถูกทำร้ายเพียงฟกช้ำขัดยอก เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์กับเรียกค่าไถ่ตาม ม.313 คนละกระทงกัน ลงโทษน้อยลงไม่เกินกึ่งหนึ่งตาม ม.316
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2434/2527 จำเลยกับพวกเอาตัวผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในห้องพักโรงแรม ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหาย จนกระทั่งผู้เสียหายยอมให้เงิน ผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่ง

-          ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และอาวุธ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2457/2530 แม้จำเลยจะขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธ เป็นให้การรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังได้แถลงรับข้อเท็จจริงบางประการ จนโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไปดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสารภาพ เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน แต่ถือได้ว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลชอบที่จะลดโทษให้แก่จำเลยได้ / จำเลยขอกุญแจเปิดลิ้นชักโต๊ะจากผู้เสียหาย แล้วหยิบอาวุธปืนออกมาจากลิ้นชักโต๊ะขู่ผู้เสียหายให้มอบเงินให้ ดังนี้ การที่จำเลยลักอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนนั้นขู่บังคับเอาทรัพย์ผู้เสียหายนั้น  จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อทรัพย์ทั้งหมดมาแต่ต้น จึงเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว (โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 339, 340 ตรี, 91, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน .. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้วเห็น ว่า การกระทำของจำเลยที่ลักเอาอาวุธปืนของผู้เสียหายในลิ้นชักและใช้อาวุธปืนนั้นขู่บังคับผู้เสียหายให้ส่งทรัพย์อื่นให้อีก จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาอันแท้จริงต่อผลเพียงอย่างเดียว คือมุ่งประสงค์ต่อทรัพย์ทั้งหมดมาแต่ต้น การที่จำเลยลักอาวุธปืนและชิงเอาทรัพย์อื่นของผู้เสียหายอีกจึงเป็นการกระทำในคราวเดียวกันนั้นเอง อันเป็นความผิดกรรมเดียว หาทำให้การกระทำของจำเลยในคราวเดียวกันนั้น แยกเป็นความผิดฐานลักทรัพย์กรรมหนึ่งและชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่ง ดังฎีกาของโจทก์ไม่ แม้โจทก์จะบรรยายแยกการกระทำความผิดดังกล่าว ของจำเลยมาในฟ้องเป็นข้อ () และข้อ () เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ศาลจะลงโทษจำเลยหลายกรรม เป็นกระทงความผิดไม่ได้...)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 5448/2540 ความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 288 หรือมาตรา 340 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามและความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวก  ในการกระทำความผิดอย่างอื่นตาม ป.อ. มาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวและใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง, 340 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแต่เพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 การที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้อาวุธปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 กระทงหนึ่ง  ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่นกับความผิดฐานปล้นทรัพย์  โดยมีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกสถานหนึ่งต่างหาก จากที่ลงโทษในความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์นั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 90

-          ความผิดฐานบุกรุก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1307/2520 บุกรุกเข้าไปในเคหสถาน ใช้มีดที่ติดตัวไปแทง และฟันประตูหน้าต่าง และบ้านเสียหาย จำเลยรับสารภาพตามฟ้องที่บรรยายว่าหลายกรรมต่างกัน เป็นความผิดที่แยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.358 และ 365 เรียงกระทงลงโทษ โดยไม่ต้องอ้าง ม.364 อีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2472/2526 ความผิดฐานบุกรุกกับวิ่งราวทรัพย์มีลักษณะแตกต่างกัน และเป็นความผิดคนละอย่างแยกออกจากกันได้ โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นสองตอนว่า ตอนแรกจำเลยกับพวกบุรุกเข้าไปในตึกแถวของผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร แล้วตอนหลังได้วิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วย จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกและวิ่งราวทรัพย์เป็นสองกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3987/2526 จำเลยมีมีดเข้าไปถึงเตียงนอนผู้เสียหาย ในขณะที่ผู้เสียหายหลับอยู่ จำเลยไม่ทำร้ายผู้เสียหายทันที  เพิ่งจะทำร้าย เมื่อผู้เสียหายดิ้นเพื่อให้พ้นจากการถูกบีบคอ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3892/2529 จำเลยทั้งสองและพวกบุกรุกเข้าไปขับไล่ให้ผู้เสียหายออกไปจากขนำของผู้เสียหาย ครั้นผู้เสียหายขัดขืน จำเลยที่ 1 และพวก จึงใช้ปืนยิงขู่จนผู้เสียหายตกใจกลัว ออกไปจากขนำ การกระทำของจำเลยและพวก มีเจตนาขู่เข็ญเพื่อขับไล่ผู้เสียหายให้ออกไปจากขนำเป็นข้อสำคัญ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ ป.อ. ม.365(2) และ 392 มิใช่หลายกรรมต่างกัน ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยคือ ม.365 (2)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 678/2530 จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายเรียกให้จำเลยออกจากห้อง จำเลยกลับพังฝาห้องกระโดดหนีไป ถือได้ว่าการกระทำฐานบุกรุกสำเร็จลงแล้ว ส่วนการกระทำฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นการกระทำขึ้นใหม่ภายหลัง ต่างเวลากัน มิได้กระทำโดยเกิดจากกรรมเดียวกัน ย่อมมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อีกกรรมหนึ่ง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4579/2530 การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วม แล้วดูหมิ่นโจทก์ร่วมกับชกต่อยโจทก์ร่วมกับชกต่อยโจทก์ร่วมในทันทีทันใดนั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาอันแท้จริง เพื่อดูหมิ่นและทำร้ายโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยในตอนนี้จึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 อันเป็นบทหนักที่สุด ต่อมาจำเลยฉุดแขนโจทก์ร่วมออกจากเคหสถาน ลากพาตัวไปยังถนนสาธารณะ อันเป็นการทำให้โจทก์ร่วมปราศจากเสรีภาพในร่างกาย พร้อมทั้งได้ร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายทันที ซึ่งถือได้ว่าเป็นการข่มเหงรังแกหรือทำให้โจทก์ร่วมเดือดร้อนรำคาญด้วยนั้น ย่อมเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันกับความผิดฐานทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั่นเอง การกระทำของจำเลยในตอนหลังนี้ จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 อันเป็นบทหนักที่สุด รวมเป็นความผิด 2 กระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 446/2535 จำเลยบุกรุกไปในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง โดยนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถโค่น เผาต้นยางพาราและขนุนของโจทก์ที่ปลูกไว้ในที่ดินดังกล่าวเสียหายแล้วจำเลยได้ทำการปลูกต้นมะพร้าว ต้นยางพารา ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลงในที่ดินดังกล่าวแทน ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ และทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ในที่ดินดังกล่าวเสียหายในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 321/2535 การที่จำเลยถืออาวุธปืนบังคับให้ผู้เสียหายเปิดประตูบ้าน แล้วเข้าไปในบ้านกับผู้เสียหาย จำเลยยังไม่ได้ยิงผู้เสียหายทันที แต่เพิ่งยิงผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไปในห้องนอนกับจำเลย ตามที่จำเลยต้องการ เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่า ที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปยิงผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยตอนนี้ จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น และฐานบุกรุกรวมสองกระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2725/2535 จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินทั้งส่วนที่เป็นของโจทก์ และส่วนที่เป็นของ  พ. ที่ออยู่ติดต่อกัน เป็นการกระทำความผิดคนละกรรมกัน เพราะมิใช่เป็นการกระทำครั้งเดียวกัน แต่เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีของ พ.คดีถึงที่สุดแล้วก็ตามสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องของโจทก์หาระงับไปไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 6119/2539 จำเลยนำดินเข้าไปเทไว้ในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แล้วใช้รถแทรกเตอร์ดันกองดินเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยดันเอากองหินและทรายของโจทก์ทั้งสองรวมไปด้วย เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว คือดันกองดินเข้าไปในที่ดินของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีเจตนาลักทรัพย์เกิดขึ้น ก่อนเจตนาบุกรุก หรือเกิดขึ้นใหม่หลังเกิดเจตนาบุกรุก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 9235/2539 (สบฎ เน /15) จำเลยบุกรุกไปในห้องเช่าเพื่อทำร้าย ผิด มาตรา 364 + 365 (2) (3) + 391 เป็น ม 90




-          ความผิดตามกฎหมายพิเศษ หลายฉบับ
-          ฎ 2831/2535 ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า และผลิตอาหารปลอม ลักษณะของการกระทำผิดแยกจากกัน เมื่อมีการปลอมเครื่องหมายการค้าและนำไปใช้ ก็เป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่ง เมื่อนำอาหารที่ส่วนประกอบไม่ใช่สูตรของแท้ มาปิดเครื่องหมายการค้าปลอม เพื่อให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าเป็นอาหารสูตรของแท้ ก็เป็นความผิดฐานผลิตอาหารปลอมอีกกระทงหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงชื่อในคำพิพากษา  อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ข้อเท็จจริงนั้นต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

-          ความผิดตาม พรบ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ..2534
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4410-1/2536 ออกเช็ค หลายฉบับชำระหนี้รายเดียว ถือว่าเจตนาให้จ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกัน แม้ได้ลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกัน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินวันเดียวกัน เป็นความผิดหลายกรรม / การออกเช็คเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนในเช็ค ณ วันที่ลงในเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีเจตนาให้จ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกัน เป็นคนละส่วนคนละจำนวน ความผิดเกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะตัวของเช็คแต่ละฉบับ  เมื่อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ๆ  แล้ว  ดังนั้นการที่จำเลยออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้รายเดียวกัน แม้ได้ลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินวันเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นคนละกระทงความผิดแยกจากกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1865/2538 การออกเช็ค ทั้งสามฉบับของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงโดยมีเจตนาเป็นอย่างเดียวคือเพื่อให้ได้ไปซึ่งสินค้าจากโจทก์โดยทุจริตไม่ต้องการให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นมาแต่ต้น  จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

-          ประเด็นความผิดกรรมเดียว หลายกรรม กฎหมายพิเศษ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 429-438/2506 การได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชบัญญัติที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวและตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น หาได้หมายความแต่เฉพาะการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างเดียวไม่ แต่ยังหมายถึง การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในฐานะเจ้าของด้วย การที่คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว เป็นความผิดอันเกิดขึ้นครั้งหนึ่งคราวเดียว หาใช่เป็นความผิดต่อเนื่องกันไม่ ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีจึงได้เริ่มนับหนึ่งแต่วันที่จำเลยกระทำการได้มาซึ่งที่ดินโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นต้นไป
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 50/2531 ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานนำสิ่งของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำ เป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำผิดแตกต่างแยกจากกันได้ การที่จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองและนำกัญชาดังกล่าวเข้าไปในเรือนจำ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2421/2533 ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นพนันขึ้นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตนและร่วมเข้าเล่นพนันกับลูกค้าผู้เข้าเล่นพนัน ดังนี้ ตามลักษณะหรือสภาพแห่งการกระทำทั้งสองกรณี คือเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นขึ้น เพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตนกรณีหนึ่ง และการร่วมเข้าเล่นพนันกับลูกค้าผู้เข้าเล่นพนันอีกกรณีหนึ่ง สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นการกระทำต่างฐานกันและมีเจตนาคนละอันกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

-          กฎหมายพิเศษ พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4023/2542 การกระทำครั้งเดียวคราวเดียว อาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน หรือมีเจตนาอย่างเดียวกัน แต่ประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปร่วมกันเลื่อยตัดทำไม้ประดู่ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยได้เลื่อยตัดฟันออกจากต้นแล้วเลื่อยออกเป็นแผ่น จำนวน 97 แผ่น ปริมาตร 1.40 ลูกบาศก์เมตร ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้กระทำในคราวเดียวกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผล เป็นหลายกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7992/2543 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำไม้ ร่วมกันเข้าทำประโยชน์โดยตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ร่วมกันแปรรูปไม้โดยกระทำความผิดในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ กับมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสองฉบับ ซึ่งฐานความผิดตามฟ้องเป็นความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนาต่างกัน และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม

-          กฎหมายพิเศษ พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2503
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1846/2519 เขาสัตว์ป่าซึ่งติดกับรูปหัวสัตว์ทำด้วยไม้เป็นเครื่องประดับ ยังคงมีสภาพเดิม มิได้เปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุอย่างอื่น เป็นซากของสัตว์ตามบทนิยาม จำเลยมีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  พ.ศ. 2503  ม.39 ศาลริบแต่เขาสัตว์ ส่วนไม้ที่ประดิษฐ์เป็นหัวสัตว์ ไม่มีกฎหมายให้ริบ / เขาสัตว์ป่าของกลางที่จับได้จากจำเลย แม้จะเป็นเขาสัตว์ป่าที่จำเลย นำไปติดกับรูปหัวสัตว์ซึ่งประดิษฐ์ด้วยไม้สักทำเป็นเครื่องประดับแล้วก็ตาม ก็ยังมีสภาพเป็นเขาสัตว์อยู่เช่นเดิมมิได้เปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุอย่างอื่น จึงเป็นซากของสัตว์ป่าตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ข้อ 1 / จำเลยมีเขากวาง 3 คู่ เขากระทิง 1 คู่ เขาวัวแดง 1 คู่ อันเป็นซากของสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ห้ามมิให้ผู้ใดค้าหรือมีไว้ในครอบครอง กับมีเขาละมั่ง 3 คู่เขาเลียงผา 1 คู่ อันเป็นซากของสัตว์ป่าสงวน ซึ่งมิได้อยู่ในข้อยกเว้นตามกฎหมายให้มีได้ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1054/2535 ความผิดฐานมีซากสัตว์ป่าสงวนไว้ในความครอบครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 14 และมาตรา 38 กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่น ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา 16 และมาตรา 40 กฎหมายแยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิด แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกันการกระทำความผิดดังกล่าว จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 / ส่วนความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครองกับฐานมีไว้ในครอบครอง และค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นความผิดตามมาตรา 15 และมาตรา 40 บทมาตราเดียวกัน แสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90

-          กฎหมายพิเศษ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2674/2527 การมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครอง และการพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไปในทางสาธารณะนั้น เป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2219/2533 ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานใน การปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม กับความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 289 (2) ประกอบ มาตรา 80 เป็นความผิดต่างกรรม กับความผิดฐานมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่ กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8ทวิ วรรคหนึ่ง 72ทวิ วรรคสอง เพราะการกระทำตามความผิดดังกล่าว มีการกระทำที่แยกจากกัน เป็นแต่ละฐานความผิดได้ชัดเจนไม่เกี่ยวเนื่องกัน / ความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน นอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ทางสาธารณะ เพราะความผิดทั้งสองมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกัน และเป็นความผิดต่างฐานกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1233/2533 การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตั้งแต่เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่ง และเมื่อได้พกอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยผิดกฎหมาย ก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกระทงเป็นกระทงความผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2083/2539 การกระทำผิดของจำเลยฐานมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งในครั้งก่อนและครั้งหลัง เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันตลอดมา ตราบใดที่ยังคงครอบครองอาวุธปืนกระบอกเดียวกันและเครื่องกระสุนปืนรายเดียวกัน ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อศาลพิพากษาลงโทษการกระทำในครั้งหลังแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิจะนำคดีการกระทำผิดครั้งแรกมาฟ้องอีก เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) / ส่วนข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เป็นการกระทำต่างกรรมกัน เพราะเจตนาในการกระทำผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะในแต่ละครั้ง ย่อมเป็นความผิดในตัวของมันเอง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ แม้ในคดีก่อนศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้มาแล้วก็ตาม