คลังบทความของบล็อก

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

www.lawerofficerschool.blogspot.com/0001


โครงสร้าง การกระทำครบ องค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
                1.1 มีการกระทำ  เคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึก   คิด ตกลงใจ กระทำ
                1.2 การกระทำครบองค์ประกอบ ภายนอก               ตามองค์ประกอบความผิด
                1.3 การกระทำครบองค์ประกอบ ภายใน                   เจตนา , ประมาท หรือ ไม่เจตนา
                1.4 “ผลสัมพันธ์กับ การกระทำ”                                ทฤษฎีเงื่อนไข , ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม (มาตรา 63 และเหตุแทรกแซง) ใช้กับองค์ประกอบความผิดที่ต้องการผล

1. ทฤษฎีเงื่อนไข                 1.1 ผลโดยตรง    ถ้าไม่กระทำ ... + ผลนั้นไม่เกิด
                                                กรณีที่ผู้ต้องหาไม่ทำกระทำการ ผลก็เกิด ถือว่าไม่ใช่เหตุโดยตรง ผู้ต้องหาไม่ต้องรับผิดในผลของการกระทำ

2. ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม  2.1 ผลธรรมดา     ผลฉกรรจ์ ผลธรรมดา มาตรา 63 (ไม่ต้องมีเจตนา)
                                                                                1. ต้องเป็นผลโดยตรงมาก่อน
                                                                                2. องค์ประกอบเดียวกัน
                                                                                3. ทำให้รับโทษหนักขึ้น
                                                2.2 เหตุแทรกแซง 1. เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ ภายหลังการกระทำที่กล่าวหาว่าเป็นความผิด
                                                                                  2. เหตุแทรกแซงดังกล่าวทำให้เกิดผล





-          หลักความรับผิดในผลการกระทำCausation
-          คือ หลักในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล (อ เกียรติขจร กฎหมายอาญา ภาค 1 .. 2538 / 208)
-          หากเป็นผลโดยตรง ต้องรับผิด หากไม่ใช่ผลโดยตรง ไม่ต้องรับผิด
-          หากผลนั้น ทำให้รับโทษหนักขึ้น ต้องรับผิดเมื่อเป็นผลโดยตรง และเป็นผลธรรมดา หากไม่ใช่ผลธรรมดา ไม่ต้องรับผิด
-          หากผลนั้น ไม่ทำให้รับโทษหนักขึ้น แต่เกิดจาก เหตุแทรกแซงต้องรับผิดต่อเมื่อเป็นผลโดยตรง ซึ่งวิญญูชนคาดหมายได้ หากคาดหมายไม่ได้ ไม่ต้องรับผิด

เช่น เด็ก ม.6 ขับรถจักรยานยนต์ไปโรงเรียนโดยประมาท ชนคนตาย
ถ้าไม่เข้าใจโครงสร้างความรับผิด แล้วไปใช้หลักเรื่องผลโดยตรง พ่อแม่ที่ซื้อรถจักรยานยนต์ต้องร่วมรับผิดด้วย
1. ถ้าพ่อแม่ไม่ซื้อรถจักรยานยนต์ให้ เด็กก็ไม่มีรถขับ
2. ถ้าเด็กไม่มีรถขับ ก็ไม่อาจขับขี่โดยประมาท
3. ถ้าไม่ขับขี่โดยประมาท ก็ไม่มีการชนคนตาย
ทั้งที่การซื้อรถให้ลูกขับขี่ ไม่ถือเป็นการกระทำโดยประมาท กรณีนี้ จึงไม่ต้องวินิจฉัยตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล เพราะขาดองค์ประกอบภายนอก

-          ประเด็นเปรียบเทียบ           การกระทำไม่เป็นความผิด ไม่ต้องอ้างกฎหมายยกเว้นความผิด (กรณีระงับเหตุวิวาท)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1961/2528 การวิวาทหมายถึงการสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกัน คำพูดของจำเลยที่ว่าการย้ายตำรวจต้องมีขั้นตอน ต้องมีคณะกรรมการ อย่าไปเชื่อให้มากนัก เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นในการสนทนาเท่านั้น มิได้มีข้อความใดที่เป็นการท้าทายให้ผู้ตายหรือผู้เสียหายออกมาต่อสู้ทำร้ายกับจำเลยจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุวิวาทมิได้ / หลานผู้ตายใช้ขวดตีจำเลยที่ทัดดอกไม้ จนเข่าทรุดร่วงตกจากเก้าอี้ ผู้ตายเข้าไปล็อคคอและดึงคอเสื้อจำเลยไว้ พร้อมกับพูดว่าเอาให้ตาย และมีคนอีกกลุ่มหนึ่งกรูกันเข้ามาจะรุมทำร้ายจำเลย จำเลยสะบัดหลุด แล้วชักปืนออกมาขู่ โดยหันปากกระบอกปืนขึ้นฟ้าพร้อมกับตะโกนว่า อย่าเข้ามา ทันใดนั้นมีคนเข้ามาตะปบปืนในมือจำเลยเพื่อจะแย่งปืน ปืนลั่นขึ้น 1 นัด กระสุนถูกผู้ตายล้มลงถึงแก่ความตาย จำเลยวิ่งหนี แต่คนกลุ่มนั้นวิ่งไล่ตามจะทำร้ายจำเลย จำเลยยิงปืนขู่ขึ้นฟ้าอีก 1 นัด แล้ววิ่งไปได้หน่อยหนึ่ง ก็หมดสติล้มลง กระสุนปืนนัดที่สองพลาดไปถูกผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัส เมื่อจำเลยเจตนายิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่แล้ว ก็ถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้ตายหรือพยายามฆ่าผู้เสียหาย และจะถือว่าจำเลยกระทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท หรือรับอันตรายสาหัสโดยประมาทมิได้ จำเลยมีใบอนุญาตพกอาวุธปืนของกรมตำรวจ ซึ่งจำเลยมีสิทธิพกอาวุธปืนได้ทั่วราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติราชการสืบสวนไม่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ม.8ทวิ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ม.72 ทวิ เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด  ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.ว.อ. ม.185, 215, 225 /
-                  & สังเกต จำเลยชักปืนหันขึ้นฟ้า แต่ถูกปัดกระสุนลั่น ถูกผู้ตาย และนัดที่สองยิงขู่ขึ้นฟ้าอีก 1 นัด แต่กระสุนพลาดไปถูกผู้เสียหาย / จำเลยไม่มีเจตนาฆ่า หรือทำร้าย และพฤติการณ์ไม่ถือว่าจำเลยกระทำโดยประมาท การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ไม่จำต้องอ้างป้องกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4180/2539 ขณะผู้เสียหายทั้งแปด ยืนรอขึ้นรถโดยสารประจำทาง อ. กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาพบผู้เสียหายที่ 1 อ. ซึ่งรู้จักกับผู้เสียหายที่ 1 ได้เข้าถามหาเพื่อนคนหนึ่ง แล้วไม่พอใจคำตอบของผู้เสียหายที่ 1 จึงเกิดการโต้เถียง และเข้าต่อยใบหน้าของผู้เสียหายที่ 1 แต่ไม่ถูก ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ก็ยืนอยู่ พวกของผู้เสียหายคนหนึ่ง ถือมีดดาบยาวประมาณครึ่งเมตร ชูขึ้นเหนือศีรษะวิ่งตรงเข้าช่วยผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงชักอาวุธปืนลูกซองสั้น และยิงลงไปที่พื้นดินคนละนัด ก็เพื่อยับยั้งไม่ให้เพื่อนของผู้เสียหายที่ 1 ใช้มีดฟัน อ.หรือจำเลยทั้งสอง เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้กระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงไปจะกระทบพื้นดินและแผ่กระจายถูกผู้เสียหายทั้งแปด จนได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 8534/2544 (สส 12/143) จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า เพื่อขู่มิได้กลุ่มวัยรุ่นกลุ้มรุมทำร้าย ถ. เมื่อจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้านัดที่ 3 แล้ว ได้มีกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาทุบที่ด้านหลังของจำเลย จนเป็นเหตุให้จำเลยล้มลง และกระสุนจากอาวุธปืนที่จำเลยถืออยู่ ได้ลั่นขึ้น 1 นัด ถูกผู้เสียหายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา ได้รับอันตรายแก่กาย และถูกผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ดังกล่าว ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน จึงย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่น ให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ แม้การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหาย และผู้ตายโดยพลาด ตาม ป.อ. มาตรา 60 จำเลยก็ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 68 (ฎีกานี้ อ เกียรติขจรฯ เห็นว่า ไม่ผ่านโครงสร้างที่จะต้องรับผิด เพราะผู้กระทำยิงปืนขึ้นฟ้า ไม่มีเจตนาทำร้ายหรือฆ่าผู้อื่น และพฤติการณ์ก็ไม่เป็นประมาท จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานใด ไม่จำต้องปรับบทป้องกัน หรือบทยกเว้นความผิด)



-          กรณีการกระทำไม่เป็นความผิด เพราะไม่เป็นการกระทำโดยประมาท ไม่ต้องวินิจฉัยถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3445/2535 รถยนต์โดยสารที่จำเลยขับยางล้อหลังระเบิด จำเลยจึงจอดรถยนต์ไว้ชิดไหล่ทางด้านซ้าย ล้อหน้าอยู่ที่ไหล่ทาง ส่วนล้อหลังด้านขวาอยู่บนถนน แล้วจำเลยได้หากิ่งไม้มาวางและเปิดสัญญาณไฟกระพริบ ถือได้ว่าจำเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 383/2537 จำเลยขับรถยนต์ไปด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้ตายได้วิ่งไล่ตี ช. ข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับ ไปแล้วแต่ได้มีรถยนต์อีกคันหนึ่งแล่นมา ผู้ตายจึงชะงักและถอยหลังกลับเข้ามาช่องเดินรถของจำเลยโดยกะทันหัน และในระยะกระชั้นชิด ทำให้จำเลยไม่สามารถหยุดรถหรือหลบไปทางอื่นได้ทันท่วงที และในภาวะเช่นนั้นจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่า จะมีคนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้ว กลับชะงักและถอยหลังเข้ามาขวางหน้ารถยนต์ที่จำเลยขับไปอีก การที่จำเลยขับรถยนต์ชนผู้ตาย จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย

-          1.ทฤษฎีเงื่อนไข ผลโดยตรง (อก/210) คือ หากไม่กระทำ ผลไม่เกิด ผลสัมพันธ์กับเหตุโดยตรง "หากไม่ใช่ผลโดยตรง ไม่ต้องรับผิด" (2) "ผลที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น" ต้องเป็น "ผลโดยตรงและเป็นผลธรรมดา" ไม่ใช่ผลธรรมดา ไม่ต้องรับผิด มาตรา 63 และ (3) ผลจากเหตุแทรกแซง วิญญูชนคาดหมายได้ต้องรับผิด (อก/208) กรณีผลไม่สัมพันธ์กับเหตุไม่ต้องรับผิด คือ แม้ไม่กระทำก็ต้องเกิดผลอยู่ดี ไม่ต้องรับผิด

-          ผลโดยตรง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4419/2533 ผู้ตายถูกยิงที่ด้านหลังตรงกลาง กระสุนปืนถูกไขสันหลังซึ่งทำให้ผู้ตายเป็นอัมพาตต้องนอนเป็นเวลานาน  บาดแผลที่ก้นกบจึงเกิดเน่าเปื่อย ทำให้มีลิ่มเลือดหลุดเข้าไปในหลอดเลือดดำของปอด เป็นเหตุให้ผู้ตายหยุดหายใจและถึงแก่ความตาย ผู้ตายไม่เคยมีโรคประจำตัวมาก่อน และเป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพแข็งแรง เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่ผู้ตายถูกจำเลยกับพวกใช้อาวุธปืนยิง จำเลยย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

-          ถ้าไม่มีการกระทำนั้น ผลไม่เกิด ถือเป็นผลโดยตรง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1326/2510 ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดรถ ก็จะไม่ชนกัน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ถ้ารอให้รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับมาทางตรงผ่านไปก่อน รถก็จะไม่ชนกัน การที่เกิดชนกันขึ้น จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย จึงเป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่

-          กรณีที่ ไม่ใช่ผลโดยตรงและ ไม่ได้สมคบกันผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิด ให้รับผิดเท่าที่ลงมือไปแล้ว รับผิดพยายาม หรือประมาท / หากสมคบกันต้องร่วมรับผิดในผลที่เกิด / เว้นแต่การกระทำแต่ละคนทำให้เกิดผลได้ ต้องร่วมรับผลนั้น ทุกคน (อ.เกียรติขจรฯ 8/297)
-          (อ.เกียรติขจรฯ 8/296) แดง ดำ ขาว ให้เหลืองกินยาพิษคนละ 3 แกรม (ไม่ได้ร่วมกันทำ) ซึ่งยาดังกล่าวต้องทาน 6 แกรมจึงจะตาย โดยทั้งสามเข้าใจผิดว่าให้ 3 แกรมก็ตายได้ (มีเจตนาฆ่า) เหลืองตาย ต่างรับผิดฐานพยายามฆ่า (ตัวอย่างนี้ ตัดคนหนึ่งออกไป การกระทำของอีกสองคน (ยาพิษรวม 6 แกรม) ยังสามารถทำให้เกิดผล คือ เหลืองตายได้ เมื่อแยกวินิจฉัยทีละคนแล้ว จึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำ)
-          (อ.เกียรติขจรฯ 8/296) แดง ให้เหลืองกินยาพิษ 3 แกรม / ดำ ให้เหลืองกินยาพิษ 6 แกรม (ไม่ได้ร่วมกันทำ) ซึ่งยาดังกล่าวต้องทาน 6 แกรมจึงจะตาย โดยมีเจตนาฆ่า ต่อมาเหลืองตาย แดงรับผิดฐานพยายามฆ่า (เพราะแม้ตัดแดงออกไป เหลืองก็จะตายจากยาพิษของดำอยู่ดี การกระทำของแดง จึงไม่ใช่เหตุโดยตรง ที่ทำให้เกิดความตาย ไม่เข้าทฤษฎีเงื่อนไข) ส่วนดำรับผิดฐานฆ่าผู้อื่น (เพราะการกระทำของดำ เป็นเหตุโดยตรง ที่ทำให้เกิดความตาย เข้าทฤษฎีเงื่อนไข)
-          (อ.เกียรติขจรฯ 8/297) แดง ดำ ขาว ให้เหลืองกินยาพิษคนละ 2 แกรม (ไม่ได้ร่วมกันทำ) ซึ่งยาดังกล่าวต้องทาน 6 แกรมจึงจะตาย โดยทั้งสามเข้าใจผิดว่าให้ 2 แกรมก็ตายได้ (มีเจตนาฆ่า) เหลืองตาย ต่างรับผิดฐานฆ่าผู้อื่น (ตัวอย่างนี้ ตัดคนหนึ่งออกไป การกระทำของอีกสองคน ไม่ทำให้เกิดผล เมื่อแยกวินิจฉัยทีละคนแล้ว จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำ)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 968/2474 (อก/210) จำเลยใช้ขวานฟันผู้ตาย ผู้ตายรักษาตัวจนแผลหายไปแล้ว เป็นลมตาย เพราะโรคประจำตัว จำเลยไม่รับผิดในความตาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2679/2515 (อก 211) ผู้ตายถูกกระสุนหลายชนิด จำเลยยิงไปทางผู้ตาย ไม่ชัดว่าตาย เพราะปืนจำเลย ผิด มาตรา 288+80
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3913/2534 (อก 212) หลายคนทำร้ายผู้ตาย แต่ไม่ร่วมกัน จำเลยเตะผู้ตาย ผิด มาตรา 391 ไม่ต้องรับในผลที่ตาย (มาตรา 290)

-          กรณีผู้เสียหายประมาทด้วย ยังคงต้องรับผิดในผล (อ เกียรติขจรฯ 8/298)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2210/2544 แม้จุดที่จำเลยจอดรถ และเกิดเหตุชนกัน อยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนน ในลักษณะไม่กีดขวางทางจราจรก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลางกลางคืน โดยไม่ได้เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอด ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตาม เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย เกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วย จึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลย ที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น

-          ข้อยกเว้นทฤษฎีเงื่อนไข (อ เกียรติขจรฯ 8/298)
-          กรณีผลเกิดจากหลายเหตุ แต่ละเหตุอาจทำให้เกิดผลได้ ต้องรับผิดในผล
-          ต่างคนต่างแทง โดยไม่ร่วมกัน บาดแผลที่แทง ถึงตายได้ทุกแผล
-          ความผิดบางลักษณะ เกิดจากการกระทำหลายอันรวมกัน แม้ไม่มีการกระทำส่วนหนึ่ง ความผิดนั้นยังเกิดขึ้น ถือว่าทุกการกระทำมีส่วนก่อความผิดนั้น ต้องรับผิด
-          ฐานกีดขวางทางสาธารณะ ตาม มาตรา 385

-          ข้อสังเกตทฤษฎีเงื่อนไข
-          & การตั้งคำถามตามทฤษฎีเงื่อนไข ดู การกระทำที่จะต้องวินิจฉัยหรือ การกระทำที่จะถือเป็นความผิดแล้วถามว่า หากไม่มีการกระทำนั้น ผลจะเกิดขึ้นหรือไม่ (หากตั้งคำถามผิด ก็จะได้คำตอบผิดไปด้วย)



-          2.ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม
-          หมายเหตุท้าย คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532 โดยอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมมีหลักในการพิจารณาคือ ดูว่าเหตุนั้น เหมาะสมเพียงพอตามปกติที่จะเกิดผลขึ้นหรือไม่ หากเพียงพอ ก็ต้องรับผิดในผล หากไม่เพียงพอ ก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้นผลธรรมดาตาม มาตรา 63 คือผลตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมนั่นเอง หมายถึงผลที่ผลกระทำสามารถ คาดเห็นความเป็นไปได้ของผลนั้น ซึ่งใช้มาตรฐานของ วิญญูชนเป็นหลักในการวินิจฉัย แต่ไม่ใช่ เจตนาเล็งเห็นผล

-          ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม ใช้ในสองกรณีดังนี้
1.        กรณีที่ผลของการกระทำนั้น ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น
2.        กรณีผลการกระทำนั้นเกิดจากเหตุแทรกแซง

-          ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม เมื่อปรับใช้กับ มาตรา 63 ผลธรรมดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้ มีองค์ประกอบ ดังนี้
(1)     เป็นผลโดยตรงมาก่อนตามทฤษฎีเงื่อนไข
(2)     ผลนั้นทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น และ
(3)     ผลนั้นปกติอาจเกิดขึ้นได้

-          ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น 1 องค์ประกอบความผิดเดียวกัน 2 ทำให้โทษหนักขึ้น และ 3 อยู่ในหมวดเดียว
-          กรณีเจตนาให้ผลเกิดแต่แรก และผลเกิดตามเจตนา ดูทฤษฎีเงื่อนไข + เหตุแทรกแซง แต่ไม่ใช้ผลธรรมดา (อก /219)
-          (อก /219) ไล่ยิง แต่ตายเพราะฟ้าผ่า (ผลเกิดจากเหตุแทรกแซง ที่คาดหมายไม่ได้ ไม่ต้องรับผิดในผล รับผิด มาตรา 288+80) (ไม่ใช้เรื่องผลธรรมดา เพราะประสงค์ให้ตาย ความตายไม่ใช่ผลที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น)
-          ถ้าเป็นผลธรรมดา ต้องรับผิดในผล แม้ไม่ประสงค์ต่อผล (อก/222)
-          (อก 222) ชิงทรัพย์คนเป็นโรคหัวใจ ทำให้ตาย หากไม่รู้ว่าเป็นโรคหัวใจ ไม่ต้องรับผล (เป็นผลโดยตรง แต่ไม่ใช่ผลที่ธรรมดาอาจเกิดขึ้นได้ ผิด มาตรา 339 วรรค 1 ไม่ใช้ วรรค ท้าย) หากรู้อยู่แล้ว ต้องรับผล (เพราะรู้ข้อเท็จจริง ตาม มาตรา 62 วรรคท้าย จึงเป็นผลโดยตรง และผลธรรมดา ตาม มาตรา 63 ไม่ประสงค์ให้ตาย ก็ต้องรับผิด มาตรา 339 วรรคท้าย ถ้าเล็งเห็นผลด้วย ผิด มาตรา 288)
-          กรณีผลเกิดจาก หลายสาเหตุและแต่ละเหตุรุนแรงพอที่จะทำให้เกิดผล ต้องรับผิดในผล ตาม ทฤษฎีเงื่อนไข (อก / 224)
-          บรรทุกน่าจะอันตราย และขับเร็ว "รถคว่ำเพราะสองเหตุนั้น" ผิด มาตรา 233 + 238 + 291 + 300
-          กรณีความผิดฐานประมาท ไม่ต้องดูทฤษฎีผลธรรมดา ให้ดูเหตุแทรกแซง (อก/241 สังเกตดีๆ เป็นเรื่องเฉพาะ มาตรา 291)



-          ผลธรรมดา
-          (อ เกียรติขจรฯ 8/306) เผาบ้านดำ ตอนดำไม่อยู่ ผิด มาตรา 218 (1) / ขาวนอนเฝ้าตาย โดยผู้เผาไม่รู้ ผิด มาตรา 224 1 แต่หากมีเจตนาฆ่า ผิด มาตรา 288 (เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่คาดหมายได้ว่า อาจมีคนพักอาศัยอยู่ในขณะนั้น ความตายในกรณีนี้ จึงเป็นผลธรรดาที่ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่หากรู้อยู่แล้วว่ามีคนอาศัยอยู่ เท่ากับมีเจตนาฆ่าด้วย ต้องรับผิดตามมาตรา 288 ด้วย)
-          (อ เกียรติขจรฯ 8/306) เผาโกดังในป่าทึบ ผิด มาตรา 218 (2) / ม่วงเข้าไปนอน ถึงตาย โดยคนเผาไม่รู้ ไม่น่าผิด มาตรา 224 1 เป็นผลโดยตรง แต่ไม่ใช่ผลธรรมดา (เพราะโกดังไม่ใช่สถานที่ที่น่าจะมีคนเข้าไปพัก (แล้วแต่สภาพข้อเท็จจริง))
-          & ตัวอย่าง
                (1) แดงต้องการเผาบ้านดำ ขณะที่ดำไม่อยู่ในบ้านนั้น
                                (1.1) โดยไม่รู้ว่ามีคนอยู่ ปรากฏว่ามีคนตาย  
                                รับผิด มาตรา 218 (1) และผลแห่งความตาย มาตรา 244 เพราะเป็นผลธรรมดา วิญญูชนคาดหมายได้ว่า บ้านอาจมีคนอยู่
                                ไม่ต้องรับผิด มาตรา 288 เพราะขาดเจตนา เนื่องจากไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 59 วรรค 2 - 3
                                (1.2) โดยรู้ว่ามีคนอยู่ ปรากฏว่ามีคนตาย     
                                รับผิด มาตรา 218 (1) และผลแห่งความตาย มาตรา 244 เพราะเป็นผลธรรมดา เพราะแดงรู้ว่าในบ้านมีคนอยู่
                                รับผิด มาตรา 288 เพราะครบองค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน
                (2) แดงต้องการเผาโกดังสินค้าในป่าทึบของดำ ขณะที่ดำไม่อยู่ในโกดังนั้น
                                (2.1) โดยไม่รู้ว่ามีคนอยู่ ปรากฏว่ามีคนตาย  
                                รับผิด มาตรา 218 (2) ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งความตาย มาตรา 244 เพราะไม่ใช่ผลธรรมดา ที่วิญญูชนคาดหมายได้
                                ไม่ต้องรับผิด มาตรา 288 เพราะขาดเจตนา เนื่องจากไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 59 วรรค 2 - 3
                                (2.2) โดยรู้ว่ามีคนอยู่ ปรากฏว่ามีคนตาย     
                                รับผิด มาตรา 218 (2) และผลแห่งความตาย มาตรา 244 เพราะเป็นผลธรรมดา เพราะแดงรู้ว่ามีคนอยู่
                                รับผิด มาตรา 288 เพราะครบองค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายใน





-          3.ทฤษฎีเหตุแทรกแซง คือเหตุการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง และทำให้เกิดผล / หมายเหตุท้าย คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532 โดยอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ เหตุแทรกแซงหมายถึง (1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากการกระทำของผู้กระทำ และ (2) เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้นโดยตรง

-          ความรับผิดในผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง
-          หากเหตุแทรกแซงนั้น คาดหมายได้ ผู้กระทำต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น
-          หากไม่รู้ หรือไม่อาจคาดหมายได้ ไม่ต้องรับผล

-          เมื่อไม่ใช่ผลธรรมดา ให้ดูเหตุแทรกแซง หากเป็นเหตุที่คาดหมายได้ ต้องรับผิดในผล ถือเป็นเหตุ ตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม ตาม มาตรา 63 แต่หากเป็นเหตุที่คาดหมายไม่ได้ ไม่ต้องรับผิดในผล

-          เหตุที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่เหตุแทรกแซง (อก/226)
-          โดยอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ (อก /226) ตีหัวคนกะโหลกบาง / โรคประจำตัวที่มีก่อนถูกทำร้าย
-          (หนังสือรพี 2531 เนรุ่น 40/63) หลัก “The Thin – Skull Rule” จำเลยต้องยอมรับผู้เสียหายตามสภาพที่เขาเป็น หากจำเลยทำให้ผู้ใดบาดเจ็บ แม้เพียงเล็กน้อย จำเลยต้องรับผิดต่อผู้นั้นเต็มตามความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยไม่อาจอ้างว่าเป็นความเสียหายที่ไม่อาจคาดเห็น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2023/2522 (คดีแพ่ง-ละเมิด) โจทก์ขับรถยนต์ทางตรงผ่านทางแยกทางร่วม เร็วกว่ากำหนดชนกับรถของจำเลย ที่ขับเลี้ยวยื่นล้ำเข้าไปในทางรถของโจทก์ 1 เมตร ศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ลดลง 2 ใน 5 มารดาโจทก์เป็นโรคอยู่ก่อน แต่ตาย เพราะรถชนกันโดยจำเลยละเมิด จำเลยต้องรับผิด
-          คดี Smith V. Leech Brain & Co.Ltd. จำเลยทำผู้ตายบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ผู้ตายมีแนวโน้มเป็นมะเร็ง ถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลนั้นลุกลามเป็นมะเร็ง เป็นเรื่องที่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิด
-          การตีศีรษะคนกะโหลกบาง โดยไม่รู้เหตุดังกล่าว
-          การตีเป็นเจตนาทำร้าย หากผลเกิดขึ้นถึงตาย รับผิดตาม มาตรา 290 ผู้ตีจะอ้างเหตุที่ผู้เสียหายมีสภาพผิดปกติ เพื่อไม่ต้องรับผิดในผลไม่ได้ โดยถือว่าเป็นผลโดยตรง และไม่ใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม เพราะ มาตรา 290 อยู่ในหมวดความผิดต่อชีวิต ความตายในกรณีนี้จึงไม่ใช่ ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ตาม ม 63 ตามแนว อ เกียรติขจร ซึ่งถือว่าต้องอยู่ในหมวดเดียวกัน (แต่ส่วนตัวเห็นว่า เป็นผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นแล้ว การบัญญัติอยู่คนละหมวด ไม่มีผลหักล้าง มาตรา 63)
-          หากผลเกิดเป็นอันตรายสาหัส ไม่ต้องรับผิดในผล เพราะไม่ใช่ผลที่ตามธรรมดาเกิดขึ้นได้ตาม มาตรา 63 ใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมได้ เพราะ มาตรา 297 เป็นผลทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นจาก มาตรา 295 โดยอยู่ในหมวดเดียวกัน
-          แต่หากผู้ตีรู้เหตุดังกล่าวอยู่แล้ว อาจปรับเป็นเจตนาฆ่า โดยย่อมเล็งเห็นผล ผู้ตีต้องรับผิดตาม มาตรา 288

-          กรณีผลเกิดจากการกระทำโดยตรง ไม่ถือเป็นเหตุแทรกแซง (อก/226)
-          (อก/226) ใช้ตะปูมีสนิมแทง ตายเพราะบาดทะยัก (เชื้อบาดทะยักเกิดจากตะปูโดยตรง ไม่ใช่เหตุแทรกแซง)
-          การรักษาบาดแผลไม่ดี และทำให้เกิดการติดเชื้อโรคนั้น หากเป็นเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายขณะเกิดการกระทำผิดโดยตรง ไม่ถือเป็นเหตุแทรกแซง แต่ใช้ทฤษฎีเงื่อนไขโดยตรง หากเป็นเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ภายหลังกระทำผิด จากการรักษาไม่ดี ถือเป็นเหตุแทรกแซง และการรักษาไม่ดีนั้น อาจเกิดจากตัวผู้เสียหายรักษาไม่ดี หรือบุคคลที่สามเช่น แพทย์หรือญาติที่ช่วยรักษา ดูแลรักษาผู้เสียหายไม่ดี ก็เป็นได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2528 (กรณีผู้เสียหายรักษาไม่ดี เกิดบาดแผลติดเชื้อ ถือว่าคาดหมายได้ (แผลติดเชื้อเป็นเหตุแทรกแซง) ผู้ตายถูกยิงได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ 9 เดือนเศษ เมื่อความตายสืบเนื่องมาจากบาดแผลที่ถูกยิง แม้จะเนื่องจากการรักษาไม่ดี จนบาดแผลติดเชื้อ ก็เป็นผลธรรมดา อันสืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายโดยเจตนา จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
-          กรณีผลเกิดโดยบุคคลภายนอก หากเกิดจากความประมาท ถือว่าคาดหมายได้ / หากเกิดจากเจตนา (ไม่ว่าทำผิดหรือป้องกัน) ถือว่าคาดหมายไม่ได้ (อก/233)
-          มาตรา 295 กับ มาตรา 288 ใช้ทฤษฎีผลโดยตรง / มาตรา 295 กับ มาตรา 297 ใช้ทฤษฎีผลธรรมดา (ดูความเห็นแย้ง อก/240) / มาตรา 295 กับ มาตรา 391 คนละองค์ประกอบกันใช้ทฤษฎีผลธรรมดาไม่ได้


-          ประสงค์ต่อผล แล้วผลเกิดตามเจตนา ต้องรับผล แม้ผลเกิดจากวิธีการที่นอกเหนือความตั้งใจ
-          เล็งปืนแล้ว ยังไม่ทันยิงหรือยิงแล้วไม่ถูก แต่ช็อกตาย หรือเจตนาฆ่า แต่ยิงรูปปั้นโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ว่าเป็นคนที่ประสงค์จะฆ่า ตาม มาตรา 62 แล้วกระสุนมาถูกผู้ตายตามเจตนา (อก/107)

-          เหตุแทรกแซง 4 ประเภท (อก/228)
(1)     เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก ธรรมชาติ
(2)     เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก ผู้กระทำผิดคำพิพากษาฎีกาที่ 1395/2518 (ตีสลบ เข้าใจว่าตาย เอาไปผูกไว้ที่ต้นไม้ พรางคดี ผิด มาตรา 290)
(3)     เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก ผู้เสียหาย
-          ผู้เสียหายรักษาไม่ดี ถือว่าคาดหมายได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1548/2531 รักษาได้ 1 เดือน มีอาการตับอักเสบ ติดเชื้อไวรัสจากการถ่ายเลือด ผิด มาตรา 288
-          (อก /230 ผู้เสียหายเสี่ยงปกติ ผู้กระทำต้องรับผล (1436/2511 ขับรถน่าหวาดเสียว ผู้ตายกระโดดลงรถ หนีอันตราย ตายสนิท ผิด มาตรา 291 / ฎ 500/2498 จำเลยขับรถโดยประมาท ผู้ตายอาศัยมาในรถ โดดลงไปก่อนรถจำเลยคว่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายเฉพาะหน้า ความตายเป็นผลใกล้ชิดกับความประมาทของจำเลย จำเลยผิด มาตรา 291 / ฆ่าตัวตายหนีความเจ็บปวดทรมาน)
-          (อก/232 ผู้เสียหายเสี่ยงผิดปกติ ไม่ต้องรับผล ต่อยบาดเจ็บ ผู้ตายกลุ้มใจ หยิบยาพิษมากิน)
-          (หนังสือรพี 2531 เนรุ่น 40/63) คดีละเมิด Bourhill v. Young จำเลยขับรถประมาทชนรถยนต์คันอื่น หญิงมีครรภ์ไม่เห็นเหตุการณ์ แต่ได้ยินเสียงชนอย่างแรง และเห็นเลือดในที่เกิดเหตุหลังรถชนกัน ทำให้ตกใจช็อกและแท้งลูก จำเลยไม่ต้องรับผิดในเหตุที่หญิงนั้นแท้งลูก
(4)     เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก บุคคลที่สาม” ((อก/234) บุคคลที่สามประมาท ถือว่าคาดหมายได้ เช่น ใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดมารักษาบาดแผล ติดเชื้อตาย / แต่หากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือจงใจ อาจตัดความสัมพันธ์ของการกระทำเดิมลงได้) 659/2532 (ขณะรักษาอาการบาดเจ็บ ญาติผู้เสียหาย มาดึงเครื่องช่วยหายใจออก ผิด มาตรา 288+80)

-          เหตุแทรกแซง ที่เกิดจากธรรมชาติ

-          เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก ผู้กระทำผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1395/2518 จำเลยตี ถ.มีแผลเล็กน้อย แต่ ถ.สลบ จำเลยเข้าในว่า ถ.ตาย จึงเอาผ้าขาวม้าของ ถ.ผูกคอ ถ.แขวนกับต้นไม้เป็นเหตุให้ ถ.ตาย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 290
& ตอนแรก จำเลยตี อันเป็นเจตนาทำร้าย เบื้องต้นจำเลยมีความผิดข้อหาทำร้ายร่างกาย ตามมาตรา 295
& ตอนหลัง จำเลย เข้าใจว่า ถ. ตาย จึงเอาผ้าขาวม้าผูกคอ ถ. เพื่ออำพรางข้อเท็จจริงว่า ถ. ฆ่าตัวตายเอง เท่ากับจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า ถ. เพราะเข้าใจว่า ถ. ตายแล้ว เท่ากับจำเลยคิดว่าตนเองแขวนคอศพ อันเป็นการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 59 วรรคสาม จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่า แต่ผลที่เกิดจากการแขวนคอ ทำให้ ถ. ถึงแก่ความตาย
& การกระทำของจำเลยในตอนหลังนี้ ถือเป็นเหตุแทรกแซง ที่ทำให้เกิดผลคือความตาย ซึ่งยังไม่ตัดความสัมพันธ์กับการกระทำในตอนแรก จำเลยมีเจตนาทำร้าย และการกระทำต่อเนื่องกันมา จนเป็นเหตุให้ ถ. ถึงแก่ความตาย จำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 290



-          เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก ผู้เสียหาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2528 (กรณีผู้เสียหายรักษาไม่ดี เกิดบาดแผลติดเชื้อ ถือว่าคาดหมายได้ (แผลติดเชื้อเป็นเหตุแทรกแซง) ผู้ตายถูกยิงได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ 9 เดือนเศษ เมื่อความตายสืบเนื่องมาจากบาดแผลที่ถูกยิง แม้จะเนื่องจากการรักษาไม่ดี จนบาดแผลติดเชื้อ ก็เป็นผลธรรมดา อันสืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายโดยเจตนา จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา
-          ำพิพากษาฎีกาที่ 4904/2548 ผู้ตายและผู้เสียหายถูกขังและถูกทำร้ายร่างกายในลักษณะการทรมานอยู่ให้องพักที่เกิดเหตุเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยไม่มีหนทางหลบเลี่ยงให้พ้นจากการถูกทรมานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้ เห็นได้ว่า ผู้เสียหายและผู้ตายต้องตกอยู่ในสภาพถูกบีบคั้นทารุณทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงติดต่อเป็นเวลานาน การที่ผู้ตายตัดสินใจกระโดดจากห้องพักเพื่อฆ่าตัวตายนั้นอาจเป็นเพราะผู้ตายมีสภาพจิตใจที่เปราะบางกว่าผู้เสียหาย และไม่อาจทนทุกข์ทรมานได้เท่ากับผู้เสียหายจึงได้ตัดสินใจกระทำเช่นนั้นเพื่อให้พ้นจากการต้องทุกข์ทรมาน  พฤติการณ์ฟังได้ว่า การตายของผู้ตายมีสาเหตุโดยตรงมาจากการถูกทรมานโดยทารุณโหดร้าย

-          เหตุแทรกแซง ที่เกิดจาก บุคคลที่สาม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532 ปัญหาสุดท้ายมีตามฎีกาของจำเลยว่า การตายของผู้ตายเกิดจากญาติผู้ตายดึงท่อเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ตาย อันเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการนี้เรื่องนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากที่ผู้ตายถูกทำร้ายแล้ว ได้มีการนำตัวผู้ตายไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลหลังสวน แล้วต่อมาได้นำไปรักษาที่โรงพยาบาลชุมพร ที่ผู้ตายกลับบ้านก่อนตายนั้นนางมนูญศรีพยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อถึงโรงพยาบาลชุมพรแล้วแพทย์ได้พาผู้ตายไปเอ็กซเรย์แล้วนำตัวไปห้องฉุกเฉิน แพทย์บอกว่าาการไม่ดีขึ้น พยานจึงพาผู้ตายกลับบ้านและผู้ตายถึงแก่ความตายเช้าวันรุ่งขึ้น ส่วนนายแพทย์พรชัย อัศววินิจกุลชัยแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมพร ผู้รักษาผู้ตายเบิกความเป็นพยานจำเลยว่าได้รักษาผู้ตายเบื้องแรกโดยให้น้ำเกลือ ใส่ท่อช่วยหายใจที่จมูกแล้วผ่าตัดใส่ท่อระบายลมในโพรงปอดข้างซ้ายของผู้ตาย เพราะมีลมรั่วออกมาจากทางเดินหายใจ จากนั้นได้นำผู้ตายไปห้องผู้ป่วยรวมโดยได้ใส่เครื่องช่วยหายใจให้ผู้ตายด้วย การรักษาได้ทำรายงานตามเอกสารหมาย ป.ล.4 ต่อมาเวลาประมาณ 22 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ได้รายงานว่าญาติผู้ตายจะนำผู้ตายกลับบ้าน พยานจึงได้ไปดูอาการผู้ตายและบอกกับญาติผู้ตายว่า ถ้านำไปบ้านโอกาสที่จะถึงแก่ความตายมีมาก พยานได้ออกมาที่โต๊ะพยาบาลที่อยู่นอกห้องเพื่อดูรายงานการรักษาและพูดกับพยาบาลว่า ไม่อยากให้ผู้ตายกลับบ้าน จากนั้นพยานได้เข้าไปดูอาการของผู้ตายอีก ปรากฏว่าเครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจได้มีผู้ดึงออกจากตัวผู้ตายแล้ว โดยขณะนั้นมีญาติผู้ตายอยู่ 5 - 6 คน ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นผู้เอาเครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจออก และโดยสภาพแล้ว ผู้ตายจะเอาออกเองไม่ได้พยานจึงได้จัดให้เจ้าหน้าที่บันทึกให้ญาติผู้ตายลงชื่อว่า ไม่เต็มใจให้พยานรักษาตามเอกสาร ป.ล.2 จากนั้นญาติผู้ตายได้พาผู้ตายกลับบ้าน พยานจำเลยปากนี้ยังเบิกความต่อไปอีกว่าหากผู้ตายได้รับการรักษาติดต่อกันแล้วโอกาสที่ผู้ตายจะมีชีวิตรอดอยู่มีมากกว่าที่จะถึงแก่ความตาย สำหรับนายแพทย์พรชัยพยานจำเลยนี้เป็นแพทย์ที่ดูแลรักษาพยาบาลผู้ตายเป็นคนสุดท้ายก่อนผู้ตายจะถึงแก่ความตาย ไม่มีส่วนได้เสียในคดี เบิกความตามความรู้ทางวิชาแพทย์ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติงานมา ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามคำเบิกความของพยานจำเลยปากนี้ว่า หากญาติผู้ตายไม่ดึงเครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจออกจากตัวผู้ตาย โดยให้ผู้ตายรักษาตัวที่โรงพยาบาลชุมพรต่อไปแล้ว โอกาสที่ผู้ตายจะมีชีวิตรอดมีมากกว่าผู้ตายจะถึงแก่ความตาย และเมื่อฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของนายแพทย์พรชัยพยานจำเลยแล้ว ารที่ญาติผู้ตายได้กระทำให้การรักษาสิ้นสุดลง โดยการดึงเครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจออก อันเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลยโดยตรงไม่ เพราะเมื่อผู้ตายอยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์แล้ว ผู้ตายย่อมเป็นผู้อยู่ในสภาพที่มีโอกาสมีชีวิตอยู่รอดสูงตามคำเบิกความของนายแพทย์พรชัยแล้ว การที่ผู้ตายคิดว่าตนจะต้องตายและญาติได้ดึงเอาเครื่องช่วยหายใจ ตลอดจนท่อช่วยหายใจออกเพื่อที่จะให้ผู้ตายไปตายที่บ้าน จะสันนิษฐานว่าหากผู้ตายได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์อย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ยังจะต้องตาย ย่อมเป็นการสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งไม่อาจกระทำได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้ตาย ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่มีความผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตายเท่านั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา




-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล กรณีเป็นเหตุโดยตรงตามทฤษฎีเงื่อนไข
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 36/2503 ไม้ที่จำเลยตีผู้เสียหายยาว 5 ฟุต เป็นไม้แก่นโคนโต 10 นิ้ว ตอนกลางและปลายโต 8 นิ้วครึ่ง อันเป็นอาวุธอาจใช้ทำร้ายถึงตายได้ แม้จำเลยจะตีเพียงทีเดียว ก็ตีอย่างแรง จนกะโหลกศีรษะแตก ผู้เสียหายล้มลงไม่ได้สติ พูดไม่ได้ ลุกไม่ขึ้น ต่อมา 2 วันก็ตาย เพราะบาดแผลที่ถูกตี ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยฆ่าผู้เสียหายโดยเจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2503 จำเลยใช้กำลังชกต่อยเตะผู้ตาย ถูกบริเวณหน้าผู้ตายล้มหงายหมดสติ ศีรษะฟาดกับพื้นถนนแข็ง กะโหลกศีรษะแตกถึงตาย ดังนี้ ถือว่าการตาย เป็นผลที่บังเกิดเนื่องจากการกระทำของจำเลย ผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2503 จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ชนรถ 3 ล้อโดยประมาท ผู้ตายซึ่งโดยสารมาในรถสามล้อตกกระเด็นลงไปล้มนอนอยู่ที่ทางรถราง พอดีรถรางแล่นมาถึง แล้วทับครูดผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยรถรางมิได้แล่นมาเร็วผิดธรรมดา กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานให้คนโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 491/2507 รถยนต์โดยสารสองคันแล่นตามกันมา คันหนึ่งขอทางจะแซงขึ้นหน้าอีกคันหนึ่งไม่ยอม กลับเร่งความเร็วขึ้นเพื่อแกล้งรถยนต์คันที่ขอทาง รถยนต์ทั้งสองคันจึงได้แล่นแข่งกันมาด้วยความเร็วสูง เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในถนนซึ่งแคบและเป็นทางโค้ง เป็นการเสี่ยงต่ออันตราย รถยนต์คันขอทางเฉี่ยวกับรถยนต์บรรทุกคันหนึ่งซึ่งจอดแอบข้างทาง แล้วเซไปปะทะกับรถยนต์คันที่แข่งขันมานั้น ตกถนนพลิกคว่ำ คนโดยสารได้รับอันตรายถึงสาหัส ต้องถือว่าคนขับรถยนต์โดยสารทั้งสองคนนั้น กระทำโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1012/2507 จำเลยขับรถยนต์จี๊บซึ่งอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์คือ ห้ามล้อมือใช้การไม่ได้ ห้ามล้อเท้าใช้ได้เพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ด้วยความเร็วสูงประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเหตุให้ชนผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ตัดหน้าจำเลยตรงสี่แยก จนถึงแก่ความตายนั้น แม้จะฟังว่าเป็นความผิดของผู้ตายด้วยก็ดี แต่ถ้าหากจำเลยใช้รถที่มีห้ามล้อดี ขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกินกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด รถก็จะไม่ชนกันแล้ว จำเลยก็ต้องมีผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1250/2508 จำเลยขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วเกินกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถอีกคันหนึ่งขับล้ำเข้าไปในสี่แยก โดยฝ่าฝืนเครื่องหมายหยุด การที่จำเลยขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วเกินกำหนด และไม่ชลอให้ช้าลงบ้าง เป็นเหตุให้รถชนกัน ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยได้กระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 895/2509 จำเลยเอาก้อนอิฐขว้างปาผู้เสียหาย ผู้เสียหายหลบ ก้อนอิฐไม่ถูกตัวผู้เสียหาย แต่ตัวผู้เสียหายเซไป มือจึงฟาดถูกข้างเรือทำให้ปลายมือบวมยาว 4 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร และเจ็บบริเวณศีรษะ ถือได้ว่าอันตรายแก่กายนี้ เนื่องจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 295 (ดู ฎ 658/2536)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 762/2510 จำเลยขับรถยนต์ประจำทาง ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์แล่นตามหลังไปทางเดียวกัน รถของผู้เสียหายแล่นอยู่ในช่องเดินรถด้านขวา ส่วนรถของจำเลยแล่นอยู่ช่องเดินรถด้านซ้าย รถของจำเลยได้ผ่านรถประจำทางที่จอดอยู่ ออกไปทางช่องเดินรถด้านขวาอย่างกระทันหัน โดยไม่เดินรถให้ช้าลงพอควร และไม่ได้ให้สัญญาณแตร ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก  พ.ศ.2477 มาตรา 13,32 รถของผู้เสียหายที่แล่นตามหลัง ไม่สามารถหลบหลีกได้ เป็นเหตุให้กะบังหน้ารถของผู้เสียหายด้านซ้าย กระแทกกันชนด้านขวาของรถจำเลย รถของผู้เสียหายแฉลบล้มลง ตัวผู้เสียหายกระเด็นไปถูกล้อรถยนต์ ซึ่งแล่นสวนทางมาดันครูดไปตามถนน ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 779/2510 อย่างไรจึงถือว่ากระทำโดยประมาท อาวุธปืนของจำเลยเป็นปืนแก๊ปชนิดทำขึ้นเอง ที่ไม่มีความมั่นคงแข็งแรง จำเลยได้บรรจุแก๊ปดินปืน กระสุนปืน ทั้งยังได้ขึ้นไกปืนไว้อีกด้วย การที่จำเลยนำปืนแก๊ปที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าวนี้ ไปพิงไว้ที่ฝาห้องใกล้ประตูเข้าออก ย่อมเห็นได้ว่าเสี่ยงต่ออันตรายที่ไกปืนซึ่งขึ้นไว้ หากถูกกระเทือนเข้ากระสุนปืนที่จำเลยบรรจุไว้ก็จะลั่นออกไป อย่างนี้ จึงหาใช่วิสัยของปกติชนจะพึงกระทำไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาท ต่อมาจำเลยได้ปิดประตูห้องโดยแรง ปืนที่พิงอยู่ได้ล้มกระแทกพื้น ทำให้ปืนลั่น กระสุนจึงถูกผู้เสียหายซึ่งอยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้นได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1326/2510 ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดรถ ก็จะไม่ชนกัน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ถ้ารอให้รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับมาทางตรงผ่านไปก่อน รถก็จะไม่ชนกัน การที่เกิดชนกันขึ้น จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย จึงเป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 534/2511 จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ แซงรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3 ขับ แล้วเกิดไปเฉี่ยวกับล้อหลังของรถแทรกเตอร์ซึ่งจำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้รถแทรกเตอร์เสียหลักขวางถนน รถแทรกเตอร์จึงถูกรถบรรทุกชนเอา และทำให้คนบนรถแทรกเตอร์ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส การตายและบาดเจ็บสาหัส ย่อมเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยที่ 2 ผู้เดียวจำเลยที่ 1 และ 3 ไม่มีความผิด / ตามพฤติการณ์เช่นนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 แม้จะถือว่าเป็นผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 9 ด้วย ก็ถือเป็นกรรมเดียวกันซึ่งผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกระทง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 998/2525 ลูกจ้างขับรถแทรกเตอร์ของจำเลยในเวลากลางคืน โดยไม่จุดโคมไฟแสงแดงที่ท้ายรถ และที่ปลายสุดของผาลไถซึ่งยื่นล้ำข้างท้ายของรถ เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถชนกัน แต่บุตรโจทก์ก็มีส่วนประมาทอยู่ด้วย คือขับรถตามหลังมาด้วยความเร็วสูง มิได้ใช้ความระมัดระวังพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันท่วงที หากมีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า แต่ลูกจ้างจำเลยประมาทมากกว่า จึงให้จำเลยรับผิด 2 ใน 3 ส่วน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3088/2527 จำเลยที่ 1 ขับรถตัดหน้ารถยนต์ผู้อื่น ในระยะกระชั้นชิด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 52 วรรคแรก และไม่ให้สัญญาณก่อนเลี้ยว ฝ่าฝืน ม.36 จนรถที่จำเลยที่ 2 ขับมาในเส้นทางของตนตามปกติ ชนกับรถของจำเลยที่ 1 ดังนี้ เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 โดยตรง  หาใช่เพราะเหตุสุดวิสัย หรือเป็นอุบัติเหตุไม่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2528 ผู้ตายถูกยิงได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ 9 เดือนเศษ เมื่อความตายสืบเนื่องมาจากบาดแผลที่ถูกยิง แม้จะเนื่องจากการรักษาไม่ดีจนบาดแผลติดเชื้อ ก็เป็นผลธรรมดา อันสืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายโดยเจตนา จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา (เจตนาฆ่า และผลเกิดคือความตาย สมเจตนา ไม่ใช่ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตามาตรา 63 การวินิจฉัย ดูเพียงเรื่องผลโดยตรงและเหตุแทรกแซง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2680/2531 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่รถทุกเส้นทางที่มาบรรจบทางร่วมทางแยก จะต้องลดความเร็วลงให้อยู่ในอัตราความเร็วต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายอันอาจเกิดจากการชนกันระหว่างรถที่กำลังแล่นผ่าน หาใช่ว่าผู้ที่ขับมาในทางเอกจะใช้ความเร็วในอัตราสูง โดยขับผ่านทางร่วมทางแยกไปโดยปราศจากความรั้งรอ ไม่ว่าจะมีรถในทางเดินรถทางโทแล่นมาถึงพร้อมกันหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขับรถแล่นเข้าไปในทางร่วมที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูง ทั้งที่ควรลดความเร็วลงเพื่อหลีกเลี่ยง มิให้เกิดเหตุขึ้น ทำให้ชนกับรถคันที่จำเลยที่ 2 ขับมา เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บ ย่อมถือได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความประมาทของจำเลยที่ 1ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3192/2531 จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกหินและทรายหนัก 13 ตัน ผ่านทางแยกทางร่วม สองข้างทางเป็นร้านค้า และบ้านคนอยู่อาศัย ทั้งมีเด็กๆ กำลังวิ่งเล่นอยู่ ด้วยความเร็วประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มิได้ลดความเร็วลงเลย เป็นการขับรถโดยประมาท แม้เด็กชาย ส. ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถจำเลยในระยะ 40 เมตร แต่ถ้าจำเลยไม่ขับรถเร็ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายวิ่งข้ามถนนในระยะ 40 เมตร จำเลยย่อมหยุดรถได้ทัน การที่จำเลยขับรถชนผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 657/2532 จำเลยใช้ไม้ตีผู้ตาย เมื่อผู้ตายล้มลงก็เข้าไปกระทืบซ้ำ และเมื่อจำเลยต้อนผู้ตายไปติดอยู่ที่รถปิกอัพ จำเลยก็จับศีรษะผู้ตาย โขกกับเสาเหล็กโครงหลังคารถปิกอัพ ยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาฆ่า คงถือได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้าย ก่อนถูกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายยังมีอาการปกติดีอยู่ กลับถึงแก่ความตายหลังจากถูกจำเลยทำร้ายเพียง 17 ชั่วโมง แม้แพทย์เห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็ง มิได้ตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้าย ก็ถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกจำเลยทำร้าย เพราะทำให้ถึงแก่ความตายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จำเลยผิด ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก
-          & ไม่ใช้ทฤษฎีผลธรรมดา เพราะไม่ใช่ผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ ตาม มาตรา 63 แสดงว่าศาลไม่ได้มองว่า มาตรา 290 เป็นบทหนักของ มาตรา 295 ส่วนโรคตับแข็ง เป็นเหตุที่มีอยู่ก่อนทำร้าย ไม่ใช่เหตุแทรกแซง แม้โรคตับแข็งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ถึงแก่ความตายอย่างรวดเร็ว จำเลยยังคงต้องรับผิด เพราะการกระทำของจำเลยเป็นเหตุโดยตรง ตามหลัก Contributory cause คือมีหลายเหตุ และเหตุเหล่านั้นทำให้เกิดผลขึ้น ประกอบกับหลัก “The Thin – Skull Rule” คือผู้กระทำผิดต้องยอมรับเหตุอันมีในตัวผู้เสียหาย ตามสภาพที่ผู้เสียหายเป็นอยู่
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 461/2536 การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นแพทย์ และไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา ได้ฉีดและให้ผู้ตายกินยาปฏิชีวนะ ประเภทเพนิซิลลิน โดยผู้ตายมีอาการหมดสติแทบจะทันใด หลังจากจำเลยให้กินยาและฉีดยา และถึงแก่ความตายหลังจากนั้น ประมาณ 3 ชั่วโมง โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายรับการฉีดยาจากสถานพยาบาลอื่นมาก่อนมีอาการเช่นนั้น ถือว่าความตายเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองให้กินยาและฉีดยาเพนิซิลลิน จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2703/2537 จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์กระบะจะผ่านทางรถไฟ ด้วยความเร็วสูง ลอดเครื่องกั้นผ่านทางรถไฟ จนเป็นเหตุให้รถยนต์กระบะเกิดชนกับขบวนรถไฟขึ้น แล้วมีคนที่นั่งมาในรถยนต์กระบะถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับขบวนรถไฟ มิได้หยุดรถก่อนถึงถนนที่จะตัดกับทางรถไฟ โดยที่ยังไม่ปรากฏสัญญาณอนุญาตให้ขบวนรถไฟผ่านได้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ เมื่อเกิดการชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 2 ขับมา จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขับขบวนรถไฟโดยประมาท ต้องรับผิดในผลแห่งความตายของคนที่นั่งมาในรถยนต์กระบะด้วยเช่นกัน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7574/2537 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกระสุนปืน ถูกที่อกแถบซ้ายด้านข้างระดับนมทะลุกะบังลม ม้าม กระเพาะอาหาร ไขสันหลังและฝังอยู่ที่ไขสันหลังแพทย์ผ่าตัดเอากระสุนปืนออกไม่ได้ทำให้ขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวร่างกายทอนล่างไม่ได้ ผู้ตายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 84 วัน บาดแผลในช่องท้องหายจึงออกจากโรงพยาบาลไปรักษาตัวที่บ้าน เพราะมีบาดแผลที่บริเวณหลังและสะโพก  เนื่องจากผู้ตายนอนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานานจึงทำให้เกิดบาดแผล ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายหลังออกจากโรงพยาบาลประมาณ 2 เดือนด้วยสาเหตุระบบหายใจและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ดังนี้แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ผู้ทำการรักษาผู้ตาย จะมิได้ยืนยันว่าสาเหตุการตายเกิดจากการที่ผู้ตายเป็นอัมพาต แต่การที่ผู้ตายต้องนอนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานานเพราะเคลื่อนไหวร่างกายท่อนล่างไม่ได้ เนื่องจากขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาต จนทำให้เกิดบาดแผลที่บริเวณหลังและสะโพก ย่อมแสดงให้เห็นว่าสุขภาพของผู้ตาย ภายหลังจากรักษาบาดแผลในช่องท้องหาย แล้วอยู่ในสภาพแย่มาก อาการพิการร้ายแรงเช่นนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของร่างกายส่วนอื่น ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหายใจ และการไหลเวียนโลหิต อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ถือได้ว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 598/2538 จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง โดยประมาทน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน ไม่ขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย ในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ ดังนั้นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์นำสืบ หรือตามที่จำเลยนำสืบ ก็ยังได้ชื่อว่าจำเลยมีส่วนประมาทอยู่นั่นเอง / เมื่อเปรียบเทียบร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ทั้งสามคัน แสดงให้เห็นว่ารถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอย่างแรง แล้วถึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ทั้งปรากฏว่ามีรอยเบรกรถจำเลยยาวถึง 12 เมตร แสดงว่าขณะรถจำเลยชนท้ายรถ ส. น่าจะเป็นเพียงการลื่นไถลหลังจากที่จำเลยใช้ห้ามล้อยามถึง 12 เมตรแล้ว แรงชนจากรถจำเลย จึงไม่มากนัก มีผลเพียงทำให้ ก.และ ท.ซึ่งนั่งอยู่หน้ารถจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจากจุดชนมากกว่า ก. และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ แม้จำเลยจะมิได้ขับรถมาชนท้ายรถ ส.ผู้ตายทั้งสอง ก็ถึงแก่ความตายเนื่องจากรถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอยู่นั่นเอง ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสอง  มิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดย ประมาทของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตาย คงมีความผิดเพียงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ก. และ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1617/2539 ขณะที่ผู้ตายเดินไปที่หัวเรือเพื่อจะขึ้นท่า ถูกจำเลยซึ่งยืนอยู่ที่ท่าชกถูกที่ใบหน้า 1 ที จากนั้นทั้งผู้ตายและจำเลยตกลงไปในน้ำทั้งคู่ และต่างได้ชกกันในน้ำต่อไปประมาณ 4 ถึง 5 นาที จึงได้เลิกกัน ผู้ตายถูกกระแสน้ำพัดไปติดหลักไม้ไผ่ใกล้ที่เกิดเหตุ มีคนช่วยนำผู้ตายขึ้นจากน้ำ และหมดสติไป และถึงแก่ความตาย เพราะขาดอากาศหายใจในเวลาต่อมา เห็นว่า ถ้าหากจำเลยไม่ชกผู้ตาย และเมื่อผู้ตายและจำเลยตกลงไปในน้ำแล้ว ไม่มีการทำร้ายกันต่อไปอีก ผู้ตายคงไม่ถึงแก่ความตายเพราะขาดอากาศหายใจ การตายของผู้ตาย เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยย่อมผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 978/2540 จำเลยขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น และขับรถด้วยความเร็วสูง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทอันเป็นการกระทำ ที่เกี่ยวเนื่องกันและก่อให้เกิดผลโดยตรง ที่ทำให้รถคันที่จำเลยขับข้ามเกาะกลางถนน ไปชนรถคันอื่นและบ้านของผู้อื่นได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับอันตรายแก่กาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 7663/2540 ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายร่างกายโดยใช้มีดพร้าฟันบริเวณลำคอ 2 ครั้ง จนระบบหายใจเป็นอัมพาต และถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุประมาณ 56 วัน ปรากฏตามรายงานการชันสูตรพลิกศพของแพทย์ว่า การตายของผู้ตายเกิดจากภาวะหายใจล้มเหลวจากปอดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากระบบหายใจเป็นอัมพาต อันเนื่องจากไขสันหลังช่วงคอถูกทำลาย ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้ายทั้งสิ้น และผู้ตายถึงแก่ความตาย ขณะที่ยังต้องรักษาอาการ และไม่ปรากฏว่ามีเหตุพิเศษอื่นใดเกิดขึ้นกับผู้ตายอีก การตายของผู้ตายจึงเป็น “ผลธรรมดา” ที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้าย
-          & จำเลยมีเจตนาฆ่า และผลคือความตาย สมเจตนาจำเลย ความตายจึงไม่ใช่ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็น ตาม มาตรา 63 & คดีมีประเด็นว่าเป็นผลโดยตรงหรือไม่เท่านั้น ศาลวินิจฉัยว่าเป็นผลโดยตรง
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1185/2543 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ยิง เป็นการกระทำโดยเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้ปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย เพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าว มีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย (จำเลยที่ 1 ผิด มาตรา 288, 371, 376 จำเลยอื่นผิด มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83)

-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล กรณีไม่ใช่เหตุโดยตรงตามทฤษฎีเงื่อนไข
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 717/2509 จำเลยที่ 1 ขับรถเข้ามาขวางทางแล่นในช่องของจำเลยที่ 2 โดยกระชั้นชิด แม้จะขับรถเร็วน้อยกว่า ก็ต้องชนอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นความประมาทของจำเลยที่ 2 ไม่ / ในกรณีที่รถแล่นคนละช่อง ต้องรักษาช่องเดินรถของตน เมื่อจะเปลี่ยนช่อง ต้องระวังมิให้กีดขวางรถที่แล่นอยู่ในช่องนั้น ๆ เมื่อจะเลี้ยวรถทางซ้าย จะต้องแล่นชิดขอบทางด้านซ้าย จะเลี้ยวได้ เมื่อสามารถกระทำได้โดยปลอดภัย ถ้าหากแล่นเข้าไปกีดขวางในช่องทางเดินรถอื่นแล้ว อันตรายเกิดขึ้น เพราะการกระทำของตนจะต้องรับผิด เมื่อให้สัญญาณเลี้ยวแล้ว จะเลี้ยวทันทีไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะป้องกันอันตรายได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2679/2515 (อ เกียรติขจร 211) ผู้ตายถูกกระสุนปืนหลายชนิด แม้จะฟังได้ว่าจำเลยยิงไปทางที่ผู้ตายอยู่ แต่ไม่มีพยานหลักฐานแสดงว่าผู้ตายถูกกระสุนปืนของจำเลย จะสันนิษฐานว่าจำเลยยิงถูกผู้ตาย และลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายไม่ได้
-          & ข้อเท็จจริง ไม่พอฟังว่าผู้ตาย ถูกกระสุนของจำเลย เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย Ø แต่หากมีการยิงเพียงสองนัด โดยไม่ใช่ตัวการร่วม ยิงเข้าไปถูกตำแหน่งสำคัญทำให้ถึงตายได้ พร้อมกัน การยิงของจำเลยทั้งสอง ทำให้ถึงแก่ความตายได้ทั้งคู่ เป็นเหตุโดยตรง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3426/2516 จำเลยขับเรือเป็ดขนาดใหญ่มีกำลัง 10 แรงม้า แล่นตัดกระแสน้ำ เรือหางยาวมีกำลัง 25 แรงม้าแล่นตามกระแสน้ำมาทางขวาของเรือจำเลยด้วยความเร็วสูง คนขับเรือหางประมาท เป็นเหตุให้เรือสองลำชนกัน มีคนถึงแก่ความตาย แม้ตามกฎกระรวง (พ.ศ.2498) ออกตามความใน พ.ร.บ. ป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2497 หมวด 3 ข้อ 20 จำเลยจะต้องหลีกทางให้เรือหางยาวก็ตาม แต่เป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะแล่นเรือหลีกทางให้เรือหางได้ การที่จำเลยไม่หลีกทางให้เรือหางยาว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยไม่มีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท และไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2334/2526 แม้จำเลยจะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง ขับชิดขวา ไม่เปิดไฟโคมใหญ่ และไม่ให้สัญญาณ  ถ้าโจทก์ไม่ขับรถยนต์ล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามาชนรถยนต์ที่จำเลยขับในเส้นทางเดินรถของจำเลย ก็ไม่เป็นเหตุให้ชนกันได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4573/2528 ที่เกิดเหตุเป็นสี่แยก จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ตามถนนซึ่งเป็นทางเอกเข้ามาในทางร่วมก่อน แล้วรถยนต์เก๋งที่จำเลยที่ 3 ขับตามถนนซึ่งเป็นทางโทแล่นเข้ามาในทางร่วมชนรถจักรยานยนต์บริเวณท้ายรถ รถจักรยานยนต์แฉลบเข้าไปในช่องทางเดินรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 2 ขับสวนทางมา เป็นเหตุกระทันหันกระชั้นชิด แม้จำเลยที่ 2 จะใช้ความเร็วตามกฎหมาย ก็ไม่อาจห้ามล้อลดความเร็วหลีกเลี่ยงการชนรถจักรยานยนต์ได้ การที่เกิดชนกันขึ้น ทำให้ผู้เสียหายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัส จึงมิใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 และที่ 2
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4721/2529 รถจำเลยที่ 2 ขับ จอดอยู่กลางถนนเคลื่อนที่ไม่ได้ เนื่องจากเบรกรถอย่างแรง เป็นเหตุให้รถหมุนกลับ เครื่องยนต์ดับและเกียร์ค้างได้เปิดไฟกระพริบหน้าหลัง และเปิดไฟใหญ่หน้ารถไว้ด้วย เพื่อเป็นที่สังเกต การที่จำเลยที่ 1 ขับรถมาโดยเร็ว แล้วชนรถที่จอดอยู่ เป็นเหตุให้มีคนได้รับอันตรายแก่ร่างกายและอันตรายสาหัส จึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 628-629/2539 (คดีละเมิด) เหตุรถชนกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งนั่งมาในรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับได้รับอันตรายสาหัสเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว โดยขับรถตัดหน้ารถที่จำเลยที่ 2 ขับโดยกะทันหัน หาเป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความเร็วสูงเกินอัตราที่กำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ ไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ประมาทเลินเล่อและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันที่จำเลยที่ 2 ขับย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2588/2541 (สบฎ สต 97) จำเลยติดตั้งตาโต่ง (เครื่องมือจับปลา) มานาน 10 ปี ชาวบ้านสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหตุเกิดเพราะผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำ และห่วงยางกระทบเสาตาโต่ง เป็นเหตุให้ผู้ตายตกไปในตาโต่ง โดยความประมาทของผู้ตาย การวางตาโต่งในคลองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่ผิด พรบ.การประมง และความตายไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยไม่ทำสัญญาณว่ามีการลงอวนไว้ หรือทำสิ่งป้องกันไว้ ก็ไม่ผิด มาตรา 291
-          จำเลยมีส่วนประมาท หรือไม่ เป็นประเด็นหนึ่ง แต่ประการสำคัญคือ ผู้ตายประมาท ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า แม้จำเลยจะทำสัญญาณ หรือทำสิ่งป้องกันไว้ ผู้ตายก็จะต้องประสบอุบัติเหตุดังกล่าวอยู่ดี เพราะผู้ตายเข้าไปบริเวณเครื่องมือจับปลาของจำเลย ทั้งที่เห็นชัดเจนอยู่แล้ว

-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล กรณีมีทั้งเหตุโดยตรง และไม่ใช่เหตุโดยตรงตามทฤษฎีเงื่อนไข
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 934/2535 การที่จำเลยที่ 1 ติดเครื่องยนต์รถจักรดีเซลคันเกิดเหตุ โดยมิได้ตรวจดูให้แน่ก่อน ว่าคันเร่งรอบเครื่องยนต์ คันเปลี่ยนอาการและคันบังคับการไฟฟ้าอยู่ในตำแหน่งที่ว่าง และลงจากรถจักรไป โดยไม่ได้ดับเครื่องยนต์ เป็นเหตุให้รถจักรดีเซลคันเกิดเหตุแล่นออกไปชนคนตาย บาดเจ็บ และทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยประมาทตามฟ้อง / ส่วนการที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 อ้างว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางขอให้เปิด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทาง นำรถผลักเบาบรรทุกอุปกรณ์การซ่อมทางเข้าไปในข้อนี้ แม้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทาง จะไม่มีผู้ใดยอมรับว่าเป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางก็ตาม แต่ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ก็สมเหตุสมผลรับฟังได้ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางไม่ขอให้เปิดเครื่องตกรางแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปเปิดเครื่องตกราง การที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกราง จึงนับว่ามีเหตุผลอันสมควรในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางนั้น การที่รถจักรดีเซลคันเกิดเหตุแล่นออกไป โดยไม่มีคนขับ และท่อไฟเกิดความเสียหายตามฟ้อง บุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2  ย่อมไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท

-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม เปรียบเทียบ (หนังสือรพี 2531 เนรุ่น 40/ 63) คดีละเมิด
-          Re Polemis and Furness Withy & Co. จำเลยต้องรับผิดในผลโดยตรง แม้จำเลยจะไม่อาจคาดเห็นถึงผลดังกล่าวได้เลยก็ตาม จำเลยต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของจำเลย ผู้ทำกระดานไม้ตกลงไปใต้ท้องเรือ ทำให้เกิดไฟไหม้เรือ เพราะมีไอน้ำมันเบนซินระเหยอยู่ไต้ท้องเรือ ถึงแม้จำเลยจะไม่อาจคาดเห็นถึงการเกิดไฟไหม้ (Direct Consequence)
-          Wagon Mound (No. 1) การที่ท่าเทียบเรือของโจทก์ถูกไฟไหม้ เพราะสะเก็ดไฟจากช่างอ๊อกของโจทก์ กระเด็นไปถูกเศษด้ายที่อยู่บนแผ่นไม้บาง ๆ แล้วติดไฟ ลุกไหม้น้ำมันเตาที่ลูกจ้างของจำเลยทำร่วง นองอยู่เหนือผิวน้ำบริเวณที่เกิดเหตุ เป็นเหตุที่ไม่อาจคาดเห็นได้ ไม่ต้องรับผิด (Reasonably Foreseeable)
-          Wagon Mound (No. 2) เป็นคดีสืบเนื่องจากคดีแรก โจทก์คดีนี้เป็นเจ้าของเรือสองลำที่ถูกไฟไหม้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงต่างจากคดีแรก ในประเด็นว่าจำเลยอาจคาดเห็นได้ว่าน้ำมันเตาที่จำเลยทำรั่วนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจะติดไฟขึ้นที่ความร้อน ประมาณ 170 ฟาเรนไฮด์ ศาลให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์คดีนี้ โดยเหตุผลว่า แม้ความเสียหายจะ ไม่น่าจะเกิดเป็นอย่างยิ่งแต่หากเป็นที่คาดเห็นได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายนั้นด้วย

-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม กรณีผลธรรมดา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1116/2502 จำเลยต่อยถูกตาผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ตาผู้เสียหายบอด แม้จะไม่ได้ตั้งใจทำร้าย ให้ถึงตาบอด ผิดตาม มาตรา 297 (1)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 313/2529 อันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ม.295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำ โดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ตัวการที่ร่วมทำร้าย แม้จะไม่มีเจตนาให้ผู้นั้นได้รับอันตรายสาหัส หรือมิได้เป็นผู้ลงมือกระทำให้เกิดผลขึ้น ก็ต้องรับผิดในผลนั้นด้วย / ระหว่างที่จำเลยทั้งสามรุมต่อยผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ใช้มีดตัดกระดาษกรีดใบหน้าผู้เสียหาย เป็นแผลเสียโฉมติดตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผิดฐานเป็นตัวการร่วมทำร้าย จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม ม.297 (4) ด้วย แต่ศาลลงโทษน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2207/2532 แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นคนใช้อาวุธปืนยิง ช.ด้วยตนเอง แต่พวกของจำเลยรวมทั้งจำเลยเอง ก็มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยในการปล้นทรัพย์ “จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า” พวกของจำเลยอาจใช้อาวุธปืนยิงผู้ใดผู้หนึ่งในรถคันเกิดเหตุ หากผู้นั้นขัดขืนเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ เมื่อพวกของจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ช.แต่ ช.ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ด้วย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2461-2462/2521 ขณะเข้าปล้น จำเลยที่ 1 ถือปืนสั้น จำเลยที่ 2 ถือปืนยาว ต่อมาในขณะถูกจับพบปืนลูกซองสั้นข้างตัวจำเลยที่ 1 ค้นตัวพบกระสุนปืนลูกซอง 2 นัด ส่วนจำเลยที่ 2 มีปืนลูกซองยาวอยู่ที่หว่างขา ค้นตัวพบกระสุนปืนลูกซอง 2 นัด แม้ปืนลูกซองยาวจะเป็นปืนของเจ้าทรัพย์และมีทะเบียน แต่จำเลยที่ 2 นำมาไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเช่นนี้ก็เป็นความผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ / จำเลยทั้งสองร่วมทำการปล้นทรัพย์ แล้วบังคับเอาตัวเจ้าทรัพย์ และบุตรไปเป็นตัวประกัน แม้ที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์จะอยู่ในเขตหมู่ 4 แต่ตำรวจติดตามพบคนร้ายในคืนนั้นเอง ในเขตหมู่ 9 เกิดยิงต่อสู้กัน เป็นเหตุให้บุตรผู้เสียหายถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย ก็ต้องถือว่าขณะนั้น การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอน เพราะยังอยู่ในระหว่างที่ถูกคนร้ายขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายและบุตร และเพื่อให้ความสะดวกแก่การพาทรัพย์ที่ถูกปล้นไป ทั้งเพื่อให้คนร้ายพ้นจากการจับกุม แม้ไม่ได้ความชัดว่าบุตรผู้เสียหายถึงแก่ความตาย เพราะกระสุนปืนของฝ่ายจำเลยหรือฝ่ายตำรวจ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกระทำการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย / การที่จำเลยยิงไปโดยไม่เห็นตัวตำรวจ เพียงแต่รู้ว่าตำรวจยิงมาเท่านั้น เป็นการยิงสุ่มๆ ไปเพื่อขัดขวางมิให้ตำรวจเข้าจับกุม จึงมีความผิดฐาน ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่มีผิดฐานพยายามฆ่า



-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม กรณีไม่ใช่ผลธรรมดา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1412/2504 ห้องที่จำเลยวางเพลิงเป็นตึกแถว จำเลยเช่าเปิดเป็นร้านขายยาและตรวจรักษาโรคในตอนกลางวัน ส่วนในตอนกลางคืนจำเลยกับครอบครัวไปนอนที่อื่น ไม่มีคนอยู่อาศัยในห้องนั้น แต่มีห้องติดกันซึ่งเป็นตึกแถวเดียวกัน มีคนเช่าอยู่อาศัยหลับนอน ดังนี้ ตึกแถวที่จำเลยวางเพลิง ย่อมเป็นตึกแถวที่มีคนอยู่อาศัย จำเลยย่อมมีความผิดตาม มาตรา 218 (1) มีผู้เข้าไปช่วยดับเพลิง แล้วถูกไฟลวกตาย การเข้าไปช่วยดับเพลิง เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายเอง หาใช่การวางเพลิงของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายไม่ จำเลยไม่มีความผิดตาม มาตรา 224 / (อ เกียรติ 4/221) ผู้ตายสมัครใจเข้าไปช่วยดับเพลิง แล้วถูกไฟลวก อยู่ได้ 5 วัน จึงตาย เช่นนี้จำเลยไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม มาตรา 63 ประกอบ มาตรา 224 แต่รับผิดเท่าที่ลงมือกระทำไปแล้ว คือ มาตรา 218 (1)
-          & ความตายในมาตรา 224 เป็นผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ใช้หลักผลธรรมดาตาม มาตรา 63 และกรณีนี้ผลเกิดจากเหตุแทรกแซง โดยตัวผู้เสียหาย หรือผู้ตายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก สมัครใจเข้าเสี่ยงภัยนั้นเอง เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายไม่ได้ จึงตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
-          Ø (อ เกียรติขจรฯ 8/307) หากผู้ตายเป็นเจ้าของทรัพย์ ตามแนว Common Law ถือว่าการที่เจ้าทรัพย์เข้าไปเอาทรัพย์ ถือว่าคาดหมายได้)
-          Ø หากผู้ตายเป็นเจ้าพนักงานดับเพลิง และการวางเพลิงทำในที่ชุมชนแออัด ซึ่งคาดหมายได้ว่าเจ้าพนักงานดับเพลิงจะต้องเข้าไปทำการดับเพลิง โดยพนักงานดับเพลิงได้ใช้ความระมัดระวังอย่างดีแล้ว เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย ควรถือว่าเป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ แต่หากวางเพลิงโกดังเก็บสินค้าในป่า ซึ่งไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะมีการเข้าไปดับเพลิง อาจถือว่าเป็นผลปกติไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม กรณีเกิดผลฉกรรจ์ แต่ไม่ใช่ผลโดยตรง ไม่ต้องวินิจฉัยมาตรา 63 อีก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 153/2506 รถยนต์ที่จำเลยขับ เป็นรถประเภทสาธารณะรับจ้างบรรทุกคนโดยสารและของ จำเลยบรรทุกคนโดยสารเกินจำนวนซึ่งนายทะเบียนกำหนด ถึงกับเกาะข้างรถและท้ายรถ และขึ้นไปอยู่บนหลังคารถ เพราะคนในรถเบียดเสียดกันแน่น และยังมีน้ำแข็งก้อนใหญ่บรรทุกไปด้วยสิบกว่าก้อน ถือได้ว่ารถของจำเลย มีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยายพาหนะนั้น ตามมาตรา 233 แล้ว / จำเลยขับรถยนต์ไปโดยปลอดภัยเป็นระยะทางถึง 30 กิโลเมตร แต่เนื่องจากจำเลยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้มาก จึงเป็นเหตุให้รถคว่ำ คนโดยสารตายและรับอันตรายสาหัส จะลงโทษตามาตรา 238 ไม่ได้ เพราะความตายหรืออันตรายสาหัสนั้น ไม่ใช่เรื่องมาจากเหตุที่มีการบรรทุก แต่เนื่องมาจากเหตุที่จำเลยขับรถเร็ว อันเป็นการประมาท (ผิด มาตรา 233 ในส่วนของการบรรทุกน่าจะเกิดอันตราย และผิด มาตรา 291 ในส่วนของการขับรถเร็วโดยประมาท แยกต่างหากจากกัน แต่เป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 857/2536 หลังจากจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย และจำเลยกับผู้เสียหายสวมใส่เสื้อผ้าแล้ว จำเลยได้ต่อยเตะจนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้กระทำต่อเนื่องกัน หากแต่ขาดตอนจากการกระทำชำเราแล้ว แม้ผู้เสียหายจะได้รับอันตรายสาหัส ก็มิใช่ผลโดยตรงจากการกระทำชำเรา อันจะเป็นเหตุให้ต้องได้รับโทษหนักขึ้น ตาม มาตรา 277 ทวิ




-          ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล กรณีเหตุแทรกแซง
-          & แนวคำพิพากษาฎีกาของศาลไทย วินิจฉัยว่าหากเหตุแทรกแซงนั้น วิญญูชนทั่วไปคาดหมายได้ว่าเป็นเหตุแทรกแซงตามปกติ ที่อาจเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นั้น แม้เหตุแทรกแซงนั้นจะทำให้เกิดผลขึ้นโดยตรง ก็ไม่ตัดความรับผิดของผู้กระทำผิดคนแรก ไม่ว่าเหตุแทรกแซงนั้นจะเกิดขึ้นจากสิ่งใดก็ตาม
-          & (หนังสือรพี 2531 เนรุ่น 40/63) คดีละเมิด โจทก์ถูกไฟครอก เพราะตะเกียงน้ำมันที่จำเลยแขวนไว้ที่ปากหลุมที่จำเลยขุด ตกลงไปในหลุมแล้วเกิดระเบิด เพราะจำเลยอาจคาดหมายได้ว่าเด็กอาจมาเล่นตะเกียงนั้นได้

-          เหตุแทรกแซงที่ ไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ กับผลที่เกิดขึ้น
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 437/2500 ใช้ขวานพกเล็ก ๆ ฟันศีรษะ 1 ที แผลเล็กน้อย ถ้ารักษาตามวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ไม่ทำให้ถึงตายได้ แต่โดยเหตุที่ปล่อยแผลไว้สกปรก จึงเกิดหนองและเป็นพิษขึ้น ตายใน 3 วัน เป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 442/2502 ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่ถูกจำเลยแทง แม้จะเนื่องจากการรักษาไม่ดี เพราะบาดแผลเน่า จึงเป็นพิษก็ดี แต่ก็เป็นผลธรรมดา อันสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-          & จำเลยมีเจตนาทำร้าย แต่ผลเกิดขึ้นถึงตาย ผ่านทฤษฎีเงื่อนไขมาแล้ว / การรักษาแล้วเกิดติดเชื้อ เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ ต้องรับผิดในผล คือ ทำร้าย + ตาย = มาตรา 290 โดยม 290 ไม่ใช่บทที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น ของ ม 295 เพราะอยู่คนละหมวดกัน ศาลไม่ใช้ทฤษฎีผลธรรมดา หรือ ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ม 63
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1395/2518 จำเลยตี ถ.มีแผลเล็กน้อย แต่ ถ.สลบ จำเลยเข้าในว่า ถ.ตาย จึงเอาผ้าขาวม้าของ ถ.ผูกคอ ถ.แขวนกับต้นไม้เป็นเหตุให้ ถ.ตาย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 290
-          & “ตอนตี” เจตนาทำร้าย ผิด มาตรา 295 / “ตอนแขวนคอ” เพราะคิดว่าตายแล้ว เท่ากับคิดว่าแขวนศพ ไม่ใช่เจตนาฆ่า เพราะไม่รู้ว่ายังไม่ตาย เป็นการสำคัญผิดตาม มาตรา 59 วรรค 3 / ความตายเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำร้าย และเข้าใจผิด เป็นผลโดยตรงจากการทำร้าย การเข้าใจผิดและนำไปแขวนคอ เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ ไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ต้องรับผิดในผล คือ เจตนาทำร้าย + ความตาย = มาตรา 290)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1548/2531 จำเลยที่ 1 ซึ่งเคยมีเรื่องทะเลาะกับผู้ตายมาก่อนใช้เหล็กตีที่หน้าผู้ตาย และใช้เหล็กแหลมแทงผู้ตายที่ช่องท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ อาจเล็งเห็นผลได้ว่าทำให้ถึงตายได้ และผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
-          Ø (อ เกียรติขจร 228) ผู้ตายได้รับการผ่าตัดหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเอาลำไส้เข้าที่เดิม ออกจากโรงพยาบาลได้เพียง 1 เดือนก็กลับมาใหม่ พบว่า ตับอักเสบรุนแรงมาก เหตุเกิดจากการถ่ายเลือดหลายครั้ง ทำให้ติดเชื้อไวรัส) จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา (จำเลยมีเจตนาฆ่า และผลก็เกิดขึ้นตรงตามเจตนา ผ่านทฤษฎีเงื่อนไขมาแล้ว / การรักษาแล้วเกิดติดเชื้อ เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ รับผิดในผล คือ เจตนาฆ่า + ตาย = มาตรา 288)

-          เหตุแทรกแซงที่ ตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ กับผลที่เกิดขึ้นเกิดจากบุคคลภายนอก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 659/2532 จำเลยใช้ของแข็งตีทำร้ายผู้ตาย แล้วได้มีการนำตัวผู้ตายไปรับการรักษา แพทย์ผู้รักษามีความเห็นว่าหากให้ผู้ตายรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป แล้วโอกาสที่ผู้ตายจะมีชีวิตรอดมีมากกว่าผู้ตายจะถึงแก่ความตาย ญาติผู้ตายกระทำให้การรักษาสิ้นสุดลง โดยการดึงเครื่องช่วยหายใจ และท่อช่วยหายใจออก แล้วพาผู้ตายกลับบ้าน และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรง ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลยโดยตรงไม่ เพราะเมื่อผู้ตายอยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์แล้ว ผู้ตายย่อมเป็นผู้อยู่ในสภาพที่มีโอกาสมีชีวิตอยู่รอดสูง จำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตาย
-          & ญาติผู้ตาย หากมีเจตนาฆ่า ผิด มาตรา 288 เช่นไม่มีเงินค่ารักษาและเล็งเห็นได้ว่าจะทำให้ตาย หรือหวังเงินประกันชีวิตผู้ตายโดยประสงค์ต่อผลให้ตาย Ø หากไม่มีเจตนาฆ่า แต่ตัดสินใจยุติการให้ผู้ตายได้รับการรักษา อย่างประมาทเลินเล่อ ผิด มาตรา 291 หากไม่เชื่อฟังหมอ คิดว่าผู้ตายไม่เป็นอะไรมาก อยากนำตัวไปรักษาเอง




-          ประเด็นเปรียบเทียบ เหตุแทรกแซง เรื่องการเสี่ยงภัยของผู้เสียหาย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 747/2489 จำเลยขับรถไฟโดยเมาและเร็วเกินขนาด ในเวลาเช้าหลีกที่สถานี เป็นเหตุให้รถชนกันน่าหวาดเสียว คนโดยสารโดดหนีเป็นเหตุให้ถึงตาย จำเลยย่อมมีผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 500/2498 จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทับนายทองผู้โดยสารตาย แม้จะได้ความว่านายทองโดดลงไปรถจึงทับก็ตาม แต่การที่นายทองโดดลงไปนั้น ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงอันตรายอันจะเกิดขึ้นฉะเพาะหน้า ความตายของนายทองเป็นผลใกล้ชิดกับเหตุแห่งการขับรถโดยประมาทของจำเลย ๆ จึงผิดตามมาตรา 252 (ป.อาญา มาตรา 291) อ้างฎีกาที่ 418/2481
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 114/2510 จำเลยไม่ได้ขับรถเร็ว และทางลากไม้ที่ขับมานั้น เป็นทางจำกัด บังคับให้ขับ โดยข้างหนึ่งเป็นคลอง อีกข้างหนึ่งเป็นเขาจะขับให้ห่างคลองไปอีกไม่ได้ เพราติดเขา การที่ล้อพ่วงเอียงนั้น ก็เนื่องจากที่ตรงนั้นเป็นหลุมเอาหินกองไว้ หินแตก เป็นเหตุให้ระดับล้อที่ผ่านไปทรุดต่ำลง และรถคันที่จำเลยขับก็ไม่ได้คว่ำ ถ้าผู้ตายไม่ด่วนตัดสินใจกระโดดจากรถเหมือนคนอื่น ก็คงไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด ดังนี้หาใช่ความประมาทของจำเลยไม่
-          (& เรื่องนี้ การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิด ไม่มีเจตนาและไม่มีพฤติการณ์ว่ากระทำโดยประมาท จึงไม่มีความผิด โดยหลักแล้ว ไม่ต้องพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ และผลเลย เพราะไม่มีการกระทำที่เป็นความผิด จึงไม่ต้องพิจารณาว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่หากจำเลยขับรถเร็วโดยประมาท แต่ไม่ถึงขั้นที่ผู้โดยสารจะต้องเสี่ยงภัยกระโดดลงรถ หากมีผู้กังวลเกินเหตุ กระโดดหนีลงทันที กรณีเช่นนี้ แม้จำเลยกระทำโดยประมาท แต่ไม่ใช่เป็นเหตุให้เกิดผล ตาย หรือสาหัส หรืออันตรายแก่กาย ไม่ผิด มาตรา 291 , 300 หรือ 390 ถือเป็นเหตุแทรกแซงจากตัวผู้เสียหายที่เสี่ยงภัยเกินปกติ)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1436/2511 จำเลยขับรถด้วยความประมาทชนเสาไม้ปักริมทาง แฉลบจะไปชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง อันเป็นการหวาดเสียวและใกล้อันตราย การที่ผู้ตายกระโดดลงจากรถ ในระยะกระชั้นชิดกับที่รถยนต์ จะชนเสาไฟฟ้า เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า และถึงแก่ความตาย ถือว่าเป็นผล อันเกิดใกล้ชิดกับเหตุที่จำเลยขับรถด้วยความประมาท จำเลยถึงมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3382/2542 (สบฎ สต 83) จำเลยบอกให้เด็ก (อายุ 14 ปีเศษ) ว่ายน้ำข้ามไป โดยบอกว่าจะลงมาช่วย คงเป็นเพียงคำชี้แนะ ไม่ใช่บังคับ เมื่อเด็กหญิงตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไปและจมน้ำ เพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว เป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยของเด็กหญิง ทั้งไม่ใช่ผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลย จำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย
-          & จำเลยบอกเด็กเช่นนั้น เป็นเหตุหนึ่งที่สำคัญ ทำให้เด็กตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไป การที่จำเลยบอกเด็ก เป็นสาเหตุโดยตรง
-          Ø เด็กตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไปเช่นนั้น เป็นเหตุแทรกแซง คือผู้เสียหายตัดสินใจเสี่ยงภัย อันเป็นเหตุที่คาดหมายได้ เพราะจำเลยชี้แนะ จำเลยน่าจะต้องรับผิด
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4563/2543 ชายเดินถอดกางเกงเข้าไปเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราหญิงในขณะที่หญิงไม่ได้สวมกางเกงและยืนพิงลูกกรงระเบียง ซึ่งสูงเพียงระดับสะโพก ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าหากหญิงขัดขืน อาจตกลงไปจากระเบียงถึงแก่ความตายได้ เมื่อหญิงขัดขืนตกลงจากระเบียงไปจนได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของชาย จึงเป็นความผิดตาม ม.288 อันเป็นความผิดบทหนัก
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4904/2548 ผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามถูกกักขังและถูกทำร้ายร่างกาย ในลักษณะการทรมานอยู่ในห้องพักที่เกิดเหตุ เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยไม่มีหนทางหลบเลี่ยงให้พ้นจากการถูกทรมาน หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้ เห็นได้ว่าผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตายต้องตกอยู่ในสภาพถูกบีบคั้นทารุณ ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน การทีผู้ตายตัดสินใจกระโดยจากห้องพัก เพื่อฆ่าตัวตายนั้น อาจเป็นเพราะผู้ตายมีสภาพจิตใจที่เปราะบางกว่าผู้เสียหายอื่น และไม่อาจทนทุกข์ทรมานได้เท่ากับผู้เสียหายอื่น จึงได้ตัดสินใจกระทำเช่นนั้นเพื่อให้พ้นจากการต้องทนทุกข์ทรมาน พฤติการณ์ฟังได้ว่า การตายของผู้ตายมีสาเหตุโดยตรงมาจากการถูกทรมาน โดยทารุณโหดร้าย Ø แม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตายสมัครใจเดินทางเข้ามาในประเทศไทยและอยู่รวมกันในห้องพักที่เกิดเหตุโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะเดินทางต่อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมิได้ถูกบังคับขู่เข็ญจากผู้ใด อันแสดงว่าเจตนาที่จะให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ มิได้มีมาตั้งแต่แรกก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตายติดต่อให้ญาติส่งเงินมาให้นางเจ้า ไป่ หลิง กับพวกแล้วไม่มีผู้ใดส่งเงินมาให้ตามที่ติดต่อไป นางเจ้า ไป่ หลิง และจำเลยทั้งสองกับพวกก็ได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายทั้งสาม และผู้ตายโดยใช้โซ่ล่ามและใส่กุญแจมือกักขังไว้ในห้องพักที่เกิดเหตุ และร่วมกันทำร้ายร่างกายด้วยวิธีการต่าง ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงเห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อบีบบังคับให้ญาติพี่น้องของผู้เสียหายและผู้ตายส่งเงินมาให้ เจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ได้เกิดขึ้นหลังจากโทรศัพท์ติดต่อให้ญาติพี่น้องส่งเงินมาให้แล้วไม่ได้รับเงินนั่นเอง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำการต่าง ๆ ดังกล่าวต่อผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา Øขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 2 อายุไม่เกิน 20 ปี นับว่ายังหย่อนต่อความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ตัวการสำคัญในคดี แต่เป็นเพียงผู้ถูกใช้ให้กระทำเพื่อหวังผลให้ได้ค่าไถ่ จึงสมควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา Ø หมายเหตุ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า แม้จำเลยที่ 2 จะพักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และผู้เสียหายทั้งสามกับผู้ตาย แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นต้นเหตุที่ทำให้ผู้ตายกระโดดจากห้องพัก ตกลงถึงพื้นจนถึงแก่ความตาย เพราะผู้เสียหายคนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน แต่กลับมิได้คิดฆ่าตัวตายเช่นเดียวกับผู้ตาย จึงยังไม่เป็นที่ยุติว่าผู้ตายกระโดดจากห้องพักเพื่อฆ่าตัวตาย เนื่องจากสาเหตุการถูกทรมาน แต่น่าจะเกิดจากสาเหตุอื่นมากว่า จึงฟังไม่ได้ว่าการตายของผู้ตายเกิดจากการถูกทรมานจากจำเลยที่ 2
-          (ขส อ 2522/ 7) ยิงปืนเข้าไปในรถประจำทาง คนหนึ่งโดดลงมา หัวแตกตาย คนยิงผิด มาตรา 288 + 80 + 59 2 (เล็งเห็นผล) การโดดลงมาตาย เป็นการเสี่ยงภัยโดยไม่สมควร ไม่ต้องรับผิดในความตาย (ทฤษฎีเงื่อนไข+เหตุแทรกแซงโดยผู้เสียหายเสี่ยงเกินปกติ เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายไม่ได้ ผู้ยิงไม่ต้องรับผิดในผลคือความตาย แต่รับผิดเฉพาะการกระทำของตนที่ทำไปแล้ว คือเจตนาฆ่า โดยเล็งเห็นผล เมื่อไม่มีผลเกิดจากเหตุดังกล่าว โดยตรง ผู้ยิงมีความผิดฐานพยายามฆ่า)

-          ประเด็นเปรียบเทียบ เหตุแทรกแซง เรื่องเจตนาระหว่างตัวการร่วม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1478/2527 จำเลยทะเลาะวิวาทและชกต่อยกับผู้ตาย แต่สู้ไม่ได้ จึงไปเรียก ส. กับ ข. มาช่วย ส. กับ ข.รุมชกต่อย จนผู้ตายยอมแพ้แล้ว เมื่อ ส.กับ ข. ใช้ไม้ตีผู้ตายอีก จำเลยเห็นว่ารุนแรงเกินไป จึงเข้าห้ามปราม ดังนี้ การร่วมกระทำผิดของจำเลย ย่อมยุติลงเพียงนั้น เมื่อผู้ตายวิ่งหนี ส. กับ ข. วิ่งไล่ตามไปและใช้ ไม้ตีจนถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำของ ส. กับ ข. โดยลำพัง ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา คงผิดตาม มาตรา 295 เท่านั้น (เหตุแทรกแซงที่ ตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ กับผลที่เกิดขึ้นเกิดจากการยุติเจตนาร่วม แล้วตัวการอื่นกระทำนอกเหนือเจตนา)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 368/2531 จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้าย ช. และ จ. พวกของผู้ตายก่อน ช. และ จ. วิ่งหนีไป โดยจำเลยกับพวก มิได้ติดตามไปทำร้ายซ้ำเติม เมื่อผู้ตายกับ ธ. ขี่รถจักรยานยนต์มาถึง จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้ตายกับ ธ. อีก โดยพวกจำเลยใช้ไม้ตีผู้ตายล้มลง แล้วจำเลยกับพวกเข้ารุมทำร้ายโดยจำเลยมิได้มีอาวุธ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีสาเหตุกับผู้ตายมาก่อน มูลเหตุที่จะทำร้ายผู้ตายก็มีเพียงว่า จำเลยกับพวกไม่ถูกกับคนในหมู่บ้านเดียวกับผู้ตายจึงทำร้ายฝากมา ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกทำร้ายผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย เพราะถูกพวกของจำเลยใช้ไม้และท่อนเหล็กตี จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย (เหตุแทรกแซงที่ ไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ กับผลที่เกิดขึ้นตัวการอื่นกระทำนอกเหนือเจตนา)
-          & จำเลยรับผิด                      เจตนาร่วมทำร้าย (มาตรา 83+295) + ผลคือความตาย = ผิด มาตรา 290
-          ผู้ที่ตีผู้ตาย ต้องรับผิด                 เจตนาฆ่า (มาตรา 83+288) + ผลคือความตาย = ผิด มาตรา 288

-          ประเด็นเปรียบเทียบ เหตุแทรกแซง เรื่องการแจ้งให้เจ้าพนักงานจับกุม
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 804/2502 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหาว่าเขาลักทรัพย์ เจ้าพนักงานจึงจับกุมและควบคุมเขาไว้นั้น การจับกุมและควบคุม เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อผู้ต้องหาอย่างใด ก็ตามควรแก่กรณี ผู้แจ้งให้จับ จึงไม่มีผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพ (การจับ เป็นเหตุแทรกแซง อันเกิดจากการกระทำของบุคคลที่สาม คือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีดุลพินิจอิสระ จำเลย ไม่ต้องรับผิดในการทำให้ผู้เสียหายเสียเสรีภาพจากการถูกจับ ผิดฐานแจ้งความเท็จอย่างเดียว)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 320/2503 จำเลยเอาเครื่องมือปลอมเงินตราและเอาเหรียญปลอมไปซุกใส่บ้านผู้เสียหาย แล้วจำเลยติดต่อให้ตำรวจมาจับผู้เสียหาย ตำรวจมาค้นได้ของกลางและจับผู้เสียหายขัง 4 วัน จึงได้ประกันตัวไปดังนี้ จำเลยยังไม่ผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ เพราะการที่ผู้เสียหายถูกจับไปกักขังนั้น เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของตำรวจ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2060/2521 ผู้ที่จะต้องถูกจับตามหมายจับมอบตัวต่อศาลมีประกันไป เหตุที่จะจับหมดไปแล้ว จำเลยเอาสำเนาหมายจับนั้นมาให้ตำรวจจับผู้นั้นอีก เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310, 84 (การจับ เป็นเหตุแทรกแซง อันเกิดจากการกระทำของบุคคลที่สาม คือเจ้าพนักงาน กรณีนี้ “เจ้าพนักงานไม่มีดุลพินิจอิสระ” จำเลยต้องรับผิดในการทำให้ผู้เสียหายเสียเสรีภาพจากการถูกจับ)




-          ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
-          (ขส เน 2510/ 8) นายสิงขว้างหินใส่นายสอน นายสอนหลบ ล้มคว่ำถูกไม้ตำ ตาบอด / นายสิงผิด มาตรา 297 (1) เพราะเป็นผลธรรมดา อันเกิดจากการกระทำของนายสิง (สอนตาบอด เป็นผลโดยตรง และเป็นผลที่ตามธรรมดาเกิดขึ้นได้ ตามมาตรา 63)
-          (ขส เน 2541/ 2) สุขเอาอิฐขว้างใจ นายใจหลบ เซไปกระแทกเรือได้รับอันตรายแก่กาย อิฐไปถูกนายเมืองตกน้ำ มีคนช่วย แต่นายเมืองตายเพราะขาดอากาศ / นายสุขรับผิดต่อนายใจ มาตรา 295 แม้หลบทัน แต่การได้รับอันตรายก็เนื่องจากการถูกขว้าง ฎ 895/2509 / นายสุขรับผิดต่อนายเมือง ตามมาตรา 60 + 295 เมื่อนายเมืองตาย และความตาย "เป็นผลโดยตรงจากการทำร้ายโดยพลาด" นายสุขผิด ตามมาตรา 290 วรรค 1 1617/2539

-          (ขส พ 2519/ 6) ดินเอาก้อนหินขว้างน้ำ น้ำหลบหัวชนเรือ ตกน้ำตาย ดินผิด มาตรา 290 เพราะดินมีเจตนาทำร้าย น้ำหลบ คิ้วแตกเป็นผลจากการกระทำของดิน ฎ 895/2509 / ไม่มีเจตนาฆ่า ฎ 150/2489 / ก้อนหินถูกตะเกียง ไม่ผิด มาตรา 358 เพราะไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ ไม่อาจเล็งเห็นผล และไม่มีกฎหมายให้ต้องรับผิดกรณีทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท ทั้งไม่ใช่ มาตรา 60

-          ข้อสอบอัยการ พ..2504
-          คำถาม ข้อ 4 . ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง มิได้เบารถขณะถึงทางแยก เป็นเหตุให้ชนรถสามล้อ ซึ่ง ข.เป็นผู้ขับล้มตะแคงลงไป ทำให้หญิงผู้โดยสารในรถสามล้อ ตกจากรถกระเด็นไปนอนอยู่ในรางรถราง แล้วถูกรถราง ซึ่ง ค. เป็นผู้ขับมา ครูดไปตามราง 1 วา จึงหยุดได้ หญิงผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย ใน 5 วันต่อมา ดังนี้ ก. . . จะมีความผิดสถานใดบ้าง ธงคำตอบ ในกรณีที่กระชั้นชิดพอดี รถรางซึ่งมิได้แล่นมาด้วยความเร็วผิดธรรมดา ทับครูดผู้ตาย ก. ผู้ขับรถจักรยานยนต์แต่ผู้เดียวมีความผิด ฐานทำให้คนตายโดยประมาท ส่วน ข. กับ ค. ไม่มีความผิด (ฎ 1011/2503) ในกรณีที่ไม่กระชั้นชิดพอดี ซึ่งผู้ขับรถราง ยังมีโอกาสหลีกเลี่ยงได้ ความตายเป็นผลโดยตรง จากความประมาทของ ค ผู้ขับรถราง ค. มีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท ก. มีความผิดฐานทำให้คนบาดเจ็บ หรือบาดเจ็บสาหัส โดยประมาท แล้วแต่กรณี ส่วน ข. ไม่มีความผิด

-          (ขส อ 2522/ 7) ยิงปืนเข้าไปในรถประจำทาง คนหนึ่งโดดลงมา หัวแตกตาย คนยิงผิด มาตรา 288+80+59 2 (เล็งเห็นผล) การโดดลงมาตาย เป็นการเสี่ยงภัยโดยไม่สมควร ไม่ต้องรับผิดในความตาย (จึงผิดเพียงฐานพยายาม) (ทฤษฎีเงื่อนไข+เหตุแทรกแซงโดยผู้เสียหายเสี่ยงเกินปกติ เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายไม่ได้)
-          (ขส อ 2533/ 2) เจ้าของรวม เผาบ้าน ไม่ผิด มาตรา 217 ไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ มาตรา 218 ผิด มาตรา 358 / ไฟไหม้บ้านอยู่ชายทุ่ง ไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ เด็กแอบเข้าไปนอน โดยคนเผาไม่รู้ ไม่ผิด มาตรา 220 (เพราะไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล ขาดองค์ประกอบภายนอก) (แม้เด็กสาหัส ไม่ผิด มาตรา 220 + มาตรา 224 เพราะไม่ใช่ผลธรรมดาที่คาดหมายได้ และไม่เป็นเหตุแทรกแซง เพราะเด็กเข้าไปก่อนที่จะวางเพลิง เป็นเหตุที่มีอยู่แล้ว)
-          (ขส อ 2533/ 6) ก ตี ข แล้วเอาเงินไป นำ ข ไปหมกกอหญ้า แล้วหนี ข จมน้ำตาย / ก ผิด มาตรา 339 วรรคท้าย ไม่เจตนาฆ่า แต่ผลของการกระทำ สัมพันธ์กับการทำร้าย ผิด มาตรา 290 (หากขณะตี มีเจตนาที่จะเอาทรัพย์ไป เข้า มาตรา 290 วรรค 2 ในเหตุที่ทำร้าย เพื่อจะกระทำผิดอย่างอื่นอีก / แต่หากมีเจตนาต่อทรัพย์เกิดขึ้นภายหลัง ก็ไม่เข้าเหตุดังกล่าว ส่วนการนำไปหมกกอหญ้า ไม่ใช่การกระทำโดยมีเจตนาทำร้าย หรือฆ่า โดย ก คิดว่า ข ตายแล้ว หรือนำร่างไปซ่อนไว้ อันเป็นการปกปิดหลักฐาน จึงไม่ใช่การทำร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นซึ่งตนได้กระทำไว้)




-          กรณีผลโดยตรง (คดีแพ่ง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 143, 144/2521 รถยนต์ 2 คันสวนและชนกันตรงเส้นกึ่งกลางถนน เป็นความประมาทเลินเล่อของรถทั้งสอง ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ความรับผิดชอบจึงพับกันไป ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันรับผิดต่อคนขี่จักรยานอยู่ข้างทาง แล้วถูกรถคันหนึ่งคว่ำทับตาย ค่าทำศพและค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ขาดไปเพราะทำละเมิดให้เขาถึงตาย แม้มีคนออกค่าใช้จ่ายให้ และไม่ยากไร้ ผู้ทำละเมิดก็ต้องรับผิดเต็มจำนวน
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 427/2521 รถยนต์ที่จำเลยขับเข้าไปเดินในทางรถของโจทก์ เพราะมีกองดินลูกรังอยู่ในทางของจำเลย มีฝุ่นลูกรังไม่เห็นรถที่สวนมา จำเลยขับเร็วชนกับรถโจทก์ที่สวนมา จำเลยเป็นฝ่ายประมาท จะอ้างว่ารถจำเลยบรรทุกลูกรังหนัก รถเบาจะหลีกให้โดยมรรยาท ไม่คำนึงถึงกฎจราจรไม่ได้
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1996/2523 จะถือเป็นหลักว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยแล้ว ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เสมอไปไม่ได้ การจะต้องรับผิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าการกระทำผิดวินัยนั้นเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ / การที่มีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในโรงเรียน โดยจำเลยซึ่งเป็นครูไม่ได้มาอยู่เวรตามหน้าที่ แม้จะเป็นการผิดวินัย แต่จะถือว่าเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้โรงเรียนถูกลักทรัพย์ได้ไม่ เพราะถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรที่โรงเรียน ก็ไม่อาจป้องกัน ไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ขึ้นได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่เป็นยามคอยตรวจตราเฝ้าขโมย แต่มีภารโรงทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าขโมยอยู่แล้ว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2279/2527 ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขให้จำเลยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ เนื่องจากการลักทรัพย์ก็ต้องหมายความว่าจำเลยจะรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีรถยนต์สูญหายไปเนื่องจากการลักทรัพย์อย่างหนึ่ง และในกรณีที่รถยนต์เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการลักทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง รถยนต์ของโจทก์เกิดความชำรุดเสียหาย ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลักทรัพย์โดยตรง จำเลยจำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อความเสียหายดังกล่าว
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 936/2536 ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยเนื่องมาจากผู้เอาประกันภัยกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี  นับแต่วันทำสัญญานั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยลงมือกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทำสัญญา แม้การกระทำจะเกิดผลสำเร็จ โดยผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตายภายหลังระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันทำสัญญาก็ตาม แต่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำดังกล่าว ผู้รับประกันภัย ก็ได้รับยกเว้นความรับผิด ไม่ต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 895 (1)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3335/2540 รถโดยสารคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับได้จอดอยู่บนสะพาน ด้วยเหตุรถเสียตั้งแต่เวลาประมาณ  22  นาฬิกา โดยจำเลยที่ 3 เปิดไฟกระพริบไว้ทางด้านท้ายรถโดยสาร และได้นำเบาะรถมาวางพาดไว้ทางด้านซ้ายรถโดยสาร ทั้งนำถุงพลาสติกมาผูกติดไว้ เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ เป็นเครื่องหมายในการป้องกันเหตุ แต่จุดที่รถโดยสารจอดอยู่นั้นเลยส่วนโค้งกลางสะพานไปเพียง 30 เมตร และรถที่แล่นมาจะสามารถเห็นรถโดยสารที่จอดเสียนั้น ต่อเมื่อขึ้นโค้งสะพานแล้ว ไฟกระพริบที่จำเลยที่ 3 เปิดไว้ก็ดี เบาะรถตลอดจนถุงพลาสติกที่ผูกติดไว้ ก็ล้วนแต่อยู่ติดกับตัวรถโดยสารทั้งสิ้น ระยะห่างที่สามารถเห็นได้จึงอยู่ในระยะเดียวกับที่รถโดยสารจอดเสีย คือประมาณ 30 เมตร จากส่วนโค้งกลางสะพานเท่านั้น โดยเป็นระยะที่กระชั้นชิดซึ่งคาดเห็นได้ว่า อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่รถยนต์ที่สัญจรได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดอันตราย
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4223/2542  จำเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ต พลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจำเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังทำหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า ที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจำเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจำเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วย / การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา425 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์




-          กรณีที่ไม่ใช่ผลโดยตรง (คดีแพ่ง)
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1176/2509 พนักงานสอบสวนรับแจ้งความคดียักยอกทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการสอบสวนให้เสร็จ จนคดีขาดอายุความฟ้องร้อง แต่โจทก์ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องร้องผู้ยักยอกได้เอง ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ก็มิได้ฟ้องร้องผู้ยักยอกจนคดีขาดอายุความ ดังนี้ หากโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีไว้แล้ว ความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้น ความเสียหายของโจทก์จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย กรณีของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์

-          ความรับผิดในผลจากการกระทำ
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2503 จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ชนรถ 3 ล้อ โดยประมาท ผู้ตายซึ่งโดยสารมาในรถสามล้อตกกระเด็นลงไปล้มนอนอยู่ที่ทางรถราง พอดีรถรางแล่นมาถึงแล้วทับครูดผู้ตายถึงแก่ความตาย โดยรถรางมิได้แล่นมาเร็วผิดธรรมดา กรณีเช่นนี้ถือว่าความตายของผู้ตายเป็น "ผลโดยตรง"จากความประมาทของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานให้คนโดยประมาท

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 983/2508 การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องเป็นการกระทำโดยประมาท และการกระทำโดยประมาทนั้นต้องเป็น "ผลโดยตรง"ให้เกิดความตาย การกระทำตามมาตรานี้ไม่รวมถึงการละเว้นเพราะกรณีใดกฎหมายต้องการลงโทษการละเว้นก็ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเช่นมาตรา 154, 157, 162 เป็นต้น จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่แทนนายสถานีรถไฟ มีอำนาจใช้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคนการสับเปลี่ยนหัวประแจ เมื่อใช้แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำอะไรเกี่ยวข้องกับหัวประแจนั้นอีก จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแล้วไม่สับกลับคืนรางเดิมเป็นเหตุให้รถชนกันจนมีคนตาย เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ไปตรวจหัวประแจก่อนที่รถจะมาถึง ก็เป็นเพียงละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ เป็นคนละเรื่องกับการกระทำโดยประมาทการไม่ไปตรวจไม่ใช่ "ผลโดยตรง"ที่ทำให้รถชนกัน "ผลโดยตรง"ที่ทำให้รถชนกันอยู่ที่การเปลี่ยนหัวประแจไม่สับกลับ ซึ่งเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามมาตรา 291

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1389/2509 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานสืบแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็น "ผลโดยตรง"ให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น พระราชบัญญัติเทศบาง พ.. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุม และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจ และหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลมีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1326/2510 ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดรถก็จะไม่ชนกัน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ถ้ารอให้รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับมาทางตรงผ่านไปก่อน รถก็จะไม่ชนกัน การที่เกิดชนกันขึ้นจึงเป็น "ผลโดยตรง"จากความประมาทของจำเลยทั้งสองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย "จึงเป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่ "

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 534/2511 จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์แซงรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3 ขับ แล้วเกิดไปเฉี่ยวกับล้อหลังของรถแทรกเตอร์ซึ่งจำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้รถแทรกเตอร์เสียหลักขวางถนน รถแทรกเตอร์จึงถูกรถบรรทุกชนเอาและทำให้คนบนรถแทรกเตอร์ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส ดังนี้ การตายและบาดเจ็บสาหัสย่อมเป็น "ผลโดยตรง"จากความประมาทของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว จำเลยที่ 1 และ 3 ไม่มีความผิด

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 22/2511 ภารโรงในกองยานพาหนะ กรมชลประทาน ได้ปลอมใบเบิกเงินค่าแรงงานของคนงานในกองยานพาหนะแล้วนำไปแสดงต่อแผนกบัญชีเพื่อขอรับเงิน เจ้าหน้าที่แผนกบัญชีไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง กลับเสนอหัวหน้าแผนกลงชื่อ แล้วส่งไปแผนกเงินเพื่อจ่าย แผนกเงินได้จ่ายเงินโดยผิดระเบียบ แล้วส่งใบสำคัญคืนแผนกบัญชี แผนกบัญชีได้คัดบัญชีที่จ่ายเงินไปแล้วตามใบสำคัญส่งไปยังแผนกควบคุม ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อให้ยืนความถูกต้อง จำเลยได้ทำบัญชีแยกประเภทงานและลงนามรับรองความถูกต้องแล้วส่งกลับไปแผนกบัญชี ดังนี้ การทุจริตรายนี้สำเร็จได้เพราะการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขอเจ้าหน้าที่แผนกบัญชีและแผนกเงิน ซึ่งสำเร็จไปก่อนที่จำเลยจะรับรองความถูกต้องของใบสำคัญ ความเสียหายที่กรมชลประทานได้รับมิใช่ "ผลโดยตรง"จากการกระทำของจำเลย จึงถือว่าจำเลยทำละเมิดต่อกรมชลประทานมิได้

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 1002/2521 (แพ่ง) จำเลยฝ่าฝืนระเบียบที่วางไว้ ไม่ทำหลักฐานการที่ผู้ขับยานพาหนะรับน้ำมันไป และยอมให้คนอื่นทำเอกสารแสดงการใช้น้ำมันแทนผู้ขับ ไม่ตรวจสอบแสดงยอดการใช้น้ำมัน ให้ตรงกันน้ำมันที่ขาดหาย เป็น "ผลโดยตรง" จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยต้องรับผิด

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2086/2523 (แพ่ง) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ในการต่อท่อสูบถ่ายน้ำมันเบนซินจากเรือบรรทุกน้ำมันเข้าคลังน้ำมันของจำเลยที่ 3 ที่ 4 เมื่อเดินเครื่องสูบน้ำมันแล้วเป็นเหตุให้น้ำมันเบนซิน 5,195 ลิตร รั่วไหลตกลงไปในแม่น้ำแผ่กระจายไปบนผิวน้ำ ถ่านที่เหลือจากการหุงต้มทิ้งลงในแม้น้ำตามปกติ จึงทำให้เกิดไฟลุกไหม้น้ำมันเบนซินบนผิดน้ำลุกลามไหม้บ้านเรือนทรัพย์สินของโจทก์อย่างรวดเร็ว เป็น "ผลโดยตรง" จากความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3428/2524 (แพ่ง) สมุห์บัญชีเป็นผู้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบเงินให้สมุห์บัญชีแล้ว คณะกรรมการรักษาเงินจะตรวจสอบจากสมุหบัญชีอีกต่อหนึ่งเป็นขั้นตอนไป เหตุทุจริตเกิดขึ้นเพราะสมุหบัญชีไม่ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ในฐานะปลัดสุขาภิบาลและกรรมการรักษาเงิน ไม่มีความจำเป็นต้องล้วงไปตรวจสอบถึงการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2961/2524 (แพ่ง) ความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายแต่ฝ่ายเดียวที่ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำนาญ ผ่านทางแยกขนรถยนต์ที่จำเลยขับ แม้จำเลยขับรถยนต์ผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว มิใช่ "ผลโดยตรง"จากการที่จำเลยขับรถเร็วฝ่าฝืน พ...จราจรฯ จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อผู้ตาย

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 3088/2524 (แพ่ง) จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานนำร่องเรือเดินสมุทรจึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกลตาม ป...มาตรา 437 นายเรือและพนักงานเรือดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้คำสั่งในการนำร่องของจำเลยที่ 1 ด้วย มิใช่เป็นแต่เพียงผู้แนะนำนายเรือเท่านั้น หากจำเลยที่ 1สั่งให้นายเรือแล่นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และแล่นไปให้พ้นตรงที่จอดเรือฉลอมโจทก์เสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวา เพื่อทอดสมอหรือปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎกระทรวงเศรษฐการออกตามความใน พ... การเดินเรือในน่านน้ำไทยฯประกอบกับใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือเป็นอย่างดีที่จำเลยที่1 มีอยู่ด้วยแล้ว ก็จะไม่เกิดเหตุโดนกันขึ้น เมื่อละเลยไม่ปฏิบัติจำเลยที่ 1 จึงประมาทเลินเล่อทำให้เรือ ร. โดนเรือฉลอมโจทก์เสียหาย แม้เรือโจทก์จอดเทียบเป็นลำที่ 3 ฝ่าฝืนกฎหมายก็ตาม ก็หาใช้เป็น "ผลโดยตรง"ที่ก่อให้เรือโดนกันไม่

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 4721/2529 (แพ่ง) รถจำเลยที่ 2 ขับ จอดอยู่กลางถนนเคลื่อนที่ไม่ได้เนื่องจากเบรกรถอย่างแรง เป็นเหตุให้รถหมุนกลับ เครื่องยนต์ดับและเกียร์ค้าง ได้เปิดไฟกระพริบหน้าหลังและเปิดไฟใหญ่หน้ารถไว้ด้วยเพื่อเป็นที่สังเกต การที่จำเลยที่ 1 ขับรถมาโดยเร็ว แล้วชนรถที่จอดอยู่ เป็นเหตุให้มีคนได้รับอันตรายแก่ร่างกายและอันตรายสาหัส จึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่เป็น "ผลโดยตรง"มาจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2529 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ผ่านเส้นทางนี้มาหลายปี ย่อมรู้ว่าเมื่อขับรถข้ามสะพานอุบลรัตน์ เข้าถนนอัษฎางค์จะต้องหยุดรถตรงคอสะพานก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้หยุดรอดูว่ามีรถในถนนอัษฎางค์แล่นมาหรือไม่ เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์สามล้อที่ ส.ขับตรงทางแยก ทำให้ผู้นั่งมาในรถนั้นคือบิดาโจทก์ทั้งสามตายและโจทก์ที่ 2 บาดเจ็บ การชนกันเป็น จึงเป็น "ผลโดยตรง" จากการประมาทของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 ส่วน ส. จะประมาทด้วยหรือไม่ เป็นแต่เหตุอันเป็นผลให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า ส. ขับรถประมาทด้วยหรือไม่

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 718/2530 (แพ่ง) ข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า ถ้าเงินที่นำไปคราวหนึ่งเป็นตัวเงินสดเกิน 20,000 บาท ให้มีกรรมการประกอบด้วยพนักงานการเงินกับพนักงานขั้นหัวหน้าหรือเทียบเท่าอีกไม่น้อยกว่า 2 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 1 นาย พร้อมกับอาวุธปืนควบคุมร่วมกันเป็นคณะห้ามแยกย้ายจากกันเป็นอันขาด การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 โดยลำพังแต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินค่าข้าวสารจำนวน 150,000 บาท จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและเป็นช่องทางให้เกิดการสูญหายขึ้น อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็น "ผลโดยตรง"จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 2158/2531 (แพ่ง) สหกรณ์โจทก์มีระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ พ..2520 ข้อ 8 ว่า เหรัญญิก หรือเจ้าหน้าที่การเงินของสหกรณ์จะเก็บรักษาเงินสดของสหกรณ์ได้ไม่เกินหนึ่งพันบาท เงินสดส่วนที่เกินให้นำส่งเข้าผากในธนาคารที่สหกรณ์เปิดบัญชีเงินผากไว้ ในกรณีจำเป็นไม่สามารถนำเข้าฝากได้ทันในเวลานั้น ๆ ให้ทำบันทึกเสนอประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการทราบ และให้นำส่งเข้าฝากในวันแรกที่เปิดทำการ เงินสดที่เก็บรักษาไว้ดังกล่าวข้างต้นให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของสหกรณ์ ซึ่งจำเลยทราบระเบียบดังกล่าวดีอยู่แล้ว การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกลับรักษาเงินสดของโจทก์ไว้เป็นจำนวนมากถึง 43,878.22 บาท โดยละเลยไม่นำส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทไปฝากธนาคาร ทั้งไม่ทำบันทึกเสนอประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการขอโจทก์รับทราบ และเก็บรักษาลูกกุญแจตู้นิรภัยเก็บเงินไว้ในโต๊ะทำงานซึ่งอยู่ห่างตู้นิรภัยเพียง 1 เมตร ง่ายต่อการที่คนร้ายจะค้นพบแล้วนำไปไขเปิดตู้นิรภัยนั้น พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้ามางัดโต๊ะทำงาน และค้นได้ลูกกุญแจนำไปไขตู้นิรภัยแล้วลักเอาเงินสดจำนวนดังกล่าวข้างต้นไป ความเสียหายย่อมเป็น "ผลโดยตรง" จากการประมาทเลินเล่อของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 103/2534 (แพ่ง) จำเลยเป็นพนักงานรับจ่ายพัสดุทั่วไป ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาพัสดุในคลังพัสดุ ถึงแม้ ก. หัวหน้าแผนกวัสดุทั่วไปมีคำสั่งให้จำเลยกับพวกจัดเก็บพัสดุในคลังพัสดุเข้าที่เก็บให้เรียบร้อยก็ตาม แต่โดยหน้าที่ ก. จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุในคลังพัสดุโดยตรง ความรับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุที่เก็บรักษาไว้ในคลังพัสดุหาโอนไปยังจำเลยกับพวกที่จัดเก็บไม่ ทั้งจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับพัสดุหัวฉีดที่หายไปตั้งแต่ต้น การที่หัวฉีดดังกล่าวไม่ได้อยู่ในช่องเก็บของให้เรียบร้อยมาตั้งแต่แรก ก็ไม่ใช่ความผิดของจำเลย นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่ามีคนร้ายงัดคลังพัสดุแล้วขโมยพัสดุไปหรือพัสดุได้หายไปในระหว่างที่จำเลยทำหน้าที่พนักงานรับจ่ายพัสดุ หรือในระหว่างที่จำเลยจัดเก็บพัสดุเข้าที่เก็บ การที่จำเลยไม่รายงานเกี่ยวกับการจัดเก็บพัสดุให้ ก. ทราบไม่ใช่ "ผลโดยตรง" อันเป็นเหตุให้หัวฉีดของโจทก์หายไป ก.สามารถที่จะตรวจตราพัสดุในคลัง และสั่งให้ผู้อื่นเข้าไปทำหน้าที่แทนจำเลยได้ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้หัวฉีดของโจทก์สูญหายไปไม่

-          คำพิพากษาฎีกาที่ 628-629/2539 เหตุรถชนกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งมาในรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับได้รับอันตรายสาหัสเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว โดยขับรถตัดหน้ารถที่จำเลยที่ 2 ขับโดยกะทันหัน หาเป็น "ผลโดยตรง"ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 2 ขับรถด้วยควานเร็วสูงเกินอัตราที่กำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตาม พ... จราจรทางบกฯ ไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ประมาทเลินเล่อและไม่ต้องรับผิตต่อโจทก์



-          หลักทฤษฎี Causation
-          ทฤษฎีที่ถือเอาน้ำหนักแห่งเหตุเป็นประมาณ เหตุอะไรที่จะทำให้เกิดผล หมายถึง กรณีที่มีเหตุหลายเหตุ ที่ทำให้เกิดผลอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เหตุอันไหนที่จะเป็นเหตุซึ่งจะต้องรับผิดในผล จะมี Causation กับผลอันนั้น เหตุไหนที่มีน้ำหนักมาก อันนั้นก็ต้องรับผิดในผลไป ทฤษฎีนี้ก็มีข้อบกพร่อง เพราะว่า ถ้าแผล หรือเหตุมันมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน ก็คงจะยากต่อการตัดสินใจว่า เหตุอะไรที่จะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
-          ทฤษฎีที่จะถือเอาคุณสมบัติแห่งเหตุเป็นประมาณ แยกเอาเหตุที่มีอยู่ก่อนออกมาจากเหตุอันหลังที่ได้กระทำ เช่น นายแดงเอามีดไปแทงนายดำถูกที่แขนของนายดำ โดยมีเจตนาฆ่านายดำ ปรากฏว่า นายดำมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็คือเป็นโรคเลือดไหลไม่หยุด เลือดไม่แข็งตัว พอเกิดบาดแผลขึ้นมา เลือดก็ไม่ไหลไปจนกระทั่งหมดตัว ตาย การพิจารณาจะใช้วิธีแยกเหตุที่มีอยู่ก่อน แยกออกมาจากเหตุอันหลัง แล้วก็พิจารณาเหตุอันไหนทำให้นายดำตาย ฉะนั้น การที่นายดำมีโรคประจำตัว คือโรคเลือดไหลไม่หยุดนั้น อยู่ ๆ เขาจะตายหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ตาย ที่ตายก็เพราะว่าถูกแทง ดังนั้น การกระทำ เหตุอันหลังเป็นเหตุที่ทำให้เกิดผล
-          ทฤษฎีเงื่อนไข ถ้าไม่มีการกระทำผลก็จะไม่เกิด แสดงว่า ผลเกิดขึ้นจากการกระทำ แม้มีเหตุอื่นทำให้เกิดผลนั้นด้วย แต่ถ้าไม่มีการกระทำอันนี้ ผลมันก็จะไม่เกิด ผู้กระทำก็ยังต้องรับผิดในในผลนั้น ทฤษฎีเงื่อนไข เป็นทฤษฎีที่ค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติ เป็นทฤษฎีตามธรรมชาติ เพียงแต่ว่า เป็นการให้น้ำหนักกับเหตุหลาย ๆ เหตุ ให้มีน้ำหนักเท่ากัน คือ ตามทฤษฎีนี้ถือว่า เหตุทุกเหตุ มีน้ำหนักเท่ากัน สามารถทำให้เกิดผลได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องดูว่า ถ้าไม่มีเหตุนี้ผลจะเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือผลไม่เกิด แสดงว่า เหตุนี้เป็นเหตุที่ทำให้ผลเกิดขึ้น               ทฤษฎีเงื่อนไขมีข้อเสียอยู่ที่ว่า จะมีความต่อเนื่องไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด
-          ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม (ทฤษฎีเดิม ไม่หมายถึงแนวที่อาจารย์เกียรติขจรฯ ปรับใช้กับ ม 63) เหตุทุกเหตุ ไม่ได้มีน้ำหนักเท่ากัน จะมีบางเหตุเท่านั้น ที่จะมีน้ำหนัก มีความเหมาะสม เพียงพอที่จะทำให้ผลนั้นเกิดขึ้น การวินิจฉัยก็จะดูว่า เหตุอันนี้กับผลที่เกิดขึ้น มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ หรือเหตุที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดผลขึ้นมานั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดา หรือไม่ที่จะทำให้เกิดผลอย่างนี้ขึ้นมา
-          ทฤษฎีเหตุที่สำคัญ เป็นทฤษฎีที่แยกการพิจารณา เรื่องของการกระทำ เรื่องผลของการกระทำ และความรับผิดต่อผลของการกระทำ ออกจากกัน ในการพิจารณาการกระทำกับผลของการกระทำ เขาจะพิจารณาโดยหลักของธรรมชาติที่ว่า ผลนี้เป็นผลที่เกิดจากการกระทำหรือไม่ และต้องพิจารณาทางกฎหมายอาญาอีกครั้งหนึ่งด้วย แต่ทฤษฎีนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยม
-          ทฤษฎีความรับผิดในทางภาวะวิสัยทฤษฎีนี้มีมาเมื่อประมาณ  ค.. 1945 แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม ต่อมาภายหลังเมื่อประมาณ ปี ค.. 1960 กว่า ได้มีนักคิดหยิบยกขึ้นมาปรับปรุง แล้วก็เสนอความคิดขึ้นมา หลักของทฤษฎีนี้ หากบุคคลใด ไปกระทำการอันเกินกว่าความเสี่ยงตามปกติ ที่จะมีหรือเกินหน้าที่ของตนเอง (ไม่กระทำการตามหน้าที่) แล้วก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นมา ถ้ามองในแง่ของความเสี่ยง ก็คือ ได้กระทำการอันเสี่ยงเกินกว่าปกติ  ที่คนเราจะเสี่ยง เช่น  ปกติขับรถในเมือง  มีคนพลุกพล่าน 50-60  km./ ชั่วโมง ก็เสี่ยงพออยู่แล้ว แต่ไปขับตั้งแต่ 120 ทั้งที่มีคนพลุกพล่าน ตรงไหนเหยียบได้ก็เหยียบเต็มที่ แสดงว่าคน ๆ นั้นเพิ่มอัตราความเสี่ยงเกินกว่ามาตรฐานปกติ คนๆ นั้นต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องพิจารณาทฤษฎีเงื่อนไข ที่ว่าถ้าไม่มีการกระทำ ผลจะไม่เกิด เพราะเมื่อเขาเสี่ยงในระดับนั้นแล้ว เกิดผลขึ้นมา เพราะจะต้องรับผิด ถึงแม้ว่า ผลที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นเพราะว่า อีกฝ่ายหนึ่งก็มีส่วนผิดอยู่ด้วยก็ตาม หรือ เป็นกรณีที่ถึงแม้ว่า เขาจะไม่ประมาทอย่างนี่ ถึงแม้เขาจะเพิ่มความเสี่ยงขนาดนี้ เขาขับมาตามปกติ มันก็ยังเกิดเหตุอย่างนี้อยู่ดี กรณีเช่นนี้นี้ ตามหลักทฤษฎีนี้เขาจะไม่คำนึงถึง เพราะเขาถือว่า ในความเป็นจริงแล้ว คุณเสี่ยงเกินกว่ามาตรฐานปกติ  ดังนั้น  เมื่อมีผลเกิดขึ้น คุณก็ต้องรับไป




หลักตามกฎหมาย  Common  Law
-          หลักกฎหมาย  Common  Law  Proximate  cause
-          Substantial  factor
-          Sole cause
-          Contributory cause (อก/213) หลายคนทำร้าย ไม่ร่วมกัน ทำให้ถึงตายได้ ผิดสำเร็จ ไม่ใช่พยายาม
-          Direct cause
-          Intervening  cause
-          Independent intervening cause
-          Dependent intervening cause
-          Foresee ability
-          Negative  acts
-          เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลใน Common  Law ถือว่า เหตุทั้งหลายที่ทำให้เกิดผลอันใดอันหนึ่งขึ้น เหตุเหล่านั้นก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดผลทั้งสิ้น คือ มองทฤษฎีเงื่อนไขเป็นหลัก ว่า เมื่อมีเหตุหลาย ๆ อย่าง มาทำให้เกิดผล ปัญหาว่า เหตุอะไรทำให้เกิดผล เขาบอกว่า ทุก ๆ เหตุนั้นเอง เป็นเหตุที่ทำให้เกิดผลทั้งสิ้น / แต่ในกรณีที่เราจะมาพิจารณาในเรื่อง Causation ถ้าดูแต่เพียงว่า เหตุทุกเหตุมันมีน้ำหนัก มันเป็นตัวที่ทำให้เกิดผลทั้งสิ้น ทุก ๆ เหตุก็ต้องมารับผิด เมื่อฟังได้ว่าถ้าไม่มีเหตุอันนั้น ผลมันจะไม่เกิด ถ้าคิดเช่นนี้ ก็มีข้อบกพร่องเช่นกัน ดังนั้น เขาจะดูว่า เหตุที่จะต้องมารับผิดในผลนั้น ก็ต้องเป็นเหตุที่ใกล้ชิดกับผล ซึ่งเรียกว่า “Proximate cause”
-          เรื่องของระยะเวลา ในกฎหมาย Common Law เก่า ๆ ก็เคยมีส่วนที่เคยนำเอามาคำนึงถึงด้วย เป็นต้นว่า ผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความตาย คดีที่เกี่ยวกับความผิดฐานฆ่าคนตาย ผลคือความตาย จะเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยหรือไม่ เขาก็มีการกำหนดระยะเวลาไว้ว่า ต้อง 1 ปี กับ 1 วัน (a year and a day) คือ ถ้าตายภายในระยะเวลา 1 ปี กับ 1 วัน ก็ถือว่า เป็นผลที่ใกล้ชิดแล้ว แต่ปัจจุบันจะดูจากข้อเท็จจริง ดูจากลักษณะฉกรรจ์ของบาดแผล หรือ ชนิดของบาดแผลที่จะเกิดความเรื้อรังต่าง ๆ เป็นต้น

-          Substantial factor มาจากหลักภาษิตกฎหมายที่ว่า  de minimis non curat rex” ในหลักเรื่อง Proximate cause เขาจะไม่ถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เอามาเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาว่า เหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ จะเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลหรือไม่ จะคำนึงถึงเฉพาะเหตุที่เป็นสาระสำคัญ ที่มีน้ำหนักที่จะทำให้เกิดผลก็เอาเหตุนั้นมาพิจารณา




หลักในการพิจารณา Proximate  cause ตามกฎหมาย  Common  Law
1.        Substantial factor
-          Sole cause
-          Contributory cause
2.        Direct  cause
3.        Intervening  cause
4.        Foresee ability
5.        Negative  acts

1.        Substantial factor เหตุที่มีความสำคัญ มีน้ำหนักที่จะทำให้เกิดผล
-          Sole cause เป็นเหตุอันเดียวที่ทำให้เกิดผลนั้น
-          Contributory cause ถ้ามีเหตุอยู่หลายเหตุและหลาย ๆ เหตุนั้น เป็นตัวทำให้เกิดผลทั้งสิ้น ในกรณีเช่นนี้เหตุที่มีส่วนทำให้เกิดผลบั้นปลายขึ้นมา ก็จะต้องรับผิดในผลนั้น
2.        Direct cause ถ้าไม่มีการกระทำ ผลจะเกิดหรือไม่ ถ้าไม่มีการกระทำผลไม่เกิด แม้มีเหตุอื่นทำให้เกิดผลนั้นด้วย  ผู้กระทำก็ต้องรับผิดในผลนั้น แต่ถ้าไม่มีการกระทำ ผลก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผล 
3.        Intervening cause ( เหตุแทรกแซง )
-          Independent intervening  cause เหตุที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำอันแรก หากคาดหมายได้ต้องรับผล ยกเว้น ถ้าเป็นการกระทำของผู้กระทำในตอนต้น แล้วมีผลเกิดขึ้นตามเจตนาของผู้กระทำ แม้จะเป็นการกระทำของบุคคลอื่น ก็ไม่ตัดความสัมพันธ์
-          Dependent intervening cause เป็นกรณีที่เหตุแทรกแซงนั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวเนื่องกับการกระทำในตอนต้น หากเรื่องปกติธรรมดาของเหตุแทรกแซงที่จะเกิดขึ้นได้ ก็จะไม่ตัดความสัมพันธ์  ผู้กระทำต้องรับผิดในผล แม้ว่าผู้กระทำในตอนต้นจะคาดหมายไม่ได้
Foresee ability  ผู้กระทำจะคาดเห็นได้หรือไม่ จะใช้เฉพาะกับที่มีเหตุแทรกแซงเท่านั้น ถ้าหากไม่มีเหตุใดมาแทรกแซง เป็นเรื่องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการกรทำกับผล ที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซง เป็นผลโดยตรงนั้น การที่จะดูว่า ผลที่เกิดขึ้นเป็นผลที่ผู้กระทำสามารถคาดเห็นได้หรือไม่ว่า ผลอย่างนี้จะเกิด  ตรงนี้จะไม่เอามาใช้  แต่จะใช้เฉพาะกับกรณีที่มีเหตุแทรกแซงเท่านั้น กล่าวคือ ถึงจะเป็นกรณีเหตุแทรกแซงในบางกรณีก็ต้องดูด้วยว่า  ถึงแม้จะไม่คาดหมายได้  แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะทำอย่างนั้น ผู้กระทำก็ยังต้องรับผิดในผลอยู่ดี
Negative  acts การกระทำโดยการงดเว้นการไม่กระทำ ต้องพิจารณาหลักเช่นเดียวกันกับการกระทำโดยตรง นั่นเป็นประเด็นที่ 1 แต่ถ้าหากว่า Negative acts คือ การกระทำโดยการงดเว้นนั้น  มาเป็นเหตุแทรกแซง ในกรณีที่มีเหตุแทรกแซง และเหตุแทรกแซงนั้นเป็นเหตุจากการกระทำโดยการงดเว้นที่เราถือว่าเป็นการกระทำนั้น มีเจตนาอะไรก็รับไปตามนั้น คือ องค์ประกอบภายในจิตใจ



หลักในการพิจารณา Proximate  cause ตามกฎหมาย  Common  Law
1.        Substantial  factor
2.        Sole   cause
3.        Contributory  cause
4.        Direct  cause
5.        Intervening  cause
6.        Foreseeability
7.        Negative  acts
                สิ่งที่นำประกอบการพิจารณาว่า  จะมีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลกันหรือไม่นั้น  ส่วนหนึ่งที่จะนำมาประกอบ ก็คือ   จะดูจาก

1.          เหตุนั้นเป็นเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดผลหรือไม่ (Substantial  factor) หลักนี้มาจากหลักภาษิตกฎหมายที่ว่า de minimis non curat  rex”
ในหลักเรื่อง Proximate cause เขาจะไม่ถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เอามาเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาว่า เหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ  เหล่านี้  จะเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลหรือไม่ จะคำนึงถึงเฉพาะเหตุที่เป็นสาระสำคัญ   ที่มีน้ำหนักที่จะทำให้เกิดผลก็เอาเหตุนั้นมาพิจารณา
                คดี  Cook vs Menapolis นาย ก. ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท ไฟได้ลุกลามจะไหม้บ้านของนายขาว ขณะเดียวกันมีไฟอีกกองหนึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้วมันก็มารวมกันเข้ากับไฟที่นาย ก. จุดกองแรก แล้วก็ไปเผาบ้านของนายขาวไหม้ ซึ่งไฟอีกกองหนึ่งนั้นไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร หรือไม่รู้ว่าใครจุด อาจจะเป็นไฟป่าไหม้มาก็ได้ เวลาฟ้องเขาก็จะฟ้องเฉพาะนาย  ก. เพราะไฟอีกกองหาคนจุดไม่ได้ ฟ้องนาย ก. ว่าได้กระทำโดยประมาททำให้เกิดไฟไหม้บ้านของนาย ขาว
                ศาลวินิจฉัยว่า นาย ก. ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทนั้นไม่ต้องรับผิด โดยเอาหลักทฤษฎีเงื่อนไขเข้าไปจับ กล่าวคือ ถึงแม้ว่านาย ก. จะไม่จะไฟกองนี้ ไฟอีกกองหนึ่งก็จะต้องไหม้บ้านนายขาวอยู่ดี  เพราะฉะนั้นศาลจึงยกฟ้อง นาย กไม่ต้องรับผิด
                ต่อมา คดี Anderson ข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน ศาลตัดสินว่า ในเมื่อการกระทำของจำเลย เพียงอันเดียวก็สามารถที่จะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหายได้อยู่แล้ว ดังนั้นการกระทำของจำเลย เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านของผู้เสียหาย เมื่อเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เกิดผล จำเลยก็ต้องรับผิดในทางอาญา
                ทฤษฎีเหตุสำคัญ มักจะเอามาใช้ในเชิงที่ตัดออกไปว่า ถ้าอะไรที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ก็จะต้องตัดออกไป หมายความว่า ตัวที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ต้องมารับผล / เฉพาะแต่ตัวที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้น ถึงจะมาดูว่าจะต้องรับผิดในผลนั้นหรือไม่ ตัวไหนที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เกิดผลก็ต้องมาดูอีกทีว่า เหตุอันนั้นจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อผลอันนั้นหรือไม่ จะต้องเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่า จะเป็นเหตุที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เกิดผล แต่เหตุอันนั้นบางเหตุก็ไม่ต้องมารับผิดในทางอาญาต่อผลอันนั้นก็ได้

                2. Sole cause เป็นหลักที่จะมาพิจารณาว่า ในกรณีที่ผลเกิดขึ้นจากเหตุหลาย ๆ เหตุ มีเหตุไหนที่มันโดดเด่นเพียงเหตุเดียวหรือไม่ เป็นเหตุทีมีลักษณะเด่นเพียงเหตุเดียว ที่เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดผลอันนั้นขึ้นมา ส่วนเหตุอื่นที่ไม่มีสาระสำคัญพอ ก็ไม่ต้องรับผิด  ตัวเหตุทีเด่นขึ้นมานั้นมันก็จะเข้าไปแทนที  เข้าไปรับผิดแทนที่
                อย่างไรก็ดี  การที่จะใช้ Sole  cause  ก็จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้ด้วย  กล่าวคือ
1.        ถ้าเป็นการกระทำของจำเลย  เป็นเพียงเหตุเดียว  เหตุเพียงเหตุเดียวที่ทำให้เกิด Sole cause ขึ้นมา กรณีนี้เราจะวินิจฉัยโดยถือหลักในเรื่องที่เป็นความใกล้ชิดกับผลว่าเป็นผลโดยตรงหรือไม่  หรือเป็นผลที่เกิดขึ้นจากที่จำเลยกระทำหรือไม่ จะดูแค่ตรงนั้น
2.        ถ้าหากว่ามีเหตุอื่น ทำให้เกิดผลขึ้นมา ไม่ใช่แค่เหตุที่จำเลยเป็นผู้ก่อหรือเป็นผู้กระทำ (มีเหตุอื่น) และถ้าเหตุนั้นเป็นเหตุเด่น แต่เพียงเหตุเดียว เป็น Sole cause จำเลยก็ไม่ต้องรับผิด แต่อย่างไรก็ตาม  ถึงแม้ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็น Sole cause ถ้ามีเหตุอื่นที่มีน้ำหนักสำคัญ  ก็อาจจะทำให้เกิดตรงนั้นขึ้นเหมือนกัน ก็ต้องมาดูในหลักข้อที่ 3

3.        Contributory  (เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผล) ในกรณีที่มีเหตุหลายเหตุก่อให้เกิดผล เราก็มาดูต่อไปว่า เหตุนั้น ๆ เป็นที่ร่วมกัน ทำให้เกิดผลหรือไม่ 
-          คดี  Louis   เขาถูกคนร้ายแทงเสร็จแล้วยังไม่ตาย แต่เขาทุกข์ทรมาน เจ็บปวดบาดแผลมาก เลยตัดสินใจเอามีดเชือดคอตนเอง กรณีเช่นนี้  คนแรกก็ไม่พ้นที่จะต้องรับผิด  เหตุหลัง ไม่ไปตัดความสัมพันธ์
-          ถ้าปรากฏว่า  ตัดสินใจเองโดยไม่มีเหตุไม่มีผล  เป็นต้นว่า นาย Louis  ความจริงตั้งใจจะฆ่าตนเองตายอยู่แล้ว  เลยได้โอกาสฆ่าตัวตายเสียเลย ก็ไม่ต้องรับผิดในผล  ก็ผิดแค่พยายามฆ่า

4.  Direct cause ถ้าไม่มีการกระทำ ผลไม่เกิด แม้มีเหตุอื่นทำให้เกิดผลนั้นด้วย ผู้กระทำก็ต้องรับผิดในผลนั้น แต่ถ้าไม่มีการกระทำ ผลก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผล เป็นกรณีที่มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่มีเหตุอื่นมาแทรกแซง เป็นเหตุโดยตรง
-          อเมริกา เอาแก้วเบียร์ตีศีรษะแล้วแตกจะไม่ทำให้ตาย ถ้าเป็นเหตุผลธรรมดาไม่อาจจะทำให้ตายได้ แต่กรณีนี้จะไม่นำทฤษฎีเหมาะสมหรือผลธรรมดา เข้ามาวินิจฉัยเพราะว่า การกระทำของจำเลย กับความตายของผู้ตายที่เกิดขึ้นตรงนี้ ไม่มีเหตุแทรกแซง ดังนั้น  ศาลจึงวินิจฉัยว่า จำเลยต้องรับผิดฐานทำให้คนตายโดยไม่เจตนา
-          นาย A ไปข่มขู่ หรือขู่กรรโชกจะทำร้ายเด็ก ซึ่งเด็กคนนั้นเป็นโรคหัวใจอ่อนอยู่แล้ว พูดจาข่มขู่แล้วทำให้เด็กคนนั้นตาย ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ในกรณีนี้จะวัดเพียงว่า เป็นผลโดยตรงหรือไม่ ตามทฤษฎีเงื่อนไข ถ้าเป็นผลโดยตรง แม้ว่าจะไม่ใช่ผลธรรมดาก็ตาม ผู้กระทำก็ต้องรับผิดในผล

5.  Intervening   cause   ( เหตุแทรกแซง )
                กรณีมีเหตุแทรกแซงจะมีอยู่  กรณี  คือ
1.        Independent intervening cause
2.        Dependent intervening cause
เหตุแทรกแซงคือ เหตุที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากที่มีการกระทำในตอนต้น กับผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลบั้นปลาย ในช่วงระหว่างที่มีการกระทำของผู้กระทำที่จะวินิจฉัยว่า มีความสัมพันธ์กับผลหรือไม่นั้น ในระหว่างการกระทำอันนี้ เมื่อกระทำเสร็จแล้วก่อนที่จะเกิดผลขึ้นมา ช่วงตรงกลางระหว่างนี้ มีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้ามีเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ เหตุนี้ เราเรียกว่า เป็นเหตุแทรกแซง
เหตุแทรกแซงนั้นอาจจะเป็นตัวที่มาตัด ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล  ทำให้ผู้กระทำในตอนต้นไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น  หรืออาจจะไม่ตัดความสัมพันธ์ ก็ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า
-          กรณีนาย A เอามีดที่สกปรกมีเชื้อโรคอยู่แล้ว ไม่มีเหตุอะไรเข้ามาแทรกแซงเลย เชื้อโรคก็มีอยู่แล้วในขณะที่กระทำ การวินิจฉัยการกระทำกับผลก็ดูแค่  เป็นผลโดยตรงหรือไม่ ตาม Direct  cause 
-          นาย  รักษาบาดแผลไม่ดี  ทำให้ได้รับเชื้อโรคเข้ามาในภายหลัง กรณีอย่างนี้  เชื้อโรคที่เข้ามาในภายหลัง  ก็เป็นเหตุแทรกแซง ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่พึงคาดหมายได้  แต่ในเมื่อมันเป็นเรื่องไม่ผิดธรรมดา  ผู้กระทำคือ นาย A ก็ยังต้องรับผิดในผลอยู่
-          แตกต่างกันตรงที่ว่า ถ้าหากว่าเหตุแทรกแซงนี้ เป็นเหตุที่ไม่เกี่ยวเนื่องไม่เกี่ยวกับการกระทำครั้งแรกเลย ก็ดูเพียงว่า เป็นเหตุที่พึงคาดหมายได้หรือไม่ เท่านั้นเอง แต่ถ้าเป็นเหตุแทรกแซงที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการกระทำอันแรก ตรงนี้ต้องเพิ่มน้ำหนักขึ้นมาอีกว่า นอกเหนือจากที่ต้องดูว่าคาดหมายได้หรือไม่อาจจะคาดหมายได้ก็ตาม ถ้าสิ่งนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเหตุแทรกแซงอันนั้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีอย่างนี้  ผู้กระทำก็ยังต้องรับผิดในผล
-          เรื่องการที่ผู้เสียหายได้เป็นฝ่ายกระทำ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยในตอนต้น ศาลก็จะถือว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้  ที่ผู้เสียหายจะทำเช่นนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงคาดหมายได้ก็ตาม แต่การกระทำอย่างนี้ถือว่า เป็นเรื่องธรรมดา 
-          คดีของประเทศอังกฤษ  ตั้งแต่ ปี ค.. 1889 ผู้พิพากษาได้กล่าวไว้ว่า  ถ้าผู้ใดก่อให้ผู้เสียหายรู้สึกกลัวว่าจะเกิดอันตราย ทำให้ผู้เสียหายต้องหลีกเลี่ยงจากภยันตรายนั้น และในการกระทำดังกล่าว ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ผู้ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวนั้นจะต้องรับผิดในผล เพราะถือว่าเป็นผลที่ใกล้ชิด เป็น Proximate cause เป็นผลที่ใกล้ชิดกับการกระทำ
-          คดีหนึ่งผู้เสียหายถูกขู่เข็ญว่าจะประทุษร้ายจากจำเลย ขณะนั้นผู้เสียหายนั่งอยู่เรือ ผู้เสียหายก็เลยตัดสินใจกระโดดลงจากเรือไปสู่แม่น้ำ ทำให้ผู้เสียหายจมน้ำตาย  ไม่ตัดความสัมพันธ์ จำเลยยังต้องรับผิดอยู่
-          A กับ เป็นสามีภรรยากัน  นั่งรถไปด้วยกันเกิดทะเลาะกัน A ซึ่งเป็นสามี  ก็เลยชักมีดออกมาขู่ว่าจะทำร้าย B ซึ่งเป็นภรรยา  กลัวก็เลยเปิดประตูรถกระโดดออกไป  ในขณะที่รถแล่นด้วยความเร็ว  ทำให้  ถึงแก่ความตาย นาย A ก็ต้องรับผิดในความตายของ  B ( ภรรยา ถือเป็นผลที่ใกล้ชิด
-          นาย . ควบม้าไล่ตามจะทำร้าย นาย ข. โดย นาย ก. ถือไม้ควบม้าไล่ตี นาย ขนาย ขจึงกระตุ้นม้าหนี  ปรากฏว่า  กระตุ้นแรงไป  ม้าตกใจจึงกระโจนแล้วสะบัด นาย ข. ตกม้าตาย  กจึงต้องรับผิดในผลอันนั้น  แม้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นสิ่งที่พึงคาดหมายได้หรือไม่ก็ตาม
-          สรุป  ก็คือว่า ถ้ากรณีที่ผู้กระทำได้กระทำให้ผู้เสียหายเกิดความรู้สึกกลัว และเกิดความรู้สึกที่จะต้องหลีกเลี่ยงให้พ้นภัย อันเกิดขึ้นจากผู้กระทำนั้น ในกรณีเช่นนี้ในทางกฎหมายจะถือว่า  การตัดสินใจเสี่ยงภัยอันนั้นของผู้เสียหาย เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลที่ใกล้ชิด โดยไม่คำนึงว่าการเสี่ยงภัยนั้น  พึงคาดหมายได้หรือไม่ หรือว่ามีเหตุสมควรเพียงพอที่จะเสี่ยงภัยนั้นหรือไม่ แม้ว่าคนอื่น ๆ อาจจะไม่ตัดสินใจเสี่ยงภัยอย่างนี้  แต่ผู้เสียหายตัดสินใจเองที่จะเสี่ยงภัย เมื่อเสี่ยงภัยไปแล้วผู้เสียหายตาย  การเสี่ยงภัยของผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้จะไม่ตัดความสัมพันธ์
-          อเมริกา คดี แพทเตอร์สัน ถ้าผู้ก่อภัย ทำให้ผู้เสียหายรู้สึกว่า ตนจำเป็นจะต้องเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงจากภัยที่จะเป็นอันตรายกับชีวิตของตนเอง ไม่ว่าการเสี่ยงภัยนั้นจะสมควรแก่เหตุในภาวะเช่นนั้น หรือไม่ก็ตาม ผู้ก่อภัยจะต้องรับผิดในผล เพราะเป็นผลใกล้ชิดกับเหตุ
-          กรณีที่ผู้กระทำให้เกิดภัยในตอนต้นนั้น ได้กระทำโดยประมาท การวินิจฉัยของศาลจะหย่อนลงมา คือไม่ต้องไปดูว่าเป็นธรรมดาจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ จะดูเพียงว่าถ้าหากเป็นเรื่องที่ไม่พึงคาดหมายได้ ก็สามารถที่จะตัดความสัมพันธ์ไปได้แล้วก็คือว่า  ถ้าผู้เสียหายตัดสินใจที่จะเสี่ยงภัยเองโดยลักษณะที่ผิดธรรมดา  ( โดยไม่สมควร ) เมื่อผิดธรรมดาก็ตัดความสัมพันธ์ได้ 
-          จำเลยเป็นกัปตันเรือ บังคับเรือแล้วทำให้เรือจะอับปางลง ปรากฏว่าผู้เสียหายตกใจ กลัวว่าเรือจะจม ก็เลยตัดสินใจกระโดดออกจากเรือลงไปในน้ำ  ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ว่ายน้ำไม่เป็น ผู้เสียหายเลยจมน้ำตาย  แต่ผู้โดยสารคนอื่น ๆ ไม่มีใครกระโดด และไม่มีใครเป็นอันตราย  กัปตันเรือไม่ต้องรับผิดในความตายของผู้เสียหาย
-          ไทย กรณีที่ขับรถขึ้นเขา  แล้วรถไปตกล่มเพราะถนนไม่เรียบ ทำให้รถตะแคง ไม่ได้ทำให้รถพลิกคว่ำ  แต่ผู้เสียหายตกใจไปเอง  จึงกระโดดออกไปจารกรถ ทำให้ถูกรถทับตาย ซึ่งคนอื่น ๆ  ก็ไม่มีใครกระโดด  และก็ไม่มีใครตายนอกจากผู้เสียหายคนเดียวเท่านั้น  จำเลยขับรถส่ายไปส่ายมาด้วยความเร็ว แล้วแฉลบจะไปชนเสาข้างทาง  ปรากฏว่า  ผู้เสียหายกลัวจึงกระโดดออกมาจากรถ  ถูกรถทับตาย  แต่รถคันนั้นก็ขับไปชนเสาจริง ๆ  แล้วมีผู้บาดเจ็บ  ก็แสดงว่า  การตัดสินใจเสี่ยงภัยของผู้ตาย ไม่ได้เกินกว่าเหตุ ไม่ใช่เป็นการตื่นเต้นตกใจไปเองจนเกินเหตุ  เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ เพราะมันใกล้ชิดกับผล  ดังนั้นจึงไม่ตัดความสัมพันธ์
-          การป้องกันตนในการต่อสู้กับคนร้าย คดี เคมเบลล์ ในปี 2863  ที่รัฐ  Massachuset ทหารไม่ใช่เป็นผู้กระทำความผิด เพราะว่าทหารเป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดังนั้น ทหารจึงไม่ใช่ผู้กรทำความผิด กระสุนปืนเกิดขึ้นจากผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ไม่มีใครต้องรับผิด เป็นการตัดสินโดยใช้หลักผลของการกระทำนั้นเป็นผลจากการกระทำของผู้กระทำความผิดหรือไม่
-          คดีที่เริ่มจะวินิจฉัยว่า A มาปล้นทรัพย์ B ถ้า  ไม่มาปล้นทรัพย์ B ก็ไม่ต้องยิงเพื่อป้องกันตัว  ป้องกันทรัพย์ เมื่อ ไม่ต้องยิง   ก็ไม่ต้องตาย  ดังนั้นการที่  ตาย ก็เกิดขึ้นจากการที่ A มาปล้นทรัพย์ มากระทำความผิด A ยังต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-          แม้กระทั้งในกรณีที่คนร้ายไปทำการปล้นแล้วตำรวจไปจับกุมคนร้าย ในการจับกุมนั้น ตำรวจใช้ปืนยิงต่อสู้กับคนร้าย แต่กระสุนพลาดไปถูกคนบริสุทธิ์ตาย ถือว่า ความตายเป็นผลจากการกระทำของคนร้าย ดังนั้น คนร้ายต้องรับผิดในผล ซึ่งศาลวินิจฉัยแนวนี้ต่อมาอีกหลายคดี
-          คดี  Red line คดีนี้ A กับ B ไปกระทำการปล้นทรัพย์  เสร็จแล้วก็หลบหนีไป  ตำรวจก็ตามจับ ปรากฏว่า B ถูกตำรวจยิงตาย  (คนร้ายด้วยกันถูกตำรวจยิงตายบุคคลไม่ว่าจะกระทำความผิดกฎหมายสักเพียงใดก็ตาม  จะถูกดำเนินคดีอาญาเพราะผลของการกระทำอันชอบด้วยกฎหมายของบุคคลที่  นั้นไม่ได้  ในคดีนี้  แม้ว่า  คนตายจะเป็นคนร้าย  แต่ศาลก็ได้ให้ความเห็นไว้ท้ายคำพิพากษาว่า  A  อาจจะผิดก็ได้  ถ้าหากว่า  ผู้ตายเป็นบุคคลภายนอกแทนที่จะเป็นพวกเดียวกัน
-          แต่การมองหลักในเรื่อง Causation  ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล  มันก็ไม่ต่างกันในระหว่างที่ว่า ผู้ตายนั้นเป็นใคร จะเป็นคนร้ายหรือบุคคลภายนอก ถ้าจะฟังว่า เป็นผลจากการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มันก็ไม่ต่างกัน ถ้าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย  ก็ไม่มีใครต้องรับผิด ฉะนั้น A ก็ไม่ต้องรับผิดอยู่ดี 
-          ในกรณีของไทย การปล้นทรัพย์  ชิงทรัพย์  แล้วเป็นเหตุให้คนตาย  คนตายนั้นจะต้องเป็นคนอื่น  ไม่ใช่พวกคนร้ายด้วยกัน
-          ฎีกาที่  1917/2511   การกระทำของผู้ชิงทรัพย์ ซึ่งพลาดไปถูกพวกเดียวกันตาย  ศาลวินิจฉัยว่า  ไม่ผิดตาม  ม. 339  วรรค  4 แต่เป็นการฆ่าคนตายโดยเจตนา  เอาเรื่องพลาดเข้ามาวินิจฉัย
-          กรณีผู้อื่นตาย จากการป้องกันของเจ้าทรัพย์ กระสุนพลาดไปถูกผู้อื่นถึงแก่ความตาย คนร้ายจะมีความผิดตาม ม. 339 วรรค 4 เพราะว่าเป็นการชิงทรัพย์  เป็นเหตุให้คนตาย  แต่คนร้ายก็จะไม่ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะว่าการกระทำของเจ้าของทรัพย์เป็นการป้องกันโดยชอบ 
-          แต่ถ้าเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ การที่จะต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดนั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลที่กระทำการป้องกันหรือผู้เสียหาย  ถ้าผู้เสียหายระมัดระวังกระทำอยู่ในกรอบ  ทำอยู่ในความพอดี  ไม่ทำเกินสมควรแก่เหตุ  เป็นการป้องกันโดยชอบ  คนร้ายก็จะไม่ต้องรับผิดในความตายของบุคคลภายนอกที่ถูกกระทำโดยพลาด  แต่ถ้าผู้เสียหายกระทำการป้องกันโดยเกินสมควรแก่เหตุไป  การกระทำเช่นนี้  กลายเป็นความผิด  คนร้ายจะต้องรับผิด   เป็นการกระทำโดยพลาด
-          ตามแนวฎีกา  ถ้าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ต้องรับผิด 
-          ในประเด็นที่ผู้เสียหายได้กระทำโดยอัตโนมัติ  มีแรงกระตุ้นจากการกระทำเพื่อให้ตนเองพ้นภัย 
Foresee ability  ในการที่จะดูว่าผู้กระทำจะคาดเห็นได้หรือไม่  เขาจะใช้เฉพาะกับที่มีเหตุแทรกแซงเท่านั้น ถ้าหากไม่มีเหตุใดมาแทรกแซงเป็นเรื่องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการกรทำกับผล  ที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซง  เป็นผลโดยตรงนั้น การที่จะดูว่า ผลที่เกิดขึ้นเป็นผลที่ผู้กระทำสามารถคาดเห็นได้หรือไม่ว่า ผลอย่างนี้จะเกิด  ตรงนี้จะไม่เอามาใช้  แต่จะใช้เฉพาะกับกรณีที่มีเหตุแทรกแซงเท่านั้น  กล่าวคือ  ถึงจะเป็นกรณีเหตุแทรกแซงในบางกรณีก็ต้องดูด้วยว่า  ถึงแม้จะไม่คาดหมายได้  แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะทำอย่างนั้น ผู้กระทำก็ยังต้องรับผิดในผลอยู่ดี

Negative  acts การกระทำโดยการงดเว้นการไม่กระทำ ต้องพิจารณาหลักเช่นเดียวกันกับการกระทำโดยตรง นั่นเป็นประเด็นที่  1 แต่ถ้าหากว่า Negative acts คือ การกระทำโดยการงดเว้นนั้น  มาเป็นเหตุแทรกแซง ในกรณีที่มีเหตุแทรกแซง และเหตุแทรกแซงนั้นเป็นเหตุจากการกระทำโดยการงดเว้นที่เราถือว่าเป็นการกระทำนั้น มีเจตนาอะไรก็รับไปตามนั้น คือ องค์ประกอบภายในจิตใจ
-          นายแดงทำร้าย ลูกของนาง ก นาง ก. ตั้งใจจะให้ลูกตายด้วย   นาง ก.ก็อยู่เฉยเสียไม่ช่วย  นาง ก.จึงมีความผิดฐานฆ่าลูกตายโดยเจตนา นายแดงต้องรับผิดในความตายของ ด.. ต้อย ด้วย แม้ กต้องรับผิดไปแล้ว เพราะเหตุแทรกแซงที่จะมาตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลนั้น   จึงต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยตรง   ไม่ใช่การงดเว้น
-          นายเอกมาแทง นายโท ได้รับบาดเจ็บ  มารดาของนายโท   สามารถจะช่วยชีวิตลูกได้   โดยพาลูกไปหาหมอเพื่อรักษาบาดแผล  แต่มารดาของนายโทก็ไม่พาไปรักษาบาดแผลปล่อยไว้อย่างนั้น   จนกระทั่งเลือดไหลจนหมด   แล้วนายโท ก็ตาย   การงดเว้นของมารดาของนายโท ไม่ตัดความสัมพันธ์ นายเอกก็ต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
-          การงดเว้นการกระทำ   เฉพาะบิดาและมารดาเท่านั้น   ถ้าเป็นบุคคลอื่นการไม่ช่วยนั้นจะไม่เป็นการงดเว้น   แต่จะเป็นการละเว้น
-          คนร้ายมาต่อยนาย A ตกน้ำ  นาย A ว่ายน้ำไม่เป็น  บิดาของนาย ก็ยืนอยู่ตรงนั้น   สามารถจะช่วยลูกได้ แต่ไม่ช่วย  ถามว่า  คนร้ายยังต้องรับผิดในความตายของนายหรือไม่  ในกรณีนี้ยังไม่ตัดความสัมพันธ์  คนร้ายยังต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา  เพราะว่า  เจตนาของคนร้ายในตอนแรกไม่ได้มีเจตนาฆ่า  คือ  ทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย  ส่วนตัวบิดาของนาย  นั้น  ก็รับผิดในส่วนตัวของเขาไป  จากการที่เขางดเว้น
-          เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกับผล  ของระบบกฎหมาย  Common  Law    นั้น  จะไม่มีการแยกแยะว่า  ถ้าเป็นการวินิจฉัยผลของการกระทำที่จะทำให้รับโทษหนักขึ้น  อันนั้นจึงจะนำเรื่องผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้  มาวินิจฉัย  ซึ่งในระบบ   Common  Law   จะไม่มีหลักเช่นนั้น  ระบบ   Common  Law   จะวางหลักเป็นขั้นเป็นตอน  แต่เพียงว่า  ถ้าเป็นผลโดยตรงที่ไม่มีเหตุแทรกแซง   ก็จะนำหลักทฤษฎีเงื่อนไข  เข้าไปวินิจฉัย  แต่กรณีมีเหตุแทรกแซง  ตรงนี้จึงจะเอาเรื่องเหตุแทรกแซงนั้นเป็นเหตุที่พึงคาดหมายได้หรือไม่  มีความเหมาะสมที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่  เป็นเรื่องธรรมดาหรือไม่ที่จะเกิดขึ้น  เข้าไปวินิจฉัย
-          มีข้อสังเกตว่า  ในการที่จะมาวินิจฉัยเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล  ถ้าการกระทำในตอนต้นเป็นการกระทำโดยเจตนา  กับถ้าการกระทำในตอนต้นเป็นการกระทำโดยประมาท  ถ้าเป็นเรื่องเจตนาศาลค่อนข้างจะเคร่งคัด  เข้มงวด แต่ถ้าเป็นเรื่องประมาท  ศาลจะนำเรื่องธรรมดาจะเกิดขึ้นหรือไม่  พอจะพึงคาดเห็นได้หรือไม่ว่ามันจะเกิด  มาวินิจฉัย  เพราะค่อนข้างจะเห็นใจการกระทำซึ่งผู้กระทำไม่ได้มีเจตนา  เพียงแต่ไม่มีความระมัดระวัง  เพียงแต่ประมาท
-          ในกรณีที่ผลที่เกิดขึ้นเป็นคนละประเภทกับเจตนา  ไม่ต้องนำหลัก Causation เข้าไปวินิจฉัย เพราะว่า มันคนละเจตนากัน  จะถือว่า  การบาดเจ็บนั้น  เกิดขึ้นจากเจตนาทำร้ายไม่ได้  ดังนั้น  นาย  กจึงไม่มีเจตนาที่จะทำร้าย  นาย ข.   (.ขาดเจตนาที่จะทำร้าย ข.) นาย กจึงไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา  แต่ส่วนจะเกิดขึ้นเพราะความประมาทหรือไม่  ก็ต้องไปวินิจฉัยในเรื่องการกระทำโดยประมาท
-          กรณีที่มีเหตุแทรกแซง แล้วผลที่เกิดขึ้นเป็นผลที่ต่างจากที่ผู้กระทำเจตนา หรือเป็นกรณีที่ผู้กระทำไม่ได้มีเจนาต่อผลนั้น แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลที่พึงเกิดขึ้นได้ จากการกระทำนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลดังกล่าว ในกรณีอย่างนี้ ถ้าหากผลอันนั้นเกิดขึ้นจากเหตุแทรกแซง ก็ต้องนำหลักเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล เข้าไปประกอบการวินิจฉัยด้วย 
-          การที่พนักงานดับเพลิงเข้าไปดับไฟ  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากที่นายแดง จุดไฟเผาบ้านนายดำ ดังนั้นจึงต้องดูว่า  เหตุแทรกแซงเป็นเหตุที่พึงคาดหมายได้หรือไม่ ก็คือดูในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลนั่นเอง  ในกรณีนี้ถือว่า  เป็นเรื่องธรรมดาที่พึงคาดหมายได้  เพราะว่า  พนักงานดับเพลิงไปดับไฟตามปกติในการปฏิบัติหน้าที่ของเขา เมื่อพนักงานดับเพลิงตาย  ผู้กระทำก็จะต้องรับผิดในผล
-          ถ้าเป็นผู้เสียหายเอง  คือ  นายดำ  การที่นายดำกลับมาเห็นบ้านกำลังถูกไฟไหม้  นายดำห่วงทรัพย์สมบัติในบ้าน  จึงวิ่งเข้าไปในบ้านเพื่อจะขนข้าวของที่มีค่าในบ้านออกมา ใครร้องห้ามก็ไม่ฟัง  นายดำก็เลยตายในกองไฟ กรณีอย่างนี้ ถึงแม้ว่า ปกติธรรมดาจะไม่พึงคาดหมายได้ว่า คนจะเข้าไปเสี่ยงภัยขณะนั้น แต่เนื่องจากเป็นตัวเจ้าของทรัพย์หรือผู้เสียหายเอง ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา  คนเราย่อมหวงแหนทรัพย์สินของตนเอง ดังนั้น ผู้กระทำก็ต้องรับผิดในผล  คือความตายของนายดำด้วย
-          แต่ถ้าเป็นบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าของทรัพย์   เป็นบุคคลภายนอก  วิ่งเข้าไปเพื่อจะไปเอาของมีค่าที่อยู่ในบ้าน  แล้วตายในกองไฟ  ในกรณีเช่นนี้  ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในผล  เพราะว่าความตายเกิดขึ้นจากความประมาทของผู้ตายเอง และผู้ตายก็สมัครใจเข้าไปเอง  ไม่ใช่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน  เป็นเพียงบุคคลอื่นเท่านั้น   ดังนั้นจึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำในตอนต้นจะต้องเข้ามารับผิดในความตายที่เจ้าตัวสมัครใจอย่างนั้นเอง   เป็นความผิดของผู้ตายเอง
-          ถ้าบุคคลภายนอกเข้าไปช่วยพนักงานดับเพลิงไฟ  เคยมีคำวินิจฉัยของศาลว่า  เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เป็นผลธรรมดา เพราะว่าบุคคลภายนอกที่เข้าไปช่วยพนักงานดับเพลิงนั้น  ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่ปกติ  คนเราที่ไม่มีหน้าที่  ไม่มีความเชี่ยวชาญในการดับเพลิง  จะเข้าไป  ดังนั้น  จึงไม่ใช่ผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้
-          กรณีของไทย  ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล  มีบัญญัติไว้มาตราเดียว  คือ  ม.  63  กล่าวคือ  “  ผลของการกระทำใด ที่จะทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  ผลของการกระทำนั้นต้องเป็นผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ “    บัญญัติไว้เฉพาะกรณีที่ผลของการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  แต่ผลของการกระทำโดยปกติธรรมดาอันเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้กระทำ  (เป็นการวินิจฉัยผลทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ใช่ผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตรงนี้ไม่มีกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้เลยว่า  จะต้องเอาหลักอะไรเข้าไปวินิจฉัย  ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า   ผลอันนั้นต้องเป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้นั้น  เป็นแต่เพียงว่า  ศาลจะต้องหยิบเอาจากทฤษฎีต่าง  ๆ  เอาแนวของต่างประเทศหรือจากที่ได้ศึกษามา  มายึดเป็นหลักและโดยข้อสรุปในปัจจุบัน  เราก็ถือหลักเรื่อง  ผลโดยตรง  หรือทฤษฎีเงื่อนไข  เอามาเป็นหลักในการวินิจฉัย ในกรณีที่จะดูว่า  ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลของการกระทำใด ซึ่งไม่ใช่เป็นผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  ตาม  มาตรา  63

-          ดังนั้น  ในปัจจุบันก็เท่ากับว่าไทยยึดหลักไว้  2 หลัก
1.        ถ้าพิจารณาความรับผิดในผลโดยทั่วไป  เราจะถือหลักทฤษฎีเงื่อนไข  เป็นผลโดยตรง
2.        ถ้าหากว่า  พิจารณาถึงผลของการกระทำใด  ที่ทำให้ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น ตรงนี้จะถือตาม  ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม  คือ  เป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้  ว่า มีความเหมาะสมเพียงใด ในการที่ผลนั้นจะเกิดขึ้นจาการกระทำอันนั้น
-          ส่วนในกรณีที่มีเหตุแทรกแซง เหตุแทรกแซงนั้นจะมาตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลบั้นปลายหรือไม่  ของไทยก็ไม่ได้มีการแยกแยะว่า เหตุแทรกแซงนั้นจะเป็นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำในตอนต้นหรือไม่  ตรงนี้ไม่มีกำหนดไว้  เราถือหลักเดียวกันว่า  เหตุแทรกแซงนั้นเป็นเหตุที่พึงคาดหมายได้หรือไม่  ถ้าเหตุแทรกแซงนั้นเป็นเหตุที่ไม่พึงคาดหมายได้  จึงจะตัดความสัมพันธ์ เหตุแทรกแซงนั้นจะต้องเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลบั้นปลาย  หมายความว่า  ผลบั้นปลายเกิดขึ้นจากเหตุแทรกแซง  และจะมาตัดความสัมพันธ์ก็ต่อเมื่อ  เป็นเหตุที่พึงคาดหมายได้  นี้ก็คือหลักตามกฎหมายไทย  และศาลไทยก็ยึดหลักอันนี้
-          การที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น  มีหลายอย่างด้วยกัน  เช่น 
-          หนักขึ้นเพราะลักษณะของการกระทำ หรือ
-          หนักขึ้นเพราะผู้กระทำมีเจตนาพิเศษ  หรือ
-          บางกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้น  ก็เพราะฐานะของบุคคล 
-          อะไรที่จะเป็นผลของการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  ก็ต้องหมายความว่าการกระทำนั้นมีบทบัญญัติว่า การกระทำอย่างนั้นเป็นความผิดเอาไว้เป็นหลัก  แล้วมีกฎหมายบัญญัติว่า  การกระทำความผิดอย่างนั้น  ถ้ามีผลอีกอันหนึ่งเกิดขึ้น  ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นกรณีที่จะต้องใช้มาตรา  63  เข้าไปวินิจฉัย  คือ  ต้องดูว่าเป็นผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้หรือไม่  เพราะเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  โดยเหตุผลก็เนื่องมาจาผลของการกระทำ
-          ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 297 ไม่ใช่เป็นเพราะเจตนาของผู้กระทำ  หรือความสัมพันธ์ของผู้กระทำ  แต่เป็นเพราะ  ผลของการกระทำนั่นเอง  ซึ่งกรณีอย่างนี้ต้องนำ ม. 63  เข้าไปวินิจฉัย
-          กรณีความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น  ตาม ม.  217  กฎหมายบัญญัติต้องรับโทษอย่างนี้  แต่พอมาตรา 224  ที่บัญญัติว่า   ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 217  เป็นเหตุให้มีคนตาย  หรือเป็นเหตุให้มีคนได้รับอันตรายสาหัส  ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น  คือ  โทษตามมาตรา 224  หนักว่า โทษตามมาตรา  217  ในกรณีก็เช่นเดียวกัน  เป็นกรณีที่ผลของการกระทำซึ่งผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น   ดังนั้น  ผลของการกระทำนั้นเป็นผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้
-          กรณีมาตรา 310 วรรค กับ มาตรา 300 วรรค วรรค 3 ซึ่งผลตาม มาตรา 310 วรรค 2 วรรค  เป็นผลหนักกว่า มาตรา 310  วรรค  1
-          เมื่อเป็นผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้  จะหมายความว่าอย่างไร ก็คือ   ต้องดูว่า  โดยปกติธรรมดาของการกระทำอย่างนั้นแล้ว  ผลอย่างนั้นมันย่อมจะเกิดขึ้นได้หรือไม่  (โดยปกติธรรมดามันจะเกิดขึ้นได้หรือไม่โดยที่ผู้กระทำจะพึงคาดหมายได้หรือไม่ว่า  เมื่อกระทำการอย่างนั้นแล้ว  ผลเช่นนั้นจะเกิดขึ้นมาซึ่งจะวัดจากหลักวิญญูชน หรือบุคคลทั่วไปที่อยู่ในภาวะเช่นเดียวกับจำเลย  ว่า  จะพึงคาดหมายได้หรือไม่  ถ้าพึงคาดหมายได้ก็แสดงว่า  ผลที่เกิดขึ้น  เป็นผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้  มีความเหมาะสมที่จะเกิดขึ้นได้  ตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม  ผู้กระทำจะต้องรับผิด
-          ตัวอย่างเช่น  นาย  เอามือไปตบศีรษะของนาย  ซึ่งมีกะโหลกบาง  โดยที่นาย  A   ไม่รู้ว่า   นาย กะโหลกศีรษะบาง  ทำให้กะโหลกศีรษะของนาย  ยุบ  แต่ยังไม่ถึงกับตาย  นาย B ต้องไปรักษาพยาบาล   เจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนา  นานถึง  เดือน  จึงจะหาย  ในกรณีนี้ถือว่า  เป็นอันตรายสาหัส  ถามว่า  นาย  จะต้องรับผิดฐานทำร้ายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา  297  หรือรับผิดฐานทำร้ายร่างกาย  ตามมาตรา  295   วินิจฉัยโดยอาศัยหลักผลธรรมดา   ก็คือ  ต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำ  นอกจากนี้ก็ต้องดูว่าเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่  จากกรณีนี้ไม่ใช่ผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้  ดังนั้น  นาย  จึงรับผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม  มาตรา  295
-          หรือในกรณีวางเพลิงเผาทรัพย์เป็นเหตุให้คนตาย  ก็ต้องดูว่า  การที่วางเพลิงเผาทรัพย์  แล้วมีคนตายในกองเพลิง  การที่มีคนตายในกองเพลิง ไม่ใช่เป็นเหตุแทรกแซง  แต่เป็นเหตุที่มีอยู่แล้ว  คือว่า  มีคนนอนอยู่ในบ้านอยู่แล้ว ในขณะที่ไปเผาทรัพย์ ก็ไม่ต้องไปวินิจฉัยในเรื่องเหตุแทรกแซง  ก็ดูแต่เพียงว่า  กรณีนี้เป็นกรณีที่กฎหมายไทยบัญญัติว่าเป็นผลของการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  ผลคือ  ความตาย  ต้องเป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้  จากการกระทำความผิดของจำเลย ดังนั้น จะต้องดูว่าเผาอะไร  การเผาทรัพย์อย่างนี้แล้ว  เป็นธรรมดาหรือไม่   ที่จะทำให้มีคนตายในกองเพลิง
-          เผาบ้านของผู้อื่นแล้วมีคนตาย  กรณีนี้ก็ต้องถือว่า  เป็นผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ เพราะบ้านเป็นที่คนอยู่อาศัย 
-          ถ้าไปเผาเพิงสำหรับนั่งพักผ่อนเวลาทำนา หรือทำสวน  อยู่ท้ายไร่  ท้ายนา  ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ก็เลยไปจุดไฟเผา แต่ว่ามีคนจรจัดไปอาศัยนอนอยู่ตรงนี้  ในกรณีนี้  ถึงแม้จะเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์จนเป็นเหตุให้คนตาย  แต่ไม่ใช่ผลธรรมดาที่เกิดขึ้นได้  เพราะเพิงพักนั้นไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ที่ปกติที่คนจะไปนอน ดังนั้น ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 224 ก็รับผิดเพียงแค่มาตรา  217
-          แต่ปัญหามีตรงมาตรา  290  กับ  มาตรา  295  กรณีหนึ่งและ  มาตรา  295 กับ  มาตรา  391  อีกกรณีหนึ่ง  ความผิดฐานทำร้ายตามกฎหมายไทย  จะมีทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย  (ไม่ได้มีเจตนาฆ่า)   เป็นความผิดตามมาตรา  290  อยู่ในหมวดความผิดต่อชีวิต แต่ตามมาตรา 295 เป็นการทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร่ายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ   โดยมี  มาตรา 297  เป็นบทหนักของมาตรา 295 คือ  กระทำความผิดฐานทำร้าย แต่ผลของการทำร้ายคือ  อันตรายสาหัส
                เจตนาทำร้ายมีอีกมาตราหนึ่ง คือ มาตรา 391  ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ คือใช้กำลังทำร้ายแต่ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น  จะใช้ทฤษฎีผลธรรมดาเข้ามาวินิจฉัย  ถ้านอกเหนือจากนั้นจะใช้ทฤษฎีเงื่อนไข
-          ปัญหาก็คือ  มาตรา  290  จะถือว่าเป็นบทหนักของมาตรา  295  หรือไม่  ในกรณีนี้มีความเห็นอยู่  ฝ่าย  คือ 
-          ฝ่ายแรก  เห็นว่า มาตรา 290 เป็นบทหนักของมาตรา 295  มาตรา 290 กับ มาตรา 295 ไม่ต่างกัน คือมีเจตนาทำร้ายเหมือนกัน  ไม่มีเจตนาฆ่า มีแค่เจตนาทำร้าย  แต่ถ้าผลของการทำร้ายนั้น  คือ  อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ก็เป็นมาตรา  295 แต่ถ้าผลของการทำร้ายนั้น  ทำให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย  ก็จะเป็นมาตรา 290 ซึ่งมาตรา 290 จะมีบทลงโทษหนักว่ามาตรา 295  ดังนั้นก็จะต้องถือว่า มาตรา 290 เป็นบทหนัก เป็นผลของการกระทำ คือ เป็นการทำร้ายเหมือนกัน เมื่อผลที่เกิดขึ้นแทนที่จะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่มันถึงขึ้นตายขึ้นมา เมื่อตายก็ต้องรับโทษหนัก ฉะนั้น จึงถือว่าเป็นผลของการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น ก็วินิจฉัยว่า เมื่อมีการทำร้ายแล้วทำให้ผู้ถูกทำร้ายตาย ความตายเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้จากการทำร้ายหรือไม่  ต้องนำมาตรา 63 เข้าไปวินิจฉัย
-          ฝ่ายที่  2  เห็นว่า  มาตรา  290  ไม่ใช่บทหนักของมาตรา 295  เพราะว่า
-          อยู่คนละหมวดกัน    มาตรา  290  หมวดความผิดต่อชีวิต  ส่วนมาตรา  295  หมวดความผิดต่อร่างกาย ฉะนั้น  จะถือว่า  ความผิดต่อชีวิต  เป็นบทหนักของความผิดต่อร่างกายไม่ได้
-          ดูแนวคำพิพากษา   จำเลยทำร้าย (ชกผู้เสียหายล้มลง  ทำให้ศีรษะของผู้เสียหายไปฟาดฟุตบาทแตกมีเลือกไหล และเนื่องจากผู้ตายดื่มสุราเมามาก  เลือดจึงฉีดแรงมาก  ปรากฏว่า  ผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ผลจากการชันสูตรของแพทย์  แพทย์บอกว่า  โดยปกติแล้วบาดแผลเช่นนี้ไม่ทำให้ตาย  แต่ที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย  เพราะเหตุว่า  เลือดฉีดแรงเนื่องจากดื่มสุรา  จึงทำให้เลือดไหลออกมา จนผู้ตายถึงแก่ความตาย  ดังนั้นในกรณีนี้จึงไม่ใช่ผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้  เมื่อไม่ใช่ผลธรรมดา ศาลจึงวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตาม มาตรา  290  ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา  คือมีเจตนาทำร้าย  ผลของการทำร้าย  คือ  ทำให้ตายแสดงว่า  ศาลไม่ได้ยึดหลักว่า  มาตรา  290 เป็นบทหนักของมาตรา 295  เพราะถ้าถือว่าเป็นบทหนัก  ต้องนำ มาตรา 63  คือ  เรื่องผลธรรมดาเข้ามาวินิจฉัย ถ้าฟังได้ว่า  ไม่ใช่ผลธรรมดา  ศาลก็ต้องไม่ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา  ไม่ต้องรับผิดในผล  คือ  ความตาย  แต่ในกรณีนี้ศาลตัดสินให้รับผิดตามมาตรา  290  คือ  ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา  แสดงว่า  แนวคำพิพากษาของศาลไทย  ถือว่า  มาตรา  290  ไม่ใช่บทหนักของมาตรา  295  ซึ่งก็เป็นแนวเดียวกับคำวินิจฉัยของต่างประเทศ
-          นาย กเงื้อดาบจะฟันแขนนาย ขนาย ข. หลบทัน ทำให้มีดไม่โดน ในกรณีนี้  ศาลบอกว่า มีพยายามทำร้าย ตามมาตรา 295   คือมีเจตนาทำร้ายแต่ผลไม่เกิด ผู้ถูกทำร้ายไม่ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
-          ในความเห็นของอาจารย์  ในกรณีเจตนาทำร้าย  ตามมาตรา  391  ต้องเป็นเจตนาทำร้ายไม่ถึงบาดเจ็บ ผู้กระทำต้องมีเจตนาทำร้ายที่ไม่ถึงเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และเมื่อทำแล้ว ผลก็คือไม่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ก็เป็นทำร้ายสำเร็จตามมาตรา 391 แต่ถ้ามีเจตนาทำร้าย  ถึงแม้ว่าจะไม่มีเจตนาทำร้ายให้ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ก็ผิดตามมาตรา  295 ได้  เพราะ  ผลมันเกิดขึ้นได้จากเจตนาที่ทำร้าย ทำเขาเสียหายแก่กายหรือจิตใจหรือถ้าเจตนาทำร้าย ถึงขั้นให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจด้วย  แล้วผลมันไม่เกิด ก็เป็นพยายามของมาตรา  295  ได้ จึงไม่ใช่บทหนักของมาตรา  391
                บางคนมองว่า ในกรณีของมาตรา  297 ผู้กระทำมีเจตนาทำให้ผู้อื่นตาบอด แต่กระทำแล้วตาไม่บอด ทำไมไม่เป็นพยายามของมาตรา 297 เช่น นายหนึ่งมีเจตนาจะเอาน้ำกรดไปสาดหน้าของนายสอง  ให้หน้าเสียโฉม ตาบอด พอเอาน้ำกรดสาดไป  นายสองหลบ ทำให้น้ำกรดมาโดนที่แขนแทน เป็นแผลพุพอง รักษา 10 กว่าวันหาย กรณีนี้ถามว่า  จะผิดพยายามมาตรา 297 หรือฐานทำร้ายสำเร็จตามมาตรา 295 มีแนวความคิดของนักกฎหมายที่ถือตามหลักกฎหมายเยอรมันว่า มาตรา 297 ก็มีพยายามได้  ถ้ามีเจตนาที่จะทำให้ได้รับอันตรายสาหัส
-          แต่ในความเห็นของอาจารย์  มองว่า  ข้อความตามมาตรา  297 กับมาตรา  295 มันต่างกัน  เพราะมาตรา  295  ก็แค่  ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น  จนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย  ก็คือ  มีเจตนาแค่ทำร้ายก็พอ  หรือถึงแม้ว่า  จะมีเจตนามต่อผลด้วย  ก็ผิดตามมาตรา  295  ได้  แต่ตามมาตรา 297  กฎหมายใช้คำว่า ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ”   ไม่ได้ใช้คำว่า  ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส”  ถ้าใช้ถ้อยคำอย่างนี้  จะถือว่า  เป็นความผิดอันหนึ่ง ที่ไม่ใช่บทหนักของมาตรา 295  จึงจะมีพยายามได้  แต่มาตรา  297  กฎหมายใช้ถ้อยคำว่า  ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น....”  แสดงว่า  เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา  295 นั่นเอง  เจตนาเอาแค่ตรงนี้ ส่วนผล คือ อันตรายสาหัสนั้น จะมีเจตนา หรือ ไม่มีเจตนา ไม่เป็นสาระสำคัญ ถือว่า เป็นผลที่ไม่ต้องอาศัยเจตนา เป็นผลที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเจตนา คือผู้กระทำไม่ต้องเจตนาให้เกิดอันตรายสาหัส ถ้าผลที่เกิดขึ้น เป็นผลที่ทำให้ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนัก ผู้กระทำก็ต้องรับผิดในผล เมื่อเป็นผลธรรมดา
-          กรณีมาตรา  63  ที่บัญญัติเฉพาะ ผลของการกระทำที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น จะต้องเป็นผลธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้นั้น  เคยมีผู้เสนอแนะว่าควรจะแก้ไขมาตรานี้โดยเพิ่มเติมให้ครบถ้วน 
-          ให้ครอบคลุมว่า ในกรณีที่เป็นการกระทำปกติธรรมดา เป็นผลทั่ว   ไปนั้น ผลอย่างไรที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด 
-          ซึ่งก็มีผู้เสนอมาว่า  ต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำนั้น และนำเหตุแทรกแซง  บัญญัติเข้าไปด้วย  ดังนั้นให้ไปคิดดูว่า ถ้าจะ  แก้ไขมาตรา  63  จะมีการแก้อย่างไร




หลักทฤษฎี     Causation
1.        ทฤษฎีที่ถือเอาน้ำหนักแห่งเหตุเป็นประมาณ  กรณีที่มีเหตุหลายเหตุที่ทำให้เกิดผลอันใดอันหนึ่งขึ้นมา  เหตุอันไหนที่จะเป็นเหตุซึ่งจะต้องรับผิดในผลจะมี  Causation กับผลอันนั้น  เขาก็จะดูว่า  เหตุไหนที่มีน้ำหนักมาก ตามทฤษฎีนี้ถือว่า  ความตายจะต้องเกิดจากเหตุที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งก็คือ แผลที่ถูกแทง ส่วนแผลที่ปากแตกเลือดไหล มันเล็กน้อยเกินไปจนกว่าที่จะเอามาเทียบว่าเป็นเหตุที่ทำให้นายแดงตาย ทฤษฎีนี้ก็มีข้อบกพร่อง ถ้าแผลหรือเหตุมันมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน จะยากต่อการตัดสินใจว่า  เหตุอะไรที่จะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
2.        ทฤษฎีที่จะถือเอาคุณสมบัติแห่งเหตุเป็นประมาณ ทฤษฎีนี้มีการแยกเอาเหตุที่มีอยู่ก่อนออกมาจากเหตุอันหลังที่ได้กระทำ ตามหลักทฤษฎีที่  2   เขาจะแยกเหตุที่มีอยู่ก่อนแยกออกมาจากเหตุอันหลัง แล้วก็พิจารณาเหตุอันไหนทำให้นายดำตาย  ฉะนั้น การที่นายดำมีโรคประจำตัว  คือโรคเลือดไหลไม่หยุดนั้น อยู่  ๆ เขาจะตายหรือไม่ ไม่ตาย ที่ตายก็เพราะว่าถูกแทง  ดังนั้น  การกระทำ เหตุอันหลังเป็นเหตุที่ทำให้เกิดผล
3.        ทฤษฎีเงื่อนไข  เป็นทฤษฎีที่ถือหลักว่า  ถ้าไม่มีการกระทำผลก็จะไม่เกิด แสดงว่า  ผลเกิดขึ้นจากการกระทำ  แม้มีเหตุอื่นทำให้เกิดผลนั้นด้วย แต่ถ้าไม่มีการกระทำอันนี้  ผลมันก็จะไม่เกิด ผู้กระทำก็ยังต้องรับผิดในในผลนั้น ทฤษฎีเงื่อนไขมีข้อเสียอยู่ที่ว่า จะมีความต่อเนื่องไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด จะโยงไปเรื่อย  ๆ โดยที่ไม่มีจุดตัด  นี่คือ ข้อเสียของทฤษฎีนี้ ดังนั้น จึงต้องมีการนำเอาทฤษฎีอื่นหรือหลักเรื่องอื่น  เข้ามาช่วยผสมผสานเข้าไปด้วยเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้จริง
4.        ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม  หรือ ทฤษฎีผลธรรมดา  ต่างกับทฤษฎีที่ 3 (ทฤษฎีเงื่อนไข) ตรงที่ว่า ทฤษฎีนี้ ไม่ถือว่าเหตุทุกเหตุมีผลเท่ากัน  ถือว่า  เหตุทุกเหตุ ไม่ได้มีน้ำหนักเท่ากัน  จะมีบางเหตุเท่านั้น  ที่จะมีน้ำหนัก มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะทำให้ผลอัน  นั้นมันเกิดขึ้น ดังนั้น การวินิจฉัยก็จะดูว่า เหตุอันนี้กับผลที่เกิดขึ้น  มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ หรือเหตุที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดผลขึ้นมานั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดาหรือไม่ที่จะทำให้เกิดผลอย่างนี้ขึ้นมา 
-          ถ้าหากว่าโดยปกติธรรมดา เมื่อกระทำอย่างนี้แล้ว ผลมันไม่ควรเกิด ผู้กระทำก็จะไม่ต้องรับผิดในผล เช่น นาย A เป็นโรคกระหม่อมบาง นาย แค่เอามือมาตีศีรษะ คืออาจจะไม่พอใจ นาย A แต่ไม่ถึงกับที่จะฆ่านาย A ก็เลยแค่เอามือตบกะโหลกนาย A ปรากฏว่า ความที่นาย A เป็นโรคศีรษะบาง กะโหลกเลยยุบลงไป  ทำให้นาย A ตาย  กรณีเช่นนี้ถามว่า  นาย จะต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นหรือไม่
-          ถ้าใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม (ทฤษฎีผลธรรมดา) กรณีเช่นนี้  นาย  B จะต้องรับผิดในความตายของนาย A เพราะว่าโดยปกติธรรมดาแล้ว ผลอย่างนี้มีนจะไม่เกิดขึ้นมาไม่ใช่ผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นมาได้ ไม่มีเหตุเหมาะสม กล่าวคือว่ากระทำแค่น้ำหนักของกระทำเช่นนี้นั้น  มันไม่มีความเหมาะสมเลยที่จะทำให้คนตาย ไม่สามารถจะคาดเห็นได้
-          แต่ถ้ายึดตามทฤษฎีเงื่อนไขที่ว่า ถ้าไม่มีการกระทำผลก็จะไม่เกิด แสดงว่าผลเกิดขึ้นจากการกระทำ ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผล ก็คือ ถ้านาย  B ไม่มาตบศีรษะ  นาย A นาย A ก็จะไม่ตาย ที่ นาย A ตาย ก็เพราะว่า นาย ตบศีรษะ  การทำร้ายตรงนี้ของนาย  จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดผล  มีความสัมพันธ์กันนาย จึงต้องรับผิดในผล
5.        ทฤษฎีเหตุที่สำคัญ  เป็นทฤษฎีที่แยกการพิจารณาเรื่องของการกระทำ เรื่องผลของการกระทำ และความรับผิดต่อผลของการกระทำ  ออกจากกัน  ในการพิจารณาการกระทำกับผลของการกระทำ  เขาจะพิจารณาโดยหลักของธรรมชาติที่ว่า  ผลนี้เป็นผลที่เกิดจากการกระทำหรือไม่  และต้องพิจารณาทางกฎหมายอาญาอีกครั้งหนึ่งด้วย  แต่ทฤษฎีนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยม
6.        ทฤษฎีความรับผิดในทางภาวะวิสัย  -  ทฤษฎีนี้มีมาเมื่อประมาณ ค.. 1945 แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม ต่อมาภายหลังเมื่อประมาณ  ปี ค.. 1960 กว่า  ได้มีนักคิดหยิบยกขึ้นมาปรับปรุง  แล้วก็เสนอความคิดขึ้นมา
ถ้าหากบุคคลใด ไปกระทำการอันเกินกว่าความเสี่ยงตามปกติที่จะมี หรือเกินหน้าที่ของตนเอง  (ไม่กระทำการตามหน้าที่) แล้วก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นมา  ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องพิจารณาทฤษฎีเงื่อนไข ที่ว่าถ้าไม่มีการกระทำ ผลจะไม่เกิด เพราะเมื่อเขาเสี่ยงในระดับนั้นแล้ว  เกิดผลขึ้นมา เพราะจะต้องรับผิด  ถึงแม้ว่า  ผลที่เกิดขึ้น  อาจจะเป็นเพราะว่า อีกฝ่ายหนึ่งก็มีส่วนผิดอยู่ด้วยก็ตาม หรือ  เป็นกรณีที่ถึงแม้ว่า  เขาจะไม่ประมาทอย่างนี่ ถึงแม้เขาจะเพิ่มความเสี่ยงขนาดนี้  เขาขับมาตามปกติ มันก็ยังเกิดเหตุอย่างนี้อยู่ดี  กรณีเช่นนี้นี้  ตามหลักทฤษฎีนี้เขาจะไม่คำนึงถึง เพราะเขาถือว่า ในความเป็นจริงแล้ว  คุณเสี่ยงเกินกว่ามาตรฐานปกติ  ดังนั้น  เมื่อมีผลเกิดขึ้น  คุณก็ต้องรับไป
            -  เยอรมัน  จะใช้ทฤษฎีเงื่อนไข  กับ  ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม